ข่าวสารประเทศตลาดใหม่และอื่นๆ

จากการศึกษาทาง บริษัท Ipsos Business Consulting(บริษัทวิจัยการตลาดเพียงบริษัทเดียวที่บริหารโดยนักวิจัยและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการตลาดและการลงทุน)ได้พบว่าความต้องการรถยนต์อีโคคาร์ในตลาดประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม เนื่องจากมีเทคโนโลยีอันทันสมัยประกอบกับการเติบโตของประชากรสูงวัยซึ่งเป็นแรงผลักดันหลักให้มีการพัฒนาสมาร์ทคาร์ และในอนาคตอันใกล้นี้เป็นไปได้อย่างสูงว่าเราคงได้เห็นรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

3 เมษายน พ.ศ. 2557

            จากการศึกษาทาง บริษัท Ipsos Business Consulting(บริษัทวิจัยการตลาดเพียงบริษัทเดียวที่บริหารโดยนักวิจัยและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการตลาดและการลงทุน)ได้พบว่าความต้องการรถยนต์อีโคคาร์ในตลาดประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม เนื่องจากมีเทคโนโลยีอันทันสมัยประกอบกับการเติบโตของประชากรสูงวัยซึ่งเป็นแรงผลักดันหลักให้มีการพัฒนาสมาร์ทคาร์ และในอนาคตอันใกล้นี้เป็นไปได้อย่างสูงว่าเราคงได้เห็นรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

         หากกล่าวถึงรถอีโคคาร์ รถยนต์กลุ่มนี้ก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในตลาดเกิดใหม่ ซึ่งผู้ผลิตอีโคคาร์ก็กำลังพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อที่จะสร้างรายได้จากการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนี้ โดยจะเห็นได้ว่า การสนับสนุนของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมดังกล่าว เห็นได้จาก การให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ผู้ผลิตรถอีโคคาร์ในประเทศจีน และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

         มร. คอลิน คิงฮอร์น ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาทางธุกิจ บริษัท Ipsos Business Consulting ประจำประเทศไทย อินโดนีเซีย และ อินโดไชน่า มีความเห็นว่า “ตลาดสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ อยู่ที่ประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) นับว่าตลาดดังกล่าวนี้มีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2558 ยอดขาย 2 ใน 3 ของปริมาณการผลิตยานยนต์ทั่วโลกจะอยู่ที่ตลาดเกิดใหม่นี้ และสำหรับในประเทศไทยเองนั้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คาดว่า

         ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตอีโคคาร์ในเดือน มีนาคม พ.ศ.2557 จะสูงถึง 4-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระตุ้นต่ออุตสาหกรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก”

         นอกจากนี้ รายงานจาก บริษัท Ipsos Business Consulting ได้ยกตัวอย่างการตอบสนองของรัฐบาลและผู้ผลิตยานยนต์ในเรื่องการลดมลภาวะและพลังงานทางเลือก เพื่อที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า

        “ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์กำลังมุ่งพัฒนารถยนต์ราคาประหยัดสำหรับตลาดเกิดใหม่ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และการใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน (standardized parts) อย่างเช่น บริษัท โตโยต้า วางแผนที่จะใช้แชสซีเพียงแค่ 3 รูปแบบสำหรับรถยนต์หลากหลายรุ่น และตั้งเป้าที่จะใช้ชิ้นส่วนร่วมกันถึง 80% ของชิ้นส่วนทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราคงจะได้เห็นการร่วมมือหรือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มากขึ้นทั้งระหว่างผู้ผลิตด้วยกันเอง และผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย อาทิ อุตสาหกรรมไอที อุตสาหกรรมเครื่องเสียง เป็นต้น” มร. คอลิน กล่าวเสริม

        อย่างไรก็ตาม บริษัท Ipsos Business Consulting ได้ชี้ประเด็นว่า การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจนั้นยังไม่เพียงพอเนื่องจากนโยบายและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ยังคงไม่เข้าที่เข้าทาง ผู้ประกอบการจะต้องจับมือกับภาครัฐ เพื่อกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ในอนาคต

http://www.ryt9.com/s/prg/1869912

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน