บทความที่ ๑

กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน BOI กับ  องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรํฐบาลNGOs :Non-Governmental Organization

บทนำ : กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน BOI ตามแนวเศรษฐกิจระหว่างประเทศ            

 มาทำความรู้จักกับกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน หรือที่เรียกกันว่า BOI  เน้นไปที่สิทธิและประโยชน์ทางด้านภาษีอากร

                สำหรับการที่ได้ส่งเสริมการลงทุน  รัฐได้กำหนดขึ้นสนับสนุนให้มีการลงทุนในกิจการด้านต่างๆ ในประเทศ  โดยให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน  ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อให้การสนับสนุนการลงทุนของรัฐมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์มากขึ้น

                กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคลสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการดำเนินกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน  ส่วนการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนเป็นอย่างมาก  ก็อย่างการได้รับสิทธิหักรายจ่ายค่าขนส่ง  ค่าไฟฟ้า  และค่าประปาได้เป็นจำนวน ๒ เท่า ของจำนวนเงินที่เสียไป  หรือการได้รับสิทธิวางเงินประกัน  หลักประกัน  หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษีจากการนำเข้าสินค้า

บทสอง :

วิเคราะห์ปัญหากิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน BOI 

                ปัญหาที่ปรากฏ คือทางปฏิบัติในรายละเอียดของการประกอบกิจการที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปอาจทำให้ต้องตีความในแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน  และปัญหาสำคัญเกี่ยวกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ก็คือรอยต่อระหว่างกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและช่วงเวลาที่ต้องเริ่มต้นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล  โดยให้เน้นที่ผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้รับจะมีทั้งในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและช่วงภายหลังจากนั้น

                ปัญหาอีกกรณีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม         เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล  แต่ก็ยังต้องมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่นที่ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน  เมื่อนำเข้าสินค้าก็มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรณีการนำเข้าเหมือนกับบุคคลอื่นที่นำเข้า  จะมิได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม  ดังนั้น  เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนพ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว  หน้าที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ยังคงเป็นตามปกติ  ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล  หรือพ้นกำหนดเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล  ผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนที่ประกอบกิจการอันอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มก็ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 

                ประเด็นต่อมา  คือสิทธิประโยชน์สำหรับได้รับส่งเสริมการลงทุนที่จะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการวางเงินประกัน  หลักประกัน  หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษีจากการนำเข้า  และเมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งเสริมการลงทุนแล้วย่อมหมดสิทธิในการวางเงินประกัน  หลักประกัน  หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษีจากการนำเข้า  ผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า  และเมื่อได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว  หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าไปใช้เป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีถัดไป

                ตัวอย่าง  มาพิจารณาแนวคำวินิจฉัยกรมสรรพากร เลขหนังสือ กค ๐๗๐๖/๑๒๑๐๗ วันที่  ๑๑  ธันวาคม ๒๕๕๐ เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล  กรณีรายได้รายจ่ายและการจ่ายเงินไปต่างประเทศ   

ข้อหารือ บริษัทประกอบกิจการผลิตผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภท ๔.๘ กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะชนิดชุดสายไฟฟ้าและชุดตกแต่งภายในสำหรับรถยนต์  บริษัทฯ เป็นบริษัทในเครือของ เอ ประเทศเยอรมัน  ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จำหน่ายแก่บริษัท บี ประเทศเยอรมัน เมื่อบริษัทบี ประเทศไทยได้จำหน่ายชิ้นส่วนในราคาที่กำหนดขึ้นตามนนโยบายการบริหารต้นทุนและราคาของบริษัท บี ประเทศเยอรมัน  ซึ่งการจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ที่บริษัท บี ของประเทศไทย  จะนำมาใช้นี้  เดิมบริษัท ดี เป็นบริษัทในเครือของ เอ ประเทศเยอรมัน  เป็นผู้มีหน้าที่จัดจำหน่าย  เมื่อบริษัท บี  มาประกอบกิจการในประเทศไทย  บริษัท ดี ได้ทำสัญญา Frame Agreement เพื่อโอนสิทธิตามสัญญาซื้อขายชิ้นส่วนมาให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแทน ตาม Frame Agreement ข้อกำหนดว่าราคาชิ้นส่วนยานยนต์ที่บริษัทฯ จำหน่ายนั้น  บริษัทฯ จะต้องได้รับกำไรในอัตราร้อยละ ๔-๖ หากบริษัทฯ ขายชิ้นส่วนได้กำไรในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ ๔  บริษัทฯ จะได้รับชำระกำไรส่วนที่ขาดจาก ดี  โดยบริษัทฯ ถือว่าการส่งกำไรส่วนต่างให้แก่ ดี  เป็นการตอบแทนการโอนสิทธิผลิตและขายชิ้นส่วนยานยนต์  บริษัทจึงขอทราบว่า (๑) ผลกำไรร้อยละ ๔-๖ ที่บริษัทฯ ได้รับจาก ดี กรณีที่บริษัทฯ ขายชิ้นส่วนยานยนต์แล้วได้รับกำไรต่ำกว่าร้อยละ ๔  ถือเป็นรายได้ที่ได้รับเนื่องจากกิจการที่ได้รับเนื่องจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนถูกต้องหรือไม่  (๒) ผลกำไรที่บริษัทฯ จ่ายไปให้แก่ ดี กรณีที่บริษัทฯ  ขายชิ้นส่วนยานยนต์แล้วได้รับกำไรสูงกว่าร้อยละ ๖ ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการประกอบกิจการในประเทศไทย  ถูกต้องหรือไม่  (๓) ผลกำไรตาม (๒) ดังกล่าว ถือเป็นรายได้ประเภทกำไรจากธุรกิจตามข้อ ๗ ของความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทย  กับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุน  เนื่องจาก ดี  ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเงินได้ดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการประกอบกิจการในประเทศของ ดี  และไม่มีการอนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีใดๆ  ให้แก่บริษัทฯ

แนววินิจฉัย :  (๑)  ตามปัญหาข้อ (๑) บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ชนิดชุดสายไฟฟ้าและชุดตกแต่งภายในสำหรับรถยนต์การที่บริษัทฯ  ได้รับโอนสิทธิผลิตและขายชิ้นส่วนยานยนต์จาก ดี  เพื่อส่งขายให้แก่บริษัท บี  ประเทศไทยมีข้อสัญญาเกี่ยวกับรายได้ที่บริษัทฯ จะได้รับว่าหากบริษัทฯ มีรายได้จากการจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ต่ำกว่าร้อยละ ๔ บริษัทฯ จะต้องได้รับชดเชยกำไรในอัตราร้อยละ ๔-๖ จาก ดี  แต่หากบริษัทฯ  ขายชิ้นส่วนได้กำไรสูงกว่าร้อยละ ๖  บริษัทฯ จะต้องส่งส่วนต่างของกำไรที่ได้รับไปให้แก่ ดี  ข้อสัญญาดังกล่าว  มีลักษณะเป็นการประกันราคาขายสินค้าที่บริษัทฯ ควรจะได้รับจากการขายสินค้าตามสัญญาโอนสิทธิผลิตและขายชิ้นส่วนยานยนต์  ดังนั้น ส่วนต่างที่รับมาหรือจ่ายไปจึงเป็นรายได้หรือรายจ่ายของกิจการ  อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเงื่อนไขตามบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ยกเว้นให้บริษัทฯ  ไม่ต้องนำรายได้ที่ได้รับจากการขายผลิตภัณฑ์รวมทั้งผลพลอยได้มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น  หมายถึงรายได้ที่บริษัทฯ ได้รับมาจากการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ  แต่มูลค่าของผลกำไรตามที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาโอนสิทธิผลิตและขายชิ้นส่วนยานยนต์ที่บริษัทฯ  มีสิทธิที่จะได้รับคืนมาจาก ดี  เป็นรายได้ที่อาศัยมูลค่าของรายได้ที่ได้รับมาจากการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ  แต่มูลค่าของผลกำไรตามที่กำหนดไว้ในข้อสัญญาโอนสิทธิผลิตและขายชิ้นส่วนยานยนต์ที่บริษัทฯ มีสิทธิที่จะได้รับคืนมาจาก ดี  เป็นรายได้ที่อาศัยมูลค่าของรายได้ที่ได้รับมาจากการขายผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมฯ มาเป็นตัวกำหนดเพื่อให้รู้ว่า  บริษัทฯ มีรายได้สูงหรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น  จะเห็นได้ว่า มูลค่าของผลกำไรที่บริษัทฯ  มีสิทธิจะได้รับคืนมาจาก ดี  มิได้เป็นรายได้ที่ได้รับมาจากการขายผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมฯ ที่แท้จริง  จึงไม่ถือว่ามูลค่าของกำไรบริษัทฯ ได้รับมาตามสัญญาโอนสิทธิผลิตและขายชิ้นส่วนยานยนต์  เป็นรายได้ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ  จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

(๒) ตามปัญหาข้อ (๒)  หากเงินกำไรดังกล่าวคำนวณจากรายได้จากการขายชิ้นส่วนยานยนต์หักด้วยต้นทุนสินค้าและคำนวณเป็นระยะๆ  โดยไม่ได้คำนวณจ่ายจากผลกำไรที่ได้รับเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี  บริษัทฯ สามารถนำเงินที่จ่ายไปในกรณีดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม

(๓)  ตามปัญหาข้อ (๓)  หากส่วนต่างของผลกำไรที่บริษัทฯ  มีหน้าที่ตามสัญญาจะต้องโอนไปให้ ดี ตาม Frame Agreement นั้น มีผลเป็นค่าตอบแทนกู๊ดวิลล์ของ ดี  หรือเพื่อการใช้เครื่องหมายการค้า แบบ แผนผังในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  หรือเพื่อการใช้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือทางวิทยาศาสตร์ ส่วนต่างของผลกำไรที่จ่ายดังกล่าวถือเป็นค่าสิทธิ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายส่วนต่างดังกล่าวออกไปให้ ดี  บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑๕  ตามมาตรา ๗๐ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ข้อ ๑๒ วรรคสอง (ข) แห่งความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเอรมัน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ

                ดังนั้น  ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนที่จะประกอบกิจการจะต้องผลดีและผลเสียของส่วนต่างรายรับ หรือ จ่ายไป ทั้งการได้รับหรือไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตลอดถึงการคำนวณกำไรสุทธิ และการเสียภาษีซ้อน  เพื่อสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรแก่กิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน BOI อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง

 

องค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ระดับรํฐบาลNGOs หรือ Non-Governmental Organization กรณีสิทธิมนุษยชน ในรูปทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

                การมี Cooperation with non government organization (NGOs) เกิดขึ้นถือเป็นความเหมาะเจาะของการตั้งสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ให้ความสำคัญกับตัวแทนหลายเชื้อชาติอื่นที่มีความเป็นเอกราช  , การตั้งสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอื่น และสหประชาชาติ(UN)  ได้กล่าวถึงรายละเอียดหลายๆ ประการของสนธิสัญญาทางด้านร่างกายทั้งหมด  ช่วงเหมาะสมที่หัวหน้ารัฐบาลจะดำเนินการปฏิบัติเกี่ยวกับข้อตกลงสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ดูข้อของ National Human Rights Institution (NHRIs) นั่นต่อมาได้เป็นหัวใจการทำความตกลงในภายหลัง

                อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของเนื้อหาปารีส(Paris) ประเทศฝรั่งเศล ได้เน้นหนักไปที่ข้อดังกล่าวนั้นหลายครั้ง (ข้อว่าด้วยกฎข้อบังคับปารีสนั้น ได้กล่าวด้วยเรื่องแบบแผนปฏิบัติการ –ข้อ(จี)  บัญญัติไว้ว่า “ในความเห็นเดิมด้านบทบาทการทำงานจาก NGOs กำลังได้เจริญเติบโตขึ้น  งานของการจัดการสัญชาติ , เชื่อมสัมพันธไมตรี  กล่าวก็คือ NGOs กำลังส่งเสริมและป้องกันสิทธิมนุษยชน , ไปถึงเศรษฐกิจระหว่างประเทศและสังคมที่พัฒนา , ไปถึงด้านกำลังต่อสู้ , ไปถึงโดยเฉพาะกลุ่มบุคคลอ่อนแอที่ต้องปกป้อง(โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก , คนทำงานที่ชอบท่องเที่ยว , ผู้ลี้ภัยทั้งหลาย , โดยกายและใจกับบุคคลที่ถูกกระทำให้รับความพิการ) หรือบริเวณพื้นที่พิเศษอย่างยิ่ง

                “การเพิ่มกฎในเรื่องเกี่ยวกับสภาวะของการมอบหมายให้อำนาจตัดสินคดีของศาลมีอำนาจเพียงครึ่งเดียว (sic)”

                “ชาติที่จัดตั้งอาจจะมีอำนาจบังคับบัญชา จึงต้องฟังและพิจารณาคำร้องทุกข์และคำร้องในเรื่องเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล  ,  นี่เป็นตัวอย่าง , ๓ ส่วน, NGOs , ...  ความสำคัญของชาติที่จัดตั้งสิทธิมนุษยชน  และนัยความสำคัญเกี่ยวกับการปิด NGOs ,  ด้านกำลังทำงานในเวทีสิทธิมนุษยชน NGOs จำต้องติดตามกันต่อไป

                 การค้นหาการศึกษาด้านจรรยาและการนำมาซึ่งการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม  ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงให้สหประชาชาติ(UN) ให้มีความเป็นสากลขึ้น  สิทธิมนุษยชนก็ได้รับการเปิดเผยใน ค.ศ.๑๙๔๘  ในการส่งเสริมให้สิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างจริงจัง  รัฐบาลทั่วโลกก็มีหน้าที่อันสำคัญยิ่งสำหรับสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาลทั่วโลกต่างต้องรู้สึกถึงความรับผิดชอบของตัวแทนของประเทศตนทั้งหลายในสหประชาชาติ , รวมทุกอย่างไว้ ๒ ทาง ไม่ว่าจะเป็นธนาคารโลก(World Bank) และกองทุนเกี่ยวกับเงินทองระหว่างประเทศ , อันเป็นกรณีบ่อนทำลายอย่างหนึ่งของบ่อเกิดองค์การระหว่างประเทศอันเป็นความเหมาะสมสำคัญของการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง , การสนับสนุนอย่างจริงจังนั้นอาจนำมาซึ่งการจัดสร้างแผนระดับที่ไม่มีการกระตุ้นผลิตเศรษฐกิจระหว่างประเทศออกมาได้ดี(A human right – based approach to economic development)  สิ่งที่ปรากฏออกมาภายหลังคือความสำคัญที่พวกเราทั้งหมดต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่ม

                ที่นี้มารู้จักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(Internation Covenant on Economic Social and Cultural Rights) หรือเรียก ICESCR เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศในเรื่องของสิทธิต่าง ๆที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่ได้ผ่านการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๖๖ ได้รับการให้สัตยาบันและมีผลใช้ในวันที่ ๓ มกราคม ค.ศ. ๑๙๗๖ อย่างไรก็ตามกติการะหว่างประเทศนี้มีผลบังคับใช้เฉพาะกับประเทศที่ได้ให้สัตยาบันแล้วเท่านั้น

                ด้านการคุ้มครองสิทธิ  ในส่วนที่ ๑ บทบัญญัติในมาตรา ๑  กำหนดให้นานาประเทศให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันในด้านเศรษฐกิจและวิทยาการเท่าที่ทรัพยากรของตนจะอำนวยให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาในทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรมโดยเสรี

                ใน ICESCR จะมีคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (Committee on Economic, Social and Cultural Rights) เป็นคณะกรรมการประจำกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการฯ มีหน้าที่ อาทิเช่น เป็นผู้ประสานงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐภาคี  รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อปัญหาการละเมิดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค

                จากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  ดังกล่าวลองมาวิเคราะห์เปรียบเทียบดูว่าในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีมากขึ้น มิได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเท่านั้น หากแต่พยายามศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของตน นอกจากนี้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการค้ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ประกอบกับการคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วทำให้ประเทศต่างๆ มีโอกาสติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศอื่นๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่งทำให้โลกแคบลง ผลกระทบของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่งรุนแรงมากขึ้น การแข่งขันในโลกปัจจุบันได้แปรเปลี่ยนจากการแข่งขันทางอาวุธและสงครามมาเป็นการแข่งขันทางการค้า ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่ต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวโดยละเอียด

                มารู้จักหลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ในระบบแบบเสรีมีหลักการที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้

-  การถือสิทธิ์ในทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยมยอมรับเรื่องกรรมสิทธิ์ คือ ยอมให้หน่วยธุรกิจหรือเอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตได้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านี้จึงมีสิทธิเสรีภาพในการจัดกระทำใดๆ กับทรัพย์ของตนก็ได้

                -  เสรีภาพในการประกอบการ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นองค์การหรือหน่วยธุรกิจ ต่างมีเสรีภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการประกอบการใดๆ เพื่อจัดดำเนินการกับปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินของตนได้อย่างอิสระ ปราศจากการบังคับควบคุมจากสิ่งใดทั้งสิ้น

                ดังนั้น  นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติเป็นต้นมาปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศก็พอได้รับความสนใจจากนานาประเทศ  ทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ ประกอบกับกระแสของโลกาภิวัตน์ที่เป็นความประสงค์ของประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการที่จะเห็นประเทศต่างๆ ปฏิบัติต่อคนชาติของตนอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เสมอภาคกันทั่วโลก  ปัญหาสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่ากระทำเช่นไรละเมิดสิทธิมนุษยชน  ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละสังคมมีเศรษฐกิจ ค่านิยม ประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  นอกจากนี้การขาดสภาพบังคับมีผลให้การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก  ปัญหาสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศและยังไปถึงความมั่นคงของนานาประเทศ   ถือเป็นปัญหาที่มนุษยชาติต้องได้รับการแก้ไขร่วมกัน  ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแม้จะได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศเป็นอย่างมากก็ตาม  แต่ประเทศที่มีพลังทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเมือง จะมีเป็นประเทศที่มีบทบาทที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาในระดับนานาประเทศตลอดมานั้นยังปรากฏการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น

                สรุป ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้มีการนำประเด็นปัญหาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขึ้นเป็นข้อต่อรองในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  ทางรัฐภาคีและองค์กรเอกชน NGOs ได้ให้ความร่วมมือและมีบทบาทมากขึ้นกับปัญหาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในที่ต่างๆ ทั่วโลก เป็นไปได้ว่าปัญหาสิทธิมนุษยชนจะได้รับการแก้ไขจนเบาบางลงได้

---------------------------------------------------------------------------------

บรรณานุกรม

หนังสือ  

บุญศรี  มีวงศ์อุโฆษ. หลักการใช้อำนาจขององค์กรที่ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พี.เพรส, ๒๕๔๙.

จรัล  ดิษฐาอภิชัย. คู่มือสิทธิมนุษยชน.พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์งานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๔๙.

อุดมศักดิ์  สินธิพงษ์. สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ ๓.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๒.

มงคล  ขนาดนิด.  ภาระภาษี BOI : กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน.  กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์สรรพาสาส์น , ๒๕๕๒.

Books

Brian  Burdekin. National Human Rights Institutions in the Asia-Pacific Region. The Netherlands , ๒๐๐๗.

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7268f85b0be6b2ac