คำถามที่พบบ่อย

  • ลาว (Laos)
    • ลาวเป็นประเทศที่มีที่ดินจำนวนมาก แต่ทำไมไม่ประสบความสำเร็จด้านการเกษตร ถ้าจะไปลงทุนด้านการเกษตรในลาวควรจะไปลงทุนในรูปแบบใด และเราควรจะไปลงทุนหรือไม่
    • การทำการเกษตรของลาวส่วนใหญ่ยังพึ่งพาฟ้าดิน เทคโนโลยีในการทำการเกษตรยัง     ล้าหลังประกอบกับแรงงานที่ยังขาดทักษะ ทำให้ผลผลิตที่ผลิตได้ต่ำ ถ้าจะไปลงทุนในด้านการเกษตรในลาว นักลงทุนต้องนำความรู้ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการเกษตรเข้าไปสอนและพัฒนาให้คนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการผลิต ซึ่งในการที่จะไปลงทุนในลาว  นักลงทุนต้องเข้าในธรรมชาติและวัฒนธรรมของคนในประเทศก่อน ลาวเป็นประเทศสังคมนิยม ให้ความสำคัญกับสังคมเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ ความมั่นคง และเศรษฐกิจ      การดำเนินชีวิตของคนในประเทศค่อนข้างเรียบง่าย ในการที่จะไปลงทุนในลาวเราควร    จะรู้จักให้ แบ่งปัน และไม่เอาเปรียบคนในประเทศ เพราะหากรัฐบาลลาวรู้ว่าธุรกิจใด     เอาเปรียบคนในประเทศรัฐจะยกเลิกสัมปทานทันที ดังนั้นธุรกิจที่จะสามารถดำเนินอยู่ได้จะต้องเป็นธุรกิจที่ลาวได้ประโยชน์ด้วย สำหรับธุรกิจผลิตและส่งออกแป้งมันสำประหลังควรจะไปลงทุนหรือไม่ สามารถไปลงทุนได้ แต่ควรทำในรูปแบบที่กล่าวไปในเบื้องต้น คือ     รู้จักให้ แบ่งปัน และไม่เอาเปรียบคนในประเทศ ธุรกิจถึงจะอยู่ได้ในระยะยาว

    • สำหรับข้อกฎหมายหรือข้อบังคับด้านการลงทุนของลาวเป็นอย่างไร และถ้าจะไปลงทุน ในลาวควรจะจ้างเจ้าหน้าที่ของลาวเป็นที่ปรึกษาหรือไม่
    • ในปัจจุบันข้อกฎหมายหรือข้อบังคับด้านการลงทุนของลาวค่อนข้างจะเปิดกว้างนักลงทุนสามารถเข้าไปสอบถามหรือปรึกษาได้ทั้งหน่วยงานของลาวและหน่วยงานของไทยที่อยู่ในสปป.ลาว เช่น สถานทูต สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ สำหรับที่ปรึกษาควรจะเลือกที่ปรึกษาที่เป็นคนลาวและเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ที่ออกไปตั้งบริษัทที่ปรึกษา

    • สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของลาวเป็นอย่างไร
    • ในปัจจุบันค่าไฟในลาวแพงกว่าไทย เนื่องจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอ       กับความต้องการใช้ในประเทศ แต่ในอนาคตคาดว่าค่าไฟจะถูกลงเนื่องจากมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในการผลิตไฟฟ้าในลาวหลายบริษัท

    • การส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศที่สามในลาวสะดวกหรือไม่ เนื่องจากถ้าเราไปลงทุน ในสปป.ลาว การส่งสินค้ากลับมาที่ท่าเรือแหลมฉบังเพื่อส่งออกมีระยะทางและค่าใช้จ่ายมากกว่าส่งออกทางท่าเรือของเวียดนาม
    • การขนส่งสินค้าออกทางเวียดนามสะดวกขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่เนื่องจากเวียดนามมี    มรสุมบ่อย อาจจะเป็นอุปสรรคในการขนส่งได้ แต่สินค้าของบริษัทเป็นประเภทผลิตภัณฑ์ ที่สำเร็จรูป สามารถเก็บรักษาได้การส่งออกสินค้าออกทางท่าเรือของเวียดนามจะสะดวกและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

    • ตลาดไวน์ในสปป.ลาวเป็นอย่างไร และเราจะสามารถเข้าไปแชร์ส่วนแบ่งตลาดได้หรือไม่
    • ในสปป.ลาว มีไวน์ค่อนข้างมากและเป็นไวน์ที่มีคุณภาพสูง ราคาถูก ดังนั้นเป็นเรื่องยาก   ที่จะเข้าไปเจาะตลาดหรือไปแชร์ส่วนแบ่งตลาดไวน์ในลาวได้ประกอบกับคนลาวนิยม     ดื่มเบียร์มากกว่า ซึ่งในปัจจุบันเบียร์ลาวครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่าร้อยละ 90

    • ในส่วนของสินค้าสมุนไพร ตลาดในลาวเป็นอย่างไรบ้าง
    • คนลาวนิยมแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่า และนิยมที่จะเข้ามารักษาในประเทศไทย ในจังหวัดที่อยู่ตามชายแดนและจังหวัดใกล้เคียง เช่น อุดร หนองคาย เป็นต้น

    • ธุรกิจรับผลิตเครื่องสำอางในสปป.ลาว มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
    • ต้องดูว่าลูกค้าของเราในสปป.ลาวเป็นใคร กลุ่มไหน โดยการสำรวจตลาด พฤติกรรม    ของผู้บริโภคเพื่อจะได้ทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของสินค้าเราคือใคร สำหรับการสร้างแบรนด์     ในสปป.ลาว เป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเราสร้างแบรนด์ของเราในไทยให้เป็นที่รู้จักแล้วเข้าไปขายในสปป.ลาว จะมีความเป็นไปได้มากว่า เนื่องจากคนลาวนิยมและให้ความเชื่อถือสินค้าไทยมาก และคนลาวนิยมเสพสื่อไทย ดังนั้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในธุรกิจประเภทเครื่องสำอางค่อนข้างมีผลต่อความนิยมและยอดขาย ส่วนสินค้าประเภทสมุนไพร ควรเข้าไปศึกษาสมุนไพรในลาวแล้วนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของเราจะเป็นประโยชน์กว่า   เพราะ สปป.ลาวค่อนข้างให้ความสำคัญกับการปกป้องธุรกิจของคนในประเทศมาก

    • นอกจากเวียงจันทน์แล้วมีแขวงอื่นหรือไม่ที่ควรไปเปิดตลาด
    • ตลาดที่ใหญ่และมีกำลังซื้อของสปป.ลาว คือ นครหลวงเวียงจันทน์ รองลงมาจะเป็นแขวง    สะหวันนะเขต แต่กฎหมายของลาวห้ามต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกทุกชนิด ควรศึกษาข้อกฎหมายให้ดีก่อนลงทุน

    • พฤติกรรมของผู้บริโภคในสปป.ลาวเกี่ยวกับสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างไรบ้าง และถ้าจะเข้าไปลงทุนหรือส่งสินค้าเข้าไปขายในสปป.ลาว ควรทำอย่างไร
    • สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ในสปป.ลาวจะมีของจีนเข้ามาค่อนข้างมาก แต่คนลาวเองนิยม    ใช้ของไทยมากกว่าจีน และคนลาวนิยมข้ามมาซื้อของในจังหวัดชายแดนของไทย เช่น อุดร หนองคาย ดังนั้นรูปแบบการจัดจำหน่ายมี 2 รูปแบบที่ทำได้ คือขายในจังหวัดชายแดน  ของไทยกับขายฝากเข้าไปกับบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการก่อสร้างโครงการต่างๆ         ในสปป.ลาว เพราะสปป.ลาวกำลังพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และถ้าต้องการเข้าไปลงทุนในลาวก็ควรศึกษาในหลายๆ ด้าน ได้แก่

      (1)     สำรวจตลาดและพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้าและสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ของคนในสปป.ลาว หรือกลุ่มเป้าหมาย

      (2)     กระแสไฟฟ้าในสปป.ลาวยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของคนในประเทศ ดังนั้นจึงมีไฟตกบ่อย ถ้าคุณมั่นใจในมาตรฐานและคุณภาพสินค้าของบริษัท ควรทำการตลาดในรูปแบบเชิงรุกโดยการให้ความรู้กับผู้บริโภคให้ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง

      เนื่องจากคนลาวนิยมเสพสื่อจากไทย ดังนั้นควรสร้างตลาดในประเทศให้เป็นที่รู้จักแล้วค่อยขยายตลาดไปประเทศเพื่อนบ้าน จะง่ายกว่าโดยเฉพาะในสปป.ลาว การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อค่อนข้างจะมีผลต่อความนิยมในการใช้สินค้า

    • สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มในสปป.ลาว เรามีช่องทางในการเข้าไปขายอย่างไร
    • เนื่องจากกฎหมายของสปป.ลาวห้ามไม่ให้ต่างชาติเข้าไปดำเนินกิจการเกี่ยวกับค้าปลีก ดังนั้นสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มมีช่องทางจำหน่ายอยู่ 2 ช่องทาง คือ 1. ขายที่จังหวัดชายแดนของไทย เพราะคนลาวนิยมเข้ามาซื้อของจากไทยและซื้อทีละจำนวนมากๆ จะเห็นได้จากยอดการขายของห้างบิ๊กซีในจังหวัดหนองคายหรืออุดรที่ยอดขายสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ หรือ 2 จำหน่ายในรูปแบบของขายฝากเข้ามากับซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่อย่างไรก็ตามตลาดเครื่องดื่มในลาวค่อนข้างอ่อนไหว เพราะในปัจจุบันบริษัทเบียร์ลาวได้ออกผลิตภัณฑ์มาหลากหลายและครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ซึ่งถ้าเราต้องการเจาะตลาดในสปป.ลาว เพื่อแชร์ส่วนแบ่งตลาดตรงนี้ ควรจะสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักในไทยก่อน เพราะคนลาวนิยมเสพสื่อไทยสินค้าที่มีชื่อเสียง หรือสินค้า  ที่โฆษณาผ่านสื่อในไทยจะเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมค่อนข้างรวดเร็วในสปป.ลาว

    • บริษัทเราต้องการไปตั้งโรงงานที่สะหวันนะเขต อยากทราบเกี่ยวกับการเสียภาษี แรงงาน ระบบสาธรณูปโภคและการนำเข้าเครื่องจักรเก่าว่า มีข้อห้ามหรือข้อบังคับเหมือนของไทยหรือไม่
    • ที่สะหวันนะเขต มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานอย่างมากจนต้องนำเข้าแรงงานมาจากเวียดนาม ดังนั้นก่อนที่จะไปลงทุนควรจะเข้าไปสำรวจตลาดและลู่ทางในการลงทุนหลายๆ ครั้ง ให้เข้าไปพบและพูดคุยกับหน่วยงานของ สปป.ลาว ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเข้าไปลงทุนในธุรกิจของเราโดยตรง ในส่วนของการนำเข้าเครื่องจักรเก่าเข้าไปใน สปป.ลาว ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เราไปขออนุญาต เพราะในเรื่องนี้ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูงไม่ได้     มีข้อบังคับที่ตายตัว ในส่วนของการเสียภาษี ในสปป.ลาวมีการเสียภาษี ปีละ 4 ครั้ง สำหรับสาธารณูปโภคในสะหวันนะเขต ค่าไฟฟ้าถูกกว่าไทย ระบบโทรศัพท์ของลาวในปัจจุบันเป็น 4G และกำลังเร่งวางเครือข่ายทั่วประเทศ ส่วนที่พักแนะนำให้พักที่มุกดาหารจะสะดวกกว่า เพราะระยะทางจากมุกดาหารไปสะหวันนะเขตไม่ไกล สำหรับเส้นทางขนส่งในลาวปัจจุบันถือว่าดีขึ้นมาก รถไทยสามารถเข้าได้แต่ต้องทำเรื่องขออนุญาตก่อน ในส่วนของ        สินค้านำเข้าได้แต่ต้องเสียภาษีซึ่งค่อนข้างแพงมาก และการนำเข้าโดยใช้ฟอร์ม D ค่อนข้างใช้เวลานานมาก และจะต้องยื่นทุกครั้งที่มีการนำเข้าสินค้า ดังนั้นถ้าจะนำเข้าสินค้าควรใช้บริษัท Shipping ของลาวในการดำเนินการนำเข้าให้

    • ถ้าต้องการไปลงทุนประกอบกิจการเกี่ยวกับอาหารในลาวมีโอกาสหรือไม่ และถ้าจะทำเป็นรถขายเคลื่อนที่จะเป็นไปได้หรือไม่
    • ถ้าจะทำธุรกิจประเภทนี้ต้องไปที่เวียงจันทน์ เพราะมีกำลังซื้อสูงที่สุด สำหรับขั้นตอนในการลงทุนหรือเปิดกิจการค่อนข้างยุ่งยากในการจดทะเบียน การเสียภาษี หรืออากร สำหรับกิจการประเภทร้านอาหารในลาวคนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% แต่ต้องเสียภาษีค่อนข้างสูง ต้องมีในอนุญาตขอ อย. หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องตั้งร้านในห้างที่พอจะลดขั้นตอนต่างๆ ได้บ้างในการขอใบอนุญาต สินค้าที่เป็นสินค้าประเภทแฟชั่น แนะนำให้ไปเช่าที่ในมหาวิทยาลัย เพื่อทดลองตลาดและสำรวจกลุ่มลูกค้าก่อนน่าจะดีกว่า

    • ธุรกิจเกี่ยวกับทัวร์ที่พานักท่องเที่ยวลาวมาเที่ยวในประเทศไทยมีความเป็นไปได้หรือไหม
    • ในความเป็นจริงคนลาวเข้ามาเที่ยวในไทยเป็นปกติอยู่แล้ว ทั้งที่ขับรถเข้ามาเองและนั่งเครื่องไปเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ในไทย ด้วยตัวเอง เพราะคนที่ไปเที่ยวแบบนี้ได้ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีกำลังซื้อสูง และภาษาของไทยและลาวสารถสื่อสารกันได้และเข้าใจ ดังนั้นส่วนใหญ่คนลาวสามารถเข้ามาเที่ยวในไทยได้เอง

    • ค่าเงินของลาวมีความแปรปรวนมากแค่ไหน
    • ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในสปป.ลาวเงินบาทและเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ดังนั้นคนไทยที่เดินทางไปสปป.ลาวสามารถนำเงินบาทไปใช้ได้เลยโดยที่ไม่ต้องแลกเงินกีบ ส่วนในแขวงที่มีชายแดนติดกับเวียดนามมีความนิยมนำเงินด่องมาใช้เช่นกัน  

    • ในสปป.ลาวเน้นอุตสาหกรรมอะไร ถ้าจะไปลงทุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเหล็กจะมีโอกาสไหม และแร่ที่ขุดได้ในลาวมีการสกัดออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป หรือส่งออกทั้งๆที่เป็นวัตถุดิบหรือไม่
    • ในสปป.ลาวโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดี ระบบชลประทานก็ยังไม่ทั่วถึง ดินก็ไม่ค่อยอุ้มน้ำ ดังนั้นในปัจจุบันอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมเป็นอันดับ 1 คือ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเขื่อน ส่วนอุตสาหกรรมเหล็กและซีเมนต์ของลาวมีอยู่แล้วแถวบาเจียง สะหวันนะเขต และ มีผู้นำเข้าสินค้าประเภทนี้รายใหญ่ คือ สุวรรณี  นอกจากนี้ยังมีจีนที่มีการนำเข้ามาจาก  คุณหมิง ส่วนของสปป.ลาวเองก็มีโรงงานรีดเหล็ก ถ้าวัตถุดิบไม่พอจะนำเข้าจากไทย และจีน แต่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคาว่าจะเลือกนำเข้าจากประเทศไหน ส่วนใหญ่คนลาวจะนิยมนำเข้าจากไทยเพราะค่อนข้างมั่นใจในคุณภาพสินค้าไทยมากกว่าจีน ส่วนแร่ต่างๆ ที่ขุดได้ในลาว เท่าที่ทราบแร่ที่ทำการสกัดจะเป็น ทองคำ ทองแดง ส่วนแร่ชนิดอื่นๆ จะส่งออกในรูปแบบวัตถุดิบไปที่ประเทศไทยและจีน 

    • อยากทราบว่าเขตส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมในสปป.ลาวมีทั้งหมดกี่เขต มีการสนับสนุนในด้านสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง เเละจะมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างไรในสปป.ลาวหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
    • สปป.ลาวมีเขตส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ 3 เขตด้วยกัน เขตที่ 1 จะเป็นเขตพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่โครงสร้างพื้นฐานไม่สะดวก เขตที่ 2 เป็นพื้นที่ที่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และเขตที่ 3 จะเป็นเขตเมืองใหญ่ ทั้งนี้ในแต่ละเขตพื้นที่นั้นจะมีการให้สิทธิพิเศษและค่ายกเว้นที่แตกต่างกันออกไป สปป.ลาวไม่มีนโยบายให้นักลงทุนต่างชาติถือครองที่ดินได้ แต่ให้สิทธการเช่าที่ดินได้เป็นเวลา 35 ปี  ส่วนเรื่องของการเงินการธนาคารผู้ประกอบการสามารถทำธุรกรรมได้อย่างถูกต้อง และสามารถที่จะเปิดบัญชีเป็นเงินกีบหรือเงินบาทก็ได้  ส่วนการเปลี่ยนเเปลงหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการค้าขายชายเเดนจะมีความคึกคักเเละเสรีมากขึ้น สำหรับการค้าภายในประเทศจะมีการป้องกันเเละมีมาตรการกีดกันทั้งทางตรงเเละทางอ้อมไม่ว่าจะอยู่ในรูปของมาตราที่ไม่ใช่ภาษีหรือ

      สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเข้าไปลงทุนไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ตาม คือ การสร้างเครือข่าย และการติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะในสปป.ลาวมีการเปลี่ยนเเปลงค่อนข้างบ่อย ทั้งในเรื่องกฎระเบียบเเละมาตราการต่างๆ  ซึ่งช่องทางในการรับข่าวสารก็สามารถติดตามได้จากหน่ายงานของภาครัฐเเละเอกชลที่เกี่ยวข้อง ได้เเก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศูนย์ข้อมูลการลงทุนไทยในต่างประเทศ เเละหอการค้าจังหวัด เป็นต้น

    • บริษัทต้องการความรู้เกี่ยวกับการนำเข้า - ส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและการเงิน และรายชื่อบริษัทที่เข้าไปลงทุนในสปป.ลาว
    • การส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์จากสปป.ลาวสามารถทำได้เพราะไม่มีข้อระบุไว้ในรายการสินค้าหรือสิ่งที่ห้ามส่งออก ในปัจจุบันสปป.ลาวยังไม่มีการบริหารจัดการในการกำจัด    ขยะอิเล็กทอรนิกส์ ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีปัญหาในการส่งออก สำหรับการส่งออกให้บริษัทลูกค้าที่เข้ามาตั้งบริษัทในสปป.ลาวทำเรื่องส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาในไทยได้      ในเรื่องของการจ่ายเงินหรือการทำธุรกรรมทางด้านการเงิน บริษัทสามารถทำธุรกรรมโดยตรงกับบริษัทลูกค้าโดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลของสปป.ลาวเพราะเป็นการค้าระหว่างบริษัทกับบริษัท ด้านของเเรงงานการเข้าไปตั้งบริษัทในสปป.ลาวสามารถนำเข้าเเรงงานต่างชาติได้ร้อยละ10 ของเเรงงานทั้งหมดเท่านั้น  ในสปป.ลาวอัตราค่าจ่างเเรงงานท้องถิ่นที่มี ทักษะระดับกลางถึงระดับล่างมีอัตราค่าเเรงขั้นต่ำอยู่ที่ 6488,000 กีบ/คน/เดือน หรือ  2,561 บาท/คน/เดือน (ตามระเบียบราชการปี 2556) ส่วนเรื่องการเงินสามารถใช้เงินกีบหรือเงินบาทก็ได้โดยธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ได้เเก่ ธนาคารพัฒนาลาว ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม เเละธนาคารนโยบาย ส่วนสาขาธนาคารพาณิชย์ของไทยมีจำนวน 5 แห่ง ได้เเก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เเละธนาคารไทยพาณิชย์

    • ต้องการทราบข้อมูลในเรื่องของตลาดเเละกลุ่มลูกค้าที่มีธุรกิจที่ใช้แผงผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงแนวโน้มความเป็นไปได้และช่องทางในการทำธุรกิจในสปป.ลาว
    • ระบบสาธารณูประโภคของสปป.ลาว โดยเฉพาะเรื่องของระบบไฟฟ้านั้นยังไม่เพียงพอ   เเละยังกระจายไม่ทั่วถึงในหลายๆ พื้นที่ ในปัจจุบันประเทศจีนได้เข้ามาตีตลาด             ในการนำเข้าเเผงโซล่าเซลเเล้ว ประกอบกับอำนาจซื้อในสปป.ลาว ยังมีไม่มากนัก ดังนั้น จึงเลือกซื้อสินค้าจากจีนมากกว่า ถึงเเม้จะนิยมสินค้าจากไทยแต่เพราะรายได้ที่ไม่มากจึงเลือกซื้อสินค้าจากราคาก่อนคุณภาพ การที่จะเข้าไปเเข่งขันในการเเบ่งส่วนเเบ่งตลาดจากจีนในสินค้าประเภทนี้เป็นไปได้ยาก เเนะนำว่าควรที่จะทำตลาดในประเทศให้สินค้าเป็นที่รู้จักเเละที่ยอมรับเเล้วค่อยขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ 

    • ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของตลาดในแต่ละเขตพื้นที่รวมถึง พฤติกรรมการ จับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศ และธุรกิจที่น่าลงทุนภายหลังการเปิด AEC
    • สปป.ลาวจะเเบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เเขวงการปกครอง ซึ่งเเต่ละเเขวงจะมีความเเตกต่างกันทั้งเรื่องของจำนวนประชากร เศรษฐกิจ เเละพฤติกรรมการบริโภค โดยที่      เเขวงเวียงจันทน์มีประชากรมากที่สุดและกำลังซื้อก็มากที่สุดเช่นเดียวกัน รองลงมาได้แก่แขวงสะหวันนะเขต สินค้าส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาดของสปป.ลาว มาจากประเทศจีน ส่วนสินค้าไทยเป็นที่นิยมมากในสปป.ลาว เเต่เนื่องจากคนลาวส่วนใหญ่มีรายได้น้อยจึงต้องเลือกสินค่าจากจีน เพราะมีราคาถูกกว่าส่วนคนที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูงจะเลือกซื้อสินค้าจากไทยเพราะมีคุณภาพดีกว่า สำหรับสินค้าของบริษัทในเบื้องต้นควรใช้รูปเเบบการขายฝากกับตัวเเทนจำหน่ายในสปป.ลาว เช่น ร้านสุวรรณนี  ซึ่งเป็นตัวเเทนจำหน่ายวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างของ SCG เเละอุปกรณ์ตกเเต่งบ้านของเเบรนด์ต่างๆ มากมาย 

      ส่วนธุรกิจที่น่าลงทุนในสปป.ลาวจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการเเละการท่องเที่ยว อาทิเช่น สถานบันเทิง ร้านอาหาร เเละโรงเเรมเป็นต้น

    • ลำดับขั้นตอนในการเข้าไปลงทุนในสปป.ลาวเป็นอย่างไร และอะไรบ้างที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้และควรระวังในการดำเนินธุรกิจ
    • การที่จะดำเนินธุรกิจในสปป.ลาวได้นั้น นักลงทุนต่างประเทศต้องได้รับใบอนุญาตลงทุนก่อน โดยการยื่นขออนุญาตลงทุนกับสำนักงานส่งเสริมเเละคุ้มครองการลงทุนภายในเเละต่างประเทศ (DDFT) ของสปป.ลสว โดยจะมีคณะกรรมการส่งเสริมเเละคุ้มครองการลงทุน (คลท) จะเป็นผู้พิจารณา เเละเมื่อได้รับการอนุญาตเเล้วให้ไปติดต่อกับเเขวงที่จะเข้าไปลงทุนได้เลย ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรมีการวางเเผนค่าใช้จ่ายอย่างรอบครอบเผื่อสถานการณ์ฉุกเฉิน อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายนอกระบบหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ

      การทำธุรกิจในสปป.ลาวนอกจากจะมีองค์ความรู้เเล้วต้องรู้ช่องทางในการเข้าไปติดต่อว่าจะติดต่อกับหน่วยงานใด ต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อป้องกันความเสี่ยงเเละลดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ควรศึกษาพฤติกรรม วัฒนธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติรวมถึงต้องเข้าใจในความเป็นสปป.ลาว ไม่ควรเปรียบเทียบกับประเทศไทยเพราะคนลาวค่อนข้างมีความอ่อนไหวโดยเฉพาะกับคนไทยผู้ประกอบการจึงควรปฏิบัติต่อคู่ค้าด้วยความจริงใจ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจเพราะถ้าหากขัดใจกันถึงขั้นฟ้องร้องกันอาจจะส่งผลกระทบถึงความเชื่อถือต่อธุรกิจ

  • กัมพูชา (Cambodia)
    • ถ้าต้องการไปนำสินค้า (เตาแก๊ส มี brand เป็นของตัวเอง กาแฟ เครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า) ไปขายในกัมพูชา (ยังไม่เคยไปทำธุรกิจในกัมพูชา แต่สินค้าผลิตและจำหน่ายในไทยได้ดี แต่มีปัญหาคู่แข่ง) ต้องการหาตลาดใหม่จะเริ่มต้นอย่างไร?
    • 1. ต้องเข้าไปศึกษาตลาดก่อนว่าควรจะจำหน่ายช่องทางใด โดยเข้าไปศึกษาด้วยตัวเองหรืออาจออกงานแสดงสินค้าที่จัดโดยกรมส่งออกหรือหอการค้าจังหวัด 2. ถ้าไปดูด้วยตนเอง ให้ไปดูตามร้านแก๊สว่าร้านค้าดังกล่าวมีสินค้ายี่ห้ออะไรจำหน่าย ราคาเท่าใด เราจะนำสินค้าทดลองวางฝากขายได้หรือไม่ ซึ่งการศึกษาหาลู่ทางการตลาดอาจต้องใช้เวลา 3. ในการเข้าไปหาดูลู่ทางตลาดให้เอาตัวอย่างสินค้าไปแสดงหรือมีโบว์ชัวร์ให้ดู 4. อาจไปแบ่งเช่าห้องหรือสำนักงานโดยยังไม่ต้องลงทุนมาก แล้วลองนำสินค้าไปวางจำหน่ายดูว่าจะไปรอดไหม ข้อแนะนำ 1. ในกรณีที่มี Brand สินค้าของตนเอง ก่อนนำสินค้าไปวางขายในตลาดจะต้องไปขอจดลิขสิทธิ์สินค้าก่อน มิฉะนั้นอาจจะถูกปลอมแปลง 2. ให้ขายสินค้าเป็นเงินสด อย่าขายเชื่อ ถ้ามีปัญหาจะยุ่งยากในการตามเรียกเก็บเงิน
    • ผู้ประกอบการได้ขยายธุรกิจไปยังกัมพูชาโดยจดทะเบียนสำนักงานสาขาที่ประเทศกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว ต้องการเปิดบัญชีกับธนาคารในกัมพูชา จะต้องดำเนินการอย่างไร?
    • ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนบริษัทสาขาในกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีหลักฐานการจดทะเบียนทีออกโดยกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาซึ่งมีการระบุว่าใครเป็นผู้จัดการสาขา ในการเปิดบัญชีนั้น ให้นำหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทสาขาในกัมพูชาไปแสดงเนื่องจากได้จดทะเบียนในรูปของสำนักงานสาขาซึ่งบริษัทแม่อยู่ในประเทศไทย หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบเพิ่มเติมคือหนังสือรับรองของบริษัทแม่โดยรับรองว่าบริษัทในกัมพูชาเป็นสาขาของบริษัทแม่จริง และรับรองว่าให้ผู้จัดการสาขา
    • ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจด้านโฆษณาต้องการจะไปทำป้ายโฆษณาในกัมพูชาที่บริเวณ airport โดยมี partner ซึ่งเป็นเกาหลี ทำโฆษณาสื่อในกัมพูชาอยู่แล้วต้องการทราบว่าการทำสื่อโฆษณาในกัมพูชามีหลักเกณฑ์อย่างไร
    • การทำธุรกิจสื่อโฆษณาในกัมพูชาสามารถจดทะเบียนบริษัทของตนเองได้ 100% (ข้อแนะนำ: ควรมี partner เพราะว่าการทำธุรกิจดังกล่าวต้องการ connection สูงจึงจะประสบความสำเร็จ ในการทำป้ายโฆษณาจะต้องเช่าที่ดิน กฎหมายกัมพูชาไม่อนุญาตให้คนต่างชาติซื้อที่ดิน (ข้อแนะนำ: สามารถเช่าที่ดินจากเจ้้าของที่โดยตรง ไม่ต้องมีคนกลาง)
    • สภาพแวดล้อมทางการเมืองในกัมพูชาเป็นอย่างไร?
    • รัฐบาลพรรคเดียวผู้นำรัฐบาลมีอำนาจการตัดสินใจในด้านนโยบายสูง
    • ปัจจุบันธุรกิจใดในกัมพูชามีแนวโน้มไปได้ีดี?
    • ธุรกิจที่กำลังมีแนวโน้มเติบโต คือ ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างเนื่องจากประเทศกัมพูชาอยู่ในระหว่างการพัฒนาประเทศ มีการก่อสร้างมาก มีความต้องการวัสดุก่อสร้าง ช่างเทคนิคและวิศวกรมาก
    • ผู้ประกอบการต้องการขยายธุรกิจไปกัมพูชาเนื่องจากมีลูกค้าอยู่แล้วในกัมพูชา ต้องการทราบว่าถ้าจะจดทะเบียนบริษัทจะต้องทำอย่างไร และจะต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าใด?
    • จะต้องมี office เพื่อไปยื่นขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติโดยสามารถเข้ามาดำเนินกิจการทั้งในลักษณะสาขา สำนักงานตัวแทน รวมทั้งบุคคลตั้งแต่ 1 คน ก็สามารถจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลได้ ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 1,000 USD
    • ถ้าต้องการขายสินค้าที่เป็น brand ของตัวเองในกัมพูชา จะต้องทำอย่างไร?
    • จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในกัมพูชาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาของกระทรวงพาณิชย์ โดยค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ยี่ห้อต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 125 USD
  • อินโดนีเซีย (Indonesia)
    • การเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในอินโดนีเซียสำหรับคนต่างชาติจะต้องทำอย่างไร?
    • คนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนจะต้องยื่นขอใบอนุญาตการลงทุนจาก Investment Coordinating Board (BKPM) ของอินโดนีเซีย โดย BKPM จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและออกใบอนุญาตในการลงทุนสาขาต่างๆให้ อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตการลงทุนได้ที่สถานทูตอินโดนีเซียในต่างประเทศได้ก่อนการขอรับใบอนุญาตการลงทุน นักลงทุนต่างชาติจะต้องศึกษากฎระเบียบการลงทุนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน เพราะภาคการลงทุนบางประเภทไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติดำเนินการและการลงทุนบางประเภทที่จำกัดอัตราการถือหุ้นหรือความเป็นเจ้าของ
    • รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือไม่?
    • ชาวต่างชาติสามารถลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ 100% ในกรณีที่ร่วมทุนกับชาวอินโดนีเซียไม่มีข้อกำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุน
    • ที่อินโดนีเซียมีนิคมอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะหรือไม่ ถ้ามี ชื่อนิคมอะไรและตั้งอยู่ที่ใด?
    • เนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์ในอินโดนีเซียเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ในช่วงแรกโรงงานส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ทางแถบจาการ์ตาเหนือ ต่อมาก็ขยับขยายไปทางตะวันออกของจาการ์ตาแถวๆ Tengarang ปัจจุบันรัฐบาลเองก็มีนโยบายที่สนับสนุนอุตสาหกรรมไปทางตะวันออกของจาการ์ตา จึงได้สร้างระบบสาธารณูปโภค (infractructure) ต่างๆเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอื่นๆมาทางด้านตะวันออกของจาการ์ตา
    • รัฐบาลอินโดนีเซียมีการควบคุมโรงงานในเรื่องความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร?
    • ภาครัฐของอินโดนีเซียมีกฎระเบียบในการยื่นขอใบอนุญาต (Apply License) ต่างๆเพื่อควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งตัวนิคมอุตสาหกรรมเองก็ถูกบังคับให้ต้องดูแลมาตรฐานเหล่านี้ของโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ด้วย
    • อยากทราบว่าจะไปลงทุนเปิดสาขาธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชีวมวลในอินโดนีเซียได้หรือไม่และจะต้องทำอย่างไร?
    • สามารถหาข้อมูลได้ที่ www.bkpm.go.id ซึ่งคล้ายกับ BOI ของไทย จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน การเก็บภาษี การถือหุ้น โดย BKPM จะให้ความช่วยเหลือเรื่องภาษีกับภาคธุรกิจใหญ่ที่มีเงินลงทุน 117 ล้านเหรียญขึ้นไป ซึ่งอุตสาหกรรมใหญ่ คือ (1) เหล็กต้นน้ำ (2) โรงกลั่นน้ำมัน (3) ปิโตรเคมี (4) พลังงานหมุนเวียน (5) เครื่องมือ อุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้ลดภาษีจำนวนมาก โดยถ้ากิจการอยู่ในอุตสาหกรรมใหญ่และมีเงินลงทุนมากกว่า 117 ล้านเหรียญ อาจไม่ต้องจ่ายภาษีในอัตราปกติ
    • ในเรื่องการจ้างงาน อินโดนีเซียมีข้อบังคับใดๆหรือไม่?
    • อินโดนีเซียไม่ได้บังคับเรื่องการจ้างงาน แต่ต้องกรอกแบบฟอร์มระบุว่าต้องการอินโดนีเซียกี่คน คนต่างชาติกี่คน ถ้าใช้คนในพื้นที่จะช่วยลดปัญหาการจดทะเบียนลงได้และต้องมีแผนธุรกิจให้ชัดเจน
    • อยากทราบว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไปลงทุนเปิดตลาดสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ถนอมผิวและเครื่องสำอางค์ ภายใต้ตราสินค้า Brand ของไทยในอินโดนีเซีย?
    • ตลาดสินค้ากลุ่มนี้ในอินโดนีเซียกำลังเติบโตอย่างมาก ซึ่งในปี 2554 มียอดขายอยู่ที่ 8 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มเป็น 9.76 ล้านล้านรูเปียห์ ในปี 2555 หรือเพิี่มขึ้นร้อยละ 12.9 สมาคมเครื่องสำอางในอินโดนีเซียคาดว่าในปี 2556 ยอดขายจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ส่งผลให้มีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพิ่มจำนวนมาก จึงมอกว่าเป็นโอกาสของธุรกิจนี้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเข้าไปศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และทดสอบตลาดให้ดีเสียก่อนค่อยตัดสินใจลงทุน หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.cosmeticsandtoiletries.com
    • ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สนใจจะไปลงทุนอินโดนีเซีย ไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร?
    • รูปแบบการลงทุนอาจจะลงทุนเอง 100% หรือร่วมลงทุน (Joint Venture) ซึ่งถ้าลงทุนเอง 100% จะมีข้อดีในเรื่องอำนาจการบริหารจัดการ เพราะเรามีอำนาจตัดสินใจได้เต็มที่ แต่ก็มีข้อเสียในแง่ประสบการณ์และความชำนาญในพื้นที่ ตลอดจนการประสานกับหน่วยงานในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้ามีหุ้นส่วนที่เป็นคนอินโดก็จะทำได้ง่ายกว่า ส่วนการร่วมทุนมักจะมีปัญหาในเรื่องการหาหุ้นส่วน ประเด็นสำคัญคือ จะหาหุ้นส่วนที่ดีได้อย่างไร
    • การเข้าไปลงทุนในสินค้าอุปโภคบริโภคในอินโดนีเซียจะมีโอกาสมากน้อยเพียงใด?
    • ลักษณะการบริโภคของชาวอินโดนีเซียเป็นแบบ impulsive คือ ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า นอกจากนี้สินค้าบริโภคควรจะได้รับการรับรอง อ.ย. และฮาลาลของอินโดนีเซ๊ย จะทำให้มีโอกาสทางการตลาดมากขึ้นด้วย เนื่องจาก 80% ของประชากรเป็นมุสลิม (ข้อเสนอแนะ: สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าไปลงทุนคือ การไปสำรวจตลาด โดยอาจเริ่มต้นจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าไทย ที่สำนักกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จัดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อจะได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ก็ควรศึกษาเรื่องคู่แข่งขัน ความยากง่ายในการเข้าตลาด ต้นทุนในการพัฒนาสินค้า และค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายด้วย สำหรับข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ควรจะทำการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT เสียก่อน
    • มาตรฐานฮาลาลตลอดจนระบบโลจิสติกส์สินค้าฮาลาลของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในอินโดนีเซียหรือไม่?
    • ในขณะนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะสถาบันผู้รับรองมาตรฐานฮาลาลของทั้งสองประเทศยังไม่มีการประสานงานที่ดีต่อกัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และยุ่งยากในการตรวจรับรอง
    • ปัญหาภัยธรรมชาติ อาทิ แผ่นดินไหว สึนามิ ถือเป็นอุปสรรคในการลงทุนในอินโดนีเซียหรือไม่ มีพื้นที่ใดที่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติหรือไม่?
    • สำหรับพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งอยู่ทางเกาะสุมาตรา การเกิดสึนามิมักเกิดทางเหนือของเกาะสุมาตรา ใกล้กับประเทศไทย เขตวงแหวนรอบนอกถือเป็นเขตที่มีความเสีี่ยงสูงแต่เขตบอร์เนียว เกาะกะลิมันตัน เป็นเขตที่ยังไม่มีแผ่นดินไหว นักลงทุนควรมีการป้องกันความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติเหล่านี้ด้วยการซื้อประกันภัยที่ครอบคลุมภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว
    • สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการควรผลิตแล้วส่งออกไปยังอินโดนีเซียหรือควรไปตั้งโรงงานที่อินโดนีเซีย และอยากทราบถึงสภาวะการแข่งขันภายในประเทศอินโดนีเซีย?
    • อุตสาหกรรมอาหารถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความละเอียดอ่อน การตัดสินใจต้องคำนึงถึงต้นทุนสินค้าเปรียบเทียบกับต้นทุนขนส่ง อย่างไรก็ดี ต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานฮาลาลของท้องถิ่นด้วย การแข่งขันของสินค้าในปัจจุบันถือว่ามีความเข้มข้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจ โดยมีทางเลือกมาก ฉะนั้น ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าให้อยู่ในระดับสูง
    • ต้องการทราบถึงแนวทางและรูปแบบการเข้าไปลงทุนที่เหมาะสมในประเทศอินโดนีเซีย สำหรับธุรกิจจำหน่ายเม็ดพลาสติก
    • อันดับแรกให้ไปสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาเพื่อขอข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จากนั้นต้องลงพื้นที่ไปสำรวจตลาด โดยแนะนำให้ลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กระจายอยู่รอบๆ กรุงจาการ์ตา และอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อยู่บนเส้นทางจาการ์ตา-บันดุง สำหรับการเข้าไปจำหน่ายสินค้าประเภทเม็ดพลาสติก ควรเข้าไปตั้งสำนักงานใหญ่ที่อินโดนีเซียจะดีที่สุด แล้วส่งสินค้าจากไทยเข้าไปจำหน่าย ไม่ควรใช้คนท้องถิ่นเป็นตัวแทนจำหน่าย

    • การเข้าไปรับจ้างผลิตและทำแบรนด์เครื่องสำอางในประเทศอินโดนีเซียมีความเป็นไปได้หรือไม่
    • การเข้าไปรับจ้างผลิตและทำแบรนด์เครื่องสำอางในประเทศอินโดนีเซียมีความเป็นไปได้ แต่ต้องเปิดตัวเองให้ชัดเจนให้คนอินโดนีเซียรู้จัก โดยเฉพาะหากเป็นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรจะมีตลาดรองรับแน่นอน เนื่องจากคนอินโดนีเซียนิยมใช้สมุนไพรที่เรียกว่า “จามูจามู” แต่รูปแบบการขายยังไม่ทันสมัย อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ที่จะนำเข้าไปจำหน่ายต้องให้ผ่านการยอมรับจาก อย. ไทยเสียก่อน ซึ่งถือเป็นใบเบิกทางเบื้องต้นก่อนที่จะไปขอ อย. ของอินโดนีเซีย

    • ความเป็นไปได้แค่ไหนในการเข้าไปจำหน่ายสินค้าประเภทสปาในอินโดนีเซีย
    • การเข้าไปจำหน่ายสินค้าประเภทสปาในอินโดนีเซียมีความเป็นไปได้หากผลิตภัณฑ์มีรูปแบบและสไตล์ที่ชัดเจน ซึ่งควรติดต่อสปาของโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรมที่บาหลี หรืออีกรูปแบบคือ ร่วมทุนกับคนอินโดนีเซียเปิดร้านสปา แล้วฝึกอบรมพนักงานชาวอินโดนีเซีย แต่ข้อจำกัดคือต้องมีทีมงาน อย่างไรก็ตาม ควรทำการสำรวจตลาดจากกลุ่มทัวร์ชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก่อนเป็นอันดับแรก โดยแจกผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ เนื่องจากปัจจุบันคนอินโดนีเซียนิยมเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเยอะขึ้น และควรเข้าไปสำรวจตลาดในอินโดนีเซียด้วย โดยเข้าไปลองใช้บริการร้านสปาซึ่งมี 3 ประเภท คือ บริการนวดตามบ้าน ร้านนวดทั่วไป และสปาในโรงแรมสำหรับการเข้าไปทำธุรกิจที่อินโดนีเซียควรเข้าไปแบบตั้งสำนักงานใหญ่ โดยเฉพาะที่บาหลี เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

    • ปัจจุบันสินค้าที่จำหน่ายใช้รูปแบบแพ็คเกจสไตล์ญี่ปุ่น จะสามารถนำไปใช้ได้ในอินโดนีเซียหรือไม่
    • สินค้าที่รูปแบบแพคเก็จสไตล์ญี่ปุ่นสามารถขายได้ในอินโดนีเซีย เพราะชนชั้นกลางของอินโดนีเซียค่อนข้างทันสมัย ทางผู้ผลิตไม่ต้องลดเกรดสินค้า แต่ให้มองเป็นโอกาสในการเปิดตลาดใหม่ และควรทำการสำรวจตลาดจากกลุ่มทัวร์ชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก่อนเป็นอันดับแรก โดยแจกผลิตภัณฑ์ทดลองใช้ ทั้งนี้ควรนำสินค้าที่ตรงกับความต้องการเข้าไปจำหน่ายจึงจะประสบความสำเร็จ

    • ต้องการทราบถึงความเป็นไปได้ในการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์เคมีในอินโดนีเซีย
    • การนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์เคมีในอินโดนีเซียค่อนข้างเข้ายาก ส่วนการนำเข้าพวกสารปรับปรุงดินจะไม่คุ้มกับค่าขนส่ง แต่ถ้าเป็นสินค้าประเภท Know-how เช่น สารบำรุงพืช จะมีโอกาสเข้าไปได้ดีกว่า สำหรับวิธีการเข้าไปในระยะแรก คือ การออกบูธสินค้าเกษตรโดยประสานงานกับบริษัทเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น บริษัทคูโบต้า บริษัททะเลทอง เป็นต้น สำหรับวิธีอื่นๆ คือ ไปสำรวจย่านค้าปุ๋ยในอินโดนีเซียและศึกษาจากหนังสือปุ๋ย/เคมีภัณฑ์ของอินโดนีเซียโดยเฉพาะ

    • อยากทราบถึงพฤติกรรมด้านที่อยู่อาศัยของชาวอินโดนีเซีย และวิธีการบำบัดน้ำเสียในประเทศอินโดนีเซีย
    • ที่อยู่อาศัยนอกเมืองจะเป็นบ้านแถวแบบโบราณ ส่วนในเมืองเริ่มมีการปรับปรุงเป็นคอนโดมิเนียม คนรุ่นเก่าจะนิยมสร้างบ้านเอง แต่คนรุ่นใหม่จะนิยมซื้อบ้านจัดสรร ซึ่งสัดส่วนจำนวนบ้านจะมากกว่าคอนโดมิเนียม ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีบุตรอย่างน้อย 2 คนสำหรับการบำบัดน้ำเสียในอินโดนีเซีย จะมีกฎหมายกำหนดไว้เช่นเดียวกับประเทศไทย การสร้างตึก/อาคารต้องมีการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งนักลงทุนต้องไปศึกษารายละเอียดด้วยตนเอง 

    • ประเทศอินโดนีเซียกำลังเติบโตด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ จึงต้องการเปิดตลาดที่อินโดนีเซีย แต่มีความกังวลเรื่องการเข้าไปทำธุรกิจ จึงอย่างทราบว่า ควรเข้าไปติดต่อที่หน่วยงานใดก่อน และอยากทราบระยะเวลาในการจัดตั้งบริษัท
    • ควรเริ่มที่กรมส่งเสริมการส่งออกของไทยก่อน และหาข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจอินโดนีเซีย (ณ สถานทูตไทยในอินโดนีเซีย) เป็นต้น จากนั้นควรเข้าพบอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย โดยติดต่อผ่านท่านทูตไทยที่อินโดนีเซีย และเข้าพบกรมส่งเสริมการลงทุนของอินโดนีเซีย (หรือ BOI ของอินโดนีเซีย) สำหรับระยะเวลาในการจัดตั้งบริษัทที่อินโดนีเซีย ค่อนข้างรวดเร็ว ใช้เวลาสั้น โดยใช้บริการบริษัทกฎหมายของอินโดนีเซียเป็นผู้ดำเนินการให้

    • การซื้อขายกับบริษัทเครือข่ายในอินโดนีเซีย สามารถจ่ายเป็นเงินบาทไทยได้หรือไม่ และจะสามารถทราบอัตราภาษีได้จากที่ไหน
    • สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้จะมีสิทธิปลีกย่อย ว่าต้องมีเงินลงทุนเท่าไรถึงจะได้รับสิทธิพิเศษในการโอนเงินข้ามประเทศ โดยไม่เสียภาษี จะต้องดูรายละเอียดของทางอินโดนีเซียอีกที สำหรับในเรื่องของอัตราภาษีสามารถหาข้อมูลได้จากกรมส่งเสริมการส่งออก ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีข้อมูลที่ละเอียดครบถ้วน

    • ประเทศอินโดนีเซีย มีสิทธิพิเศษในการเข้าไปทำธุรกิจอย่างไรบ้าง และในการเข้าไปลงทุนควรจะไปร่วมลงทุน หรือไปลงทุนเอง 100% รวมทั้งอัตราภาษีของอินโดนีเซียเป็นอย่างไร
    • ควรจะเข้าไปลงทุนเอง 100% เลย เพราะจะสามารถทำงานได้ง่ายกว่า แต่ถ้าต้องการที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับคนอินโดนีเซียจริงๆ ให้ร่วมลงทุนกับคนอินโดนีเซียที่มีเชื้อสายจีนที่นับถือบรรพบุรุษหรือนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้จะมีความตรงไปตรงมา มีระเบียบแบบแผน หลังจากนั้นจึงเลือกลงทุนกับคนอินโดนีเซีย ที่นับถือศาสนาคริสต์ และคนอินโดนีเซียที่นับถือศาสนาอิสลาม การตั้งโรงงานควรไปตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะมีการบริหารจัดการที่ดีกว่า สะดวกและง่ายกว่าการตั้งโรงงานอยู่ในพื้นที่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีรายละเอียดในการให้สิทธิพิเศษในแต่ละนิคมจะแตกต่างกันออกไป ให้เข้าไปศึกษาให้ละเอียดก่อนที่จะเลือกที่ตั้งสำหรับการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงาน

    • เวลาทำงานของคนอินโดนีเซียเป็นอย่างไร และค่าแรงขั้นต่ำเป็นเท่าไร
    • ชั่วโมงในการทำงานจะเหมือนคนไทย แต่เนื่องจากคนในประเทศอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะเป็นคนมุสลิม จะต้องมีการทำละมาดทุกวัน และจะมีช่วงเดือนพิเศษ คือช่วงเดือนรอมฎอน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานแต่อย่างใด และปัญหาที่สำคัญของอินโดนีเซียอีกเรื่องก็คือในเรื่องของการจราจร ที่มีปัญหารถติดมาก ในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (The regional minimum wage: UMR) เป็นมาตรฐานค่าจ้างของแรงงานในประเทศ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้ถูกกำหนดโดยสภาค่าจ้าง ภายใต้ความรับผิดชอบดูแลของประธานาธิบดี ที่ 107 ในปี 2004 ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการไตรภาคี คือ ตัวแทนภาครัฐ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสหภาพแรงงานและองค์กรนายจ้าง) การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เริ่มจากการสำรวจค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ซึ่งนำเสนอโดยสภาค่าจ้างในแต่ละภูมิภาค ต่อองค์กรปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้จะมีการทบทวนความเหมาะสมทุกปี และให้กับแรงงานทั่วไป และแรงงานที่มีสัญญาจ้าง 1 ปีขึ้นไป ซึ่งอัตราค่าจ้างในแต่ละภูมิภาคถูกกำหนดโดยผู้ว่าของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะแตกต่างกันไป 

    • มีสายการบินไหนบ้าง ที่สามารถเดินทางไปประเทศอินโดนีเซียได้
    • มีสายการบินการูด้า สายการบินแอร์เอซีย สายการบินไทย หรืออาจจะไปต่อเครื่องที่ประเทศสิงคโปร์ก็ได้ ซึ่งมีสายการบินที่หลากหลาย ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับทางบริษัทด้วยว่าต้องการไปลงทุนที่ไหน ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ก็ต้องไปลงทุนที่  จาการ์ต้า

  • พม่า (Myanmar)
    • สินค้าใดที่มีศักยภาพในตลาดเมียนมาร์?
    • การทำธุรกิจในเมียนมาร์จะต้องมองในระยะยาว และในบางครั้งสินค้ามีอยู่เดิมในตลาดแล้ว ดังนั้นการเข้าตลาดจึงต้องนำสินค้าไปแนะนำก่อน โดยในการแนะนำสินค้าใหม่นั้นมีเทคนิคหลายอย่าง อาทิ โบรชัวร์ แต่วิธีที่น่าจะได้ผลมากคือการจัดสัมมนา โดยอาจใช้ผู้จัดสัมมนาภายใน หรืออีกวิธีหนึ่งคือการนำสินค้าเข้าไปสาธิตให้ดู (ในกรณ๊เครื่องจักรในการก่อสร้าง) นอกจากนี้ยังอาจอาศัยความร่วมมือจากผู้กระจายสินค้าด้วย
    • การเข้าตลาดเมียนมาร์ควรเริ่มต้นอย่างไร?
    • ควรเริ่มต้นจากการค้าชายแดนก่อน โดยเฉพาะตลาดที่แม่สอด จังหวัดตาก ควรมีการเข้าไปศึกษาตลาดและทดสอบตลาด หากเป็นสินค้าที่ต้องมีบริการหลังการขาย ควรมีศูนย์บริการรองรับ และเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้ทดลองสินค้าก่อน เช่น เครื่องสำอาง และมีการทำประชาสัมพันธ์สินค้าที่ดี
    • กฎหมายประเทศเมียนมาร์ที่ควรทราบก่อนตัดสินใจลงทุน
    • Investment Law 2012 Myanmar Company Act กฎหมายเศรษฐกิจพิเศษ Myanmar Citizen กฎหมายธุรกิจเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 50 ฉบับ
    • อุปสรรคหรือข้อควรระวังในการลงทุนในประเทศเมียนมาร์
    • 1. ความไม่พร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา 2. ราคาเช่าที่ดินและอาคารในเมืองเศรษฐกิจมีราคาสูง ส่งผลต่อต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก 3. การหาคู่ค้าทางธุรกิจ (Partner) และความโปร่งใส่ในการทำธุรกิจ
    • พม่า ภาษีและการนำเงินเข้าออกประเทศเมียนมาร์
    • เป็นไปตามกฎหมาย No. 40/2011 ตามระเบียบของเมียนมาร์ ดำเนินการผ่าน Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) โดยขึ้นอยู่กับ Myanmar Foreign Investment Commision
    • กฎระเบียบท้องถิ่นของเมียนมาร์ในแต่ละเมืองมีความแตกต่างจากรัฐบาลกลางหรือไม่?
    • ไม่แตกต่าง เพียงแต่ว่าในพื้นที่ที่แตกต่างออกไป อาจจะเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
    • การขนส่งวัตถุดิบเข้าประเทศเมียนมาร์ มีโครงสร้างต้นทุนค่าขนส่งเท่าไหร่ รวมทั้งมีอุปสรรคหรือไม่
    • ต้นทุนค่าขนส่งขึ้นอยู่กับระยะทาง เช่น จากย่างกุ้ง ไปมัณฑเลย์ ระยะทางรวม 688 กิโลเมตร อาจต้องเสียค่าขนส่ง 3 บาทต่อกิโลเมตร (ข้อมูลปี 2553) จากย่างกุ้งไปเนปิดอร์ ค่าขนส่ง 2 บาทต่อกิโลเมตร แต่ในปัจจุบันค่าขนส่งเิพิ่มขึ้น ร้อยละ 20-30
    • สัดส่วนการถือครองหุ้นและสิทธิพิเศษที่ให้กับนักลงทุนชาวไทย ในกรณีเปิดบริษัทในประเทศเมียนมาร์
    • ตากกฎหมายลงทุนฉบับใหม่ สามารถลงทุนได้ 100% เต็ม และร่วมทุนได้ไม่จำกัดสัดส่วนขั้นต่ำ สำหรับสิทธิพิเศษคือ ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 5 ปี ธุรกิจส่งออกได้รับการยกเว้นภาษีร้อยละ 25 ของกำไร ยกเว้นภาษีวัตถุดิบนำเข้า 3 ปี ให้เข่าที่ดินจากรัฐ 50 ปี ทั้ังนี้ต้องตรวจสอบรายอะเอียดของกฎหมายลูก สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติคือห้ามผิดกฎหมายและดูสิ่งที่กำลังลงทุนว่าเป็นเรื่องใหม่หรือไม่ หากเป็นประโยชน์กับเมียนมาร์ในระยะยาว อาจทำให้ได้รับอนุมัติได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ MIC
    • การถือครองหรือการเช่าที่ดินในประเทศเมียนมาร์
    • สามารถเช่าที่ดินได้อย่างเดียว ไม่สามารถซื้อที่ดินได้ สำหรับราคาที่ดินมี 3 แบบ คือ 1. ราคาที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2. ราคาที่ดินในเขตอุตสาหกรรม 3. ราคาที่ดินทั่วไป เช่น เช่าเพื่อทำการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ฯลฯ
    • ใบอนุญาตของคนไทย (Work Permit) ในบริษัทที่จดทะเบียยในเมียนมาร์ใช้ได้ในระยะเวลาเท่าไร
    • ระยะสั้นเพียง 3 เดือน
    • ค่าแรงขั้นต่ำภายในประเทศเมียนมาร์เท่าไหร่
    • ย่างกุ้ง 120-150 บาท/วัน ผาอัน 120 บาท/วัน เมาะละแหม่ง 120 บาท/วัน พะโค 120-130 บาท/วัน ในอีกไม่เกิน 5 ปี อาจปรับขึ้น 200 บาท/วัน และในย่างกุ้ง 250 บาท/วัน
    • จำนวนและคุณภาภของแรงงานชาวเมียนมาร์เป็นเช่นไร
    • มีคนอยู่ในวัยทำงานเป็นจำนวนมาก แรงงานส่วนใหญ่ต้องฝึกฝน โดยหากต้องการฝึกทักษะให้กับแรงงาน ต้องมีผู้ฝึกในอัตรา 1:5 หรือ 1:10 สำหรับแรงงานเมีียนมาร์ที่เห็นในไทย ส่วนใหญ่มาจากกะเหรี่ยง มอญ ซึ่งมีความขยันและมุ่งมั่น ซึ่งผิดกับแรงงานที่จะหาได้ในย่างกุ้ง ด้านทักษะทางวิศวกรรมยังพอมีอยู่บ้าง
    • คนต่างชาติทำธุรกิจนำเข้าในเมียนมาร์ได้หรือไม่
    • คนต่างชาติไม่สามารถทำธุรกิจนำเข้าได้ จะต้องร่วมทุนเป็น Joint Venture แล้วให้ Partner ดำเนินการแทน
    • วงเงินลงทุนขั้นต่ำควรเป็นเท่าใดสำหรับนักลงทุนต่างชาติในเมียนมาร์
    • เงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับภาคธุรกิจต่างๆแตกต่างกัน เช่น ภาคอุตสาหกรรม 500,000 บาท ภาคบริการ 300,000 บาท สำหรับภาคเกษตรกรรม/ปศุสัตว์กฎหมายไม่ได้กำหนด
    • ระบบสาธารณูปโภคในเมียนมาร์เป็นอย่างไร
    • ไฟฟ้ายังมีปัญหา ประปายังไม่ทั่วถึงแม้ในกรุงย่างกุ้งเอง ถนนยังไม่ค่อยดีนัก แต่เส้นทางย่างกุ้ง - มัณฑะเลย์ ดีตลอดสาย และถนนยังเป็นแบบระบบเข้าเมือง ซึ่งทำให้เสียเวลาในการเดินทาง (ประเทศไทยเป็นระบบเลี่ยงเมือง) ระบบการสื่อสารดีขึ้นเรื่อยๆจากเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว แต่ระบบ Internet ยังไม่ค่อยมี
    • ไฟฟ้ามีใช้เพียงพอหรือไม่ในนิคมอุตสาหกรรมในเมียนมาร์
    • มีไม่เพียงพอ ต้องอาศัยเครื่องปั่นไฟ
    • ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท การจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนในเมียนมาร์
    • 1. ยื่นขออนุญาตโครงการต่อคณะกรรมการการลงทุน (Myanmar Investment Commission: MIC) 2. คณะกรรมการพิจารณาการลงทุนจากต่างชาติ (The Foreign Investment Commission: FIC) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติโครงการ 3. นำใบอนุญาตจาก MIC ไปขอ Permit to Trade จาก Companies Registration Office 4. บริษัทและพนักงานต่างชาติ ต้องเปิดบัญชีที่ MIC กำหนดเท่านั้น
    • การทำธุรกิจในเมียนมาร์ควรเข้าไปติดต่อใครหรือหน่วยงานไหน
    • ควรศึกษากฎหมายและคู่มือการลงทุนได้จาก BOI ว่ามีหน่วยงานใดที่เกีี่่ยวข้องบ้าง อาทิ MIC
    • พื้นที่การค้าชายแดนที่เมียนมาร์มีพื้นที่ใดน่าสนใจ
    • ที่เมียวดี ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอำเภอ แม่สอด จังหวัดตากของไทย เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งทางเมียนมาร์ตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน จึงทำให้มีนักธุรกิจสนใจที่จะไปเยี่ยมชมอย่างมาก
    • หากสนใจจะลงทุนในเมียนมาร์ ควรไปที่เมืองใด
    • มีเมืองที่มีเขตอุตสาหกรรมอยู่หลายเมือง อาทิ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เมาะละแหม่ง ผาอัน และโดยเฉพาะมะริด ซึ่งอยูใกล้ด่านสิงขร ห่างออกไปประมาณ 60 กิโลเมตร เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน
    • รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในเมียนมาร์
    • ไม่ควรลงทุน 100% เพราะเสี่ยงเกินไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ และสถานภาพขององค์กรที่เข้าไปลงทุน การร่วมทุนมีความเป็นไปได้แต่การหาคู่ธุรกิจที่ดีคงต้องใช้เวลาและศึกษาพอสมควรก่อน
    • การขนส่งผ่านแดน การค้าชายแดน จากแหลมฉบังไปท่าเรือทวาย ประเทศเมียนมาร์ เป็นอย่างไร
    • ท่าเรือทวาย ยังเพิ่มเริ่มต้น ต้องรอสักระยะหนึ่ง และเหมาะแก่การลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม หากโครงการสมบูรณ์จะเป็นประโยชน์ต่อไทยมากเพราะสามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าของไทยจากแหลมฉบังไปท่าเรือทวาย เพื่อส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆได้เป็นอย่างดี
    • ค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอย่างไร และการถือครองเงินในเมียนมาร์มีความเสีี่ยงหรือปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
    • กรณีการค้าชายแดน สามารถใช้เงินจ๊าดและบาทได้ การแลกเปลี่ยนเงินตราใช้อัตราตลาดมืด และส่วนใหญ่ใช้ระบบโพยก๊วน การถือครองเงินในเมียนมาร์ มีความปลอดภัย แต่อาจมีเงื่อนไขในเรื่องการนำเงินเข้าออกประเทศบ้าง

    • มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่จะเข้าไปลงทุนในเรื่องของระบบเทคโนโลยีในเมียนมาร์
    • เมียนมาร์เป็นประเทศที่ยังคงด้อยในเรื่องของการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับพวกเทคโนโลยี การที่ธุรกิจดังกล่าวจะเข้าไปลงทุนนั้น ถือเป็นโอกาสที่เหมาะมากในช่วงสองปีนี้  สิ่งสำคัญที่จะนำพาธุรกิจเข้าไปในเมียนมาร์ได้นั้น คือการสร้าง Connection กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งของไทยและของเมียนมาร์ที่เกี่ยวข้องในสายงานธุรกิจนี้ นอกเหนือจากเมียนมาร์แล้ว ยังมีประเทศกัมพูชา และสปป.ลาว ที่ธุรกิจประเภทเทคโนโลยีต่างๆ ยังมีโอกาสในการเข้าไปลงทุน 

    • เรื่องของข้อมูลทางด้านภาษี ข้อจำกัดต่างๆ ในการเข้าไปลงทุน และสิ่งที่ควรรู้ในการทำธุรกิจในเมียนมาร์เกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวกับ PVC
    • ธุรกิจ PVC เป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากเพราะระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมียนมาร์ยังไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะระบบน้ำประปาซึ่งท่อ PVC เป็นอุปกรหลักที่สำคัญ การเข้าไปทำธุรกิจใน   เมียนมาร์แนะนำให้ไปในรูปแบบของการค้าเชิงพัฒนาร่วมกับทางรัฐบาลเมียนมาร์ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหากเข้าร่วมกับทางการได้จะสะดวกในการดำเนินธุรกิจ  ส่วนสิ่งที่ควรรู้และควรมี คือ เรื่องของการสร้าง Connection ในสายงานธุรกิจซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และในเรื่องของธรรมเนียมการปฏิบัติในการทำธุรกิจเมื่อติดต่อกับหน่วยงานราชการหรือผู้ใหญ่ในเมียนมาร์ 

    • ต้องการทราบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่ม เทคนิค กลยุทธ์ในการเจาะตลาด และต้องการ Connection ในการทำธุรกิจ
    • ทัศนคติของคนเมียนมาร์ที่มีต่อสินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าบริโภคถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมากเพราะสินค้าไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ถึงแม้ว่าจะมีราคาที่สูงเมื่อเทียบกับสินค้าที่มาจากประเทศจีน แต่สินค้าไทยก็ยังเป็นหนึ่งในใจคนเมียนมาร์เสมอมา คนเมียนมาร์มีนิสัยที่ติดแบรนด์มากหากได้ความนิยมหรือเป็นที่ชื่นชอบแล้วจะไม่ค่อยเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าของแบรนด์อื่น สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเป็นหนึ่งในสินค้าที่มียอดขายดีในตลาดเมียนมาร์ แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรใช้การกระจายสินค้าตามตลาดชายแดนก่อน หากผลประกอบการดี สินค้าติดตลาดค่อยเข้าไปลงทุนในขั้นต่อๆ ไป

      ส่วนการทำให้สินค้าติดตลาดนั้นผู้ประกอบการควรที่จะมีโปรโมชั่น “ลด แลก แจก แถม” เพื่อกระตุ้นความน่าสนใจให้แก่ตัวสินค้า (คนเมียนมาร์ชอบมากโดยเฉพาะโปรโมชั่นแจกทอง) นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องประชาสัมพันธ์ตัวสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นที่รู้จักเร็วขึ้น

      สิ่งที่ต้องระวังในการทำธุรกิจในเมียนมาร์ คือ การลอกเลียนแบบสินค้า ผู้ประกอบการควรจดลิขสิทธิ์ไว้จะได้ไม่มีปัญหาในตอนที่สินค้าติดตลาด และควรที่จะขอหน่วยงานด้านอาหารและยา จากประเทศที่ท่านส่งสินค้าไปด้วย 

    • ตลาดสินค้าเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องปรับอากาศ แบตเตอร์รี่ เครื่องจักร เหล่านี้ มีความต้องการมากน้อยเพียงใด มีช่องทางและโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ได้หรือไม่ และหากต้องการเข้าไปตั้งบริษัทต้องทำอย่างไร
    • เมียนมาร์ ณ ปัจจุบันค่อนค้างเอื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนสังเกตได้จากการแก้กฎหมายฉบับใหม่ที่ออกมา  รวมถึงการจัดทั้งโซนเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ อาทิเช่นที่ ผาอัน ติลาวา และทวาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนของไทย แต่อย่างไรก็ตาม การที่เมียนมาร์ปิดประเทศมานานทำให้ระบบการจัดการเรื่องสาธารณูปโภคจำพวกน้ำ ไฟ ไม่ดีมากนัก ส่วนในเรื่องความต้องการของสินค้านั้น  อันเนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศทำให้คนเมียนมาร์กล้าที่จะใช้จับจ่ายใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ตนเองมากขึ้น และการเปิดประเทศที่ทำให้การลงทุนในเมียนมาร์เพิ่มมาก จึงทำให้สินค้าจำพวกดังกล่าวยังคงมีความต้องการอยู่มาก

      สำหรับการเข้าตั้งโรงงานการผลิตสินค้าที่เมียนมาร์นั้นมีต้นทุนสูงมาก ควรตั้งโรงงานผลิตที่ไทยตามชายแดนที่มีวัตถุดิบในการผลิตเข้าถึง เพื่อลดทนทุนในการผลิตสินค้า แล้วหาตัวแทนขายสินค้าในเมียนมาร์เพื่อกระจายสินค้าเข้าไปจำหน่าย โดยเน้นไปที่เมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เพราะเป็นเมืองที่มีกำลังซื้อ

    • การนำเข้าอุปกรณ์เครื่องเขียนจากไทยเพื่อจำหน่ายในเมียนมาร์ จะต้องเริ่มจากไหน ขนส่งอย่างไร และกำลังซื้อของคนเมียนมาร์มีหรือไม่มากน้องเพียงใด
    • ตลาดประเภทอุปกรณ์เครื่องเขียนในเมียนมาร์นั้นยังมีการใช้ปกติ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดเป็นสินค้าที่รัฐบาลเมียนมาร์ผลิตขึ้นซึ่งคุณภาพก็ไม่ดีเมื่อเทียบกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย ส่วนกำลังซื้อของคนเมียนมาร์ยังมีอยู่มากโดยเฉพาะที่เมืองย่างกุ้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรสำรวจตลาดจริงเพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและสถานการณ์ในปัจจุบัน แล้วค่อยตัดสินใจในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้การเข้าไปลงทุนควรร่วมทุนกับนักลงทุนเมียนมาร์เพื่อลดปัญหาต่างๆ ทั้งในเรื่องของกฎหมายและการได้รับสิทธิประโยชน์ ส่วนเรื่องข้อมูลในเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับสถาบันสื่อสิงพิมพ์ต่างๆ ควรติดต่อขอข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้งและศึกษาข้อมูลทั่วไปและกฎระเบียบการลงทุนได้ที่ศูนย์ข้อมูลการลงทุนไทยในต่างประเทศ www.toi.boi.go.th

    • อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างในเมียนมาร์ เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโครงการต่างๆ
    • เมียนมาร์ได้มีการร่วมลงทุนกับต่างชาติในการสร้างตึกอยู่หลายๆ โครงการ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเข้าไปควรจะไปติดต่อกับผู้รับเหมาหรือบริษัทก่อสร้างของเมียนมาร์โดยตรง โดยสามารถควรติดต่อขอข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงย่างกุ้ง เพราะจะมีฐานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจนี้  

    • ขอความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวในประเทศเพื่อนบ้าน และคำแนะนำในการเข้าไปลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตร (ข้าว) ในเมียนมาร์
    • ผู้ผลิตข้าวที่สำคัญของโลกในปัจจุบัน ได้แก่ เวียดนาม ไทย และอินเดีย สำหรับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ได้เเก่ กัมพูชา เมียนมาร์ โดยเฉพาะเมียนมาร์ในอนาคตอาจจะขึ้นเป็นผู้ผลิตข้าวมากที่สุดในอาเซียนได้ เนื่องจากมีปัจจัยทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการปลูกข้าว เช่น มีทรัพยากรทางน้ำที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้รัฐบาลเมียนมาร์เองได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยี วิธีการปลูก พัฒนาพันธุ์ข้าว และยังมีการส่งเสริมและให้การสนับสนุนสำหรับนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรใน การที่จะเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ รัฐบาลเมียนมาร์ให้การสนับสนุนแน่นอน แต่รูปแบบในการจะเข้าไปลงทุนควรจะไปกับหน่วยงานที่ส่งเสริมการลงทุนของไทย เช่น BOI เพราะจะเป็นไปในรูปแบบการเข้าไปลงทุนที่เป็นกิจจะลักษณะ โปร่งใส ลักษณะของการเข้าไปตั้งบริษัทอาจจะเข้าไปในรูปแบบของบริษัทรับซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริษัทรับสีข้าว แล้วให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวเพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่คนในประเทศ ส่วนเรื่องพื้นที่ในการตั้งบริษัทแนะนำให้ตั้งนอกเขตย่างกุ้ง บริเวณที่ราบลุ่มอิระวดี เพราะบริเวณนั้นเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของเมียนมาร์หรือจะตั้งในนิคมอุตสาหกรรมก็ได้ เพราะจะได้รับสิทธิประโยชน์และลดความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ และอีกธุรกิจที่น่าสนใจคือการลงทุนเกี่ยวกับโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบข้าว ทั้งนี้เพราะในเมียนมาร์ยังขาดแคลนไฟฟ้าอีกจำนวนมาก กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของคนในประเทศ  

    • มีความประสงค์ที่จะส่งผลิตภัณฑ์ยาไทยไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับตลาดยาสมุนไพรในเมียนมาร์ เเละมีวิธีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับจากตลาด
    • การที่จะส่งสินค้าประเภทนี้ไปเมียนมาร์นั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ แนะนำให้ใช้รูปแบบการส่งออกผ่านการค้าชาแดน เนื่องจากการค้าที่แม่สอดจะมีพ่อค้าที่เป็นคนไทยที่ค่อนข้างกว้าวขวางนำเข้าสินค้าต่างๆ ของไทยส่งเข้าไปขายในเมียนมาร์จำนวนมาก ให้ลองเข้าไปติดต่อตัวแทนจำหน่ายเหล่านี้ก่อน โดยเข้าไปในรูปแบบฝากขายเพื่อลดขั้นตอนต่างๆในการขออนุญาต เมื่อสินค้าเราเป็นที่รู้จักในตลาดเมียนมาร์แล้วค่อยเข้าไปตั้งสำนักงานในเมืองใหญ่หรือค่อยติดต่อกับหน่วยงานของไทยเพื่อดำเนินการก่อตั้งบริษัทต่อไป เพราะถ้าสินค้าติดตลาดแล้ว ขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ มักจะง่ายขึ้น สำหรับตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ที่แม่สอดมีหลายที่ได้ทำการจดทะเบียนในย่างกุ้งอย่างถูกต้อง และอีกช่องทางที่ช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จักได้มากขึ้นได้แก่

      1)    บริจาคยาให้กับหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือในด้านสาธารณสุขเมียนมาร์

      2)    เข้าร่วมกิจกรรมการออกบูธงานแสดงสินค้าในเมียนมาร์ในโอกาสต่างๆ

      3)    สมัครเป็นสมาชิกหอการค้าจังหวัดที่อยู่ติดกับชายแดนเมียนมาร์เพื่อขอรับข้อมูลต่างๆ

    • ต้องการที่จะไปเปิดบริการสปาในเมียนมาร์เเต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของข้อกฎหมายกฎระเบียบ เเละความต้องการของตลาดสปาในเมียนมาร์
    • สำหรับธุรกิจสปาในเมียนมาร์สามารถที่จะทำได้เพราะกลุ่มลูกค้าไม่ได้มีแต่คนพื้นถิ่น  แต่เป็นนักลงทุน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ คนเมียนมาร์ในปัจจุบันมีความชื่นชอบและนิยมนวดแบบสปามากขึ้น ยิ่งคนที่มีกำลังซื้อสูงถึงกับต้องบินมาใช้บริการที่ไทยเลยก็มี ดังนั้นการไปลงทุนธุรกิจประเภทนี้ถือว่ามีโอกาส สำหรับรูปแบบที่จะเข้าไปตั้งกิจการสามารถเปิดเป็นร้านหรือเข้าไปในรูปเเบบการเปิดโรงเรียนสอนนวดไทย สอนให้กับคนเมียนมาร์ ซึ่งจะเป็นสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ ทางรัฐบาลเมียนมาร์ก็พร้อมสนับสนุน สามารถลงทุนได้ 100%   

    • บริษัทต้องการนำรถมือสองไปขายในเมียนมาร์ สามารถทำได้หรือไม่ ตลาดรถมือสองในเมียนมาร์เป็นอย่างไร
    • รถที่ใช้ในเมียนมาร์สามารถใช้ได้ทั้งพวงมาลัยซ้ายและพวงมาลัยขวา เนื่องในอดีตรถที่ใช้เป็นรถที่ค่อนข้างเก่า แต่ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้คนเมียนมาร์ใช้รถที่ดีขึ้นกว่าอดีต รถที่ใช้ในเมียนมาร์นั้นจะเป็นรถมือสองจากญี่ปุ่น โดยนำเข้าทางท่าเรือแหลมฉบังออกส่งออกผ่านทางแม่สอดและเข้าทางเมียวดี ดังนั้นรถที่นำเข้าจากญี่ปุ่นจึงมีราคาถูกกว่ารถของไทยกว่าครึ่ง

      การที่จะเข้าไปทำตลาดในเมียนมาร์จึงเป็นไปได้ยาก ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาวมีกฎห้ามนำเข้ารถมือสอง เวียดนามก็ขับพวงมาลัยซ้าย ผู้เชียวชาญแนะนำให้ขายในประเทศไทยดีกว่า

    • ต้องการทราบถึงช่องทางเเละโอกาสที่ในธุรกิจน้ำเเข็งเเห้งในเมียนมาร์ และมีธุรกิจอะไรบ้างที่น่าสนใจ
    • เมืองเศรษฐกิจในเมียนมาร์มีอยู่ 2 เมืองคือ เมืองมัณฑะเลย์เเละย่างกุ้ง ย่างกุ้งคือเมืองเศรษฐกิจที่ประเทศไทยเป็นผู้ครองตลาดการนำเข้าสินค้า ส่วนมัณฑะเลย์จะเป็นสินค้าจากจีน

      สำหรับธุรกิจน้ำเเข็งเเห้งเป็นธุรกิจเฉพาะกลุ่ม การเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์นั้นต้องอาศัยหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ สำหรับตลาดของน้ำเเข็งเเห้ง คือ อุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งมีอยู่หลายเมืองในเมียนมาร์ แนะนำให้พบกับสมาคมประมง หอการค้าของเมียนมาร์ ในเมืองที่มีอุตสาหกรรมอาหารทะเลตั้งอยู่ และให้เข้าไปพบสำนักงานส่งเสริมการค้า เพื่อขอคำแนะนำในส่วนเรื่องของกฎระเบียบและข้อบังคับของการลงทุนในเมืองต่างๆ สำหรับธุรกิจที่น่าสนใจเเละมีโอกาสได้แก่ธุรกิจนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจอาหารทะเลเเช่เเข็งเเละระบบโลจิสติกส์

    • ธุรกิจต้นกล้าไม้ มีโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนหรือไม่
    • การเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นโอกาสที่ดีทั้งตัวของผู้ลงทุนเองและประเทศที่ไปลงทุนคือเปรียบเสมือนเราไปสร้างป่าสร้างความอุดมสมบูรณ์และสร้างงานให้แก่คนภายในประเทศ ทั้งนี้รูปแบบการลงทุนแนะนำให้เข้าร่วมกับภาครัฐบาลโดยขอความช่วยเหลือจากกระทรวงพาณิชย์ หรือ MIC ของเมียนมาร์ ในการเป็นผู้ประสานงานเชื่อมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ 

    • ขอคำแนะนำการลงทุนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
    • ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจ เพราะปัจจุบันเมียนมาร์มีไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อคามต้องการภายในประเทศจึงทำให้เกิดไฟฟ้าดับอยู่บ่อยครั้งในหลายๆ พื้นที่ การเข้าไปลงทุนผู้แนะนำให้เข้าไปในรูปแบบของที่ปรึกษา แล้วส่งชิ้นส่วนเข้าไปทางชายแดนแม่สอด

      สำหรับเอกสารให้ใช้ฟอร์ม D เป็นเอกสารประกอบการส่งออกไปเมียนมาร์เพื่อรับสิทธิพิเศษ (แต่ต้องเป็นสินค้าที่มาจากไทยร้อยละ 40 ขึ้นไป) ช่วงแรกไม่แนะนำให้เข้าไปตั้งบริษัทเลย เนื่องจากค่าเช่าที่ดินมีราคาสูงมากจะเป็นการเพิ่มต้นทุนของสินค้า หากต้องการจัดทั้งบริษัทควรร่วมทุนกับชาวเมียนมาร์เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ของการประกอบธุรกิจ 

    • สถานการณ์ตลาดอุตสาหกรรมเหล็ก ขั้นตอนการเข้าไปลงทุนรวมถึงเรื่องระบบโลจิสติกส์ในเมียนมาร์
    • เมียนมาร์ในปัจจุบันเป็นประเทศที่กำลังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อรองรับการลงทุนที่มากขึ้น ฉะนั้นแล้วอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอุปกรณ์ก่อสร้างจึงเป็นที่ต้องการ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ประกอบการเข้าไปลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเมียวดี เพราะเป็นนิคมที่ไม่มีปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้า และเข้าไปหาตัวแทนขายในเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง เมื่อเกิดการสั่งซื้อให้นำเข้าสินค้าโดยใช้การขนส่งทางรถเท่านั้น ทั้งนี้แนะนำให้ติดต่อกับทางกระทรวงพาณิชย์ หรือ MIC ของเมียนมาร์เพื่อขอทราบสิทธิพิเศษของนักลงทุนรายละเอียดขั้นตอนและข้อกฎหมายในการเข้าไปลงทุนในประเทศเมียนมาร์เพิ่มเติม 

  • เวียดนาม (Vietnam)
    • การไปทำธุรกิจหรือลงทุนในเวียดนาม ควรจดทะเบียนบริษัทเลยหรือไม่?
    • ก่อนไปทำธุรกิจหรือตั้งโรงงานในเวียดนาม ควรเปิดเป็นสำนักงานตัวแทน (representative office) ก่อน ซึ่งสำนักงานตัวแทนนี้จะรับเงินไม่ได้ ห้ามซื้อขาย ห้ามมี stock สินค้า แต่จ่ายเงินได้ โดยให้สำนักงานตัวแทนสำรวจตลาดและทำตลาด หากลูกค้าสนใจให้สั่งซื้อจากบริษัทที่เมืองไทย และถ้ามีความเป็นไปได้ค่อยจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
    • การจดทะเบียนประกอบธุรกิจในเวียดนามจดล่วงหน้าหลายอย่างได้หรือไม่?
    • การจดทะเบียนประกอบธุรกิจ จะจดครอบคลุมธุรกิจหลายประเภทไม่ได้ แต่ต้องระบุว่าจะทำธุรกิจการค้า การลงทุนอะไรทีละชนิตตามที่ทำจริง ถ้าต้องการเพิ่มรายการธุรกิจก็สามารถจดเพิ่มได้ภายหลังทันที แต่จะจดไว้ก่อนแล้วไม่ทำไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อสร้างโรงแรม แล้วใช้ชื่อบริษัทซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงแรมภายหลังที่ดินขึ้นราคา จึงจะไม่สร้างโรงแรมแต่จะขายที่ดินแทน จะไม่สามารถทำได้เพราะผิดกฎหมาย อาจถูกยึดที่และถูกดำเินินคดีได้
    • การไปจดทะเบียนบริษัทในเวียดนามทำเองได้หรือไม่?
    • ควรจ้างมืออาชีพให้ดำเนินการให้ เพราะกฎระเบียบของเวียดนามเปลี่ยนแปลงบ่อย การจ้างมืออาชีพจะสะดวกกว่า และไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง ถ้าดำเนินการเองอาจจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า
    • ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก และต้องการไปลงทุนในเวียดนามสามารถลงทุนเอง 100% เลยได้หรือไม่?
    • รูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กควรเป็นรูปแบบร่วมทุน และควรเชี่ยวชาญในธุรกิจที่จะทำ ถ้ารู้ภาษาเวียดนามด้วยจะได้เปรียบ
    • ในเวียดนามควรลงทุนในหรือนอกนิคมอุตสาหกรรมดี?
    • ควรลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพราะ 1. สาธารณูปโภคดีกว่า โดยเฉพาะน้ำประปาและไฟฟ้า ในช่วงปี 2550 และปี 2551 ไฟฟ้าดับวันละหลายครั้ง ครั้งละ1 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ไฟฟ้าดับเป็นเขต โดยไม่บอกล่วงหน้าเฉลี่ยเขตละ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นบริษัทที่ไปลงทุน ต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าของตนเอง 2. ถ้าอยู่นอกนิคมและไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีจะมีโทษรุนแรงมาก เคยมีกรณีศึกษาของบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ ทำให้เรือต้องทาสีเรือบ่อยครั้งเพราะเปื้อนคราบสกปรกจากน้ำเสีย บริษัทจึงถูกฟ้องและถูกตัดสินให้แพ้คดี บริษัทถูกปรับเป็นเงินจำนวนมากโดยค่าปรับคำนวณจากมูลค่าผลผลิตของบริษัทย้อนหลัง 20 ปี พร้อมดอกเบี้ย นอกจากนี้คนเวียดนามยังต่อต้านไม่ใช้สินค้าของบริษัทนี้อีกด้วย
    • การจ้างแรงงานผู้หญิงในเวียดนาม มักมีปัญหาเรื่องการหยุดงานเป็นเวลานานและการจ่ายค่าชดเชยจริงหรือไม่?
    • การจ้างแรงงานหญิงและชาย ต้องให้สมดุลกับงานที่ทำ เพราะแรงงานหญิงขยัน อดทนและความสามารถมากกว่าแรงงานชาย แต่มีปัญหาเรื่องการลาคลอด โดยกฎหมายเวียดนามอนุญาตให้แรงงานหญิงสามารถลาคลอดได้ 6 เดือน ซึ่งเริ่มในปี 2556 (ก่อนหน้านี้ลาได้ 4 เดือน) โดยผู้จ้างจะจ่ายค่าชดเชข 4 เดือนและรัฐจ่าย 2 เดือน
    • การไปเริ่มต้นทำธุรกิจในเวียดนาม ควรทำอย่างไร?
    • การทำธุรกิจในเวียดนาม ต้องไปสำรวจตลาดด้วยตนเอง หรือมีเจ้าหน้าไปประจำอยู่ที่เวียดนามสักระยะหนึ่งและสำรวจตลาดทุกวันจนรู้ภาวะตลาดสินค้าของตนเองและแน่ใจว่าสินค้าของเราสามารถขายได้ เพราะตลาดที่เวียดนามเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว แล้วจึงไปจัดตั้งบริษัทหรือลงทุน
    • แรงงานไทยที่เข้าไปทำงานในเวียดนามต้องเสียภาษีที่เวียดนามหรือไม่?
    • แรงงานทุกคนที่ทำงานในเวียดนามมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้รัฐตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไม่ว่าจะเป็นคนเวียดนามหรือคนต่างชาติ
    • ธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าไปลงทุนในเวียดนาม?
    • การลงทุนในเวียดนามมีโอกาสในหลายธุรกิจ เช่น 1. ธุรกิจที่ผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาดเวียดนาม เพราะเวียดนามเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรถึง 88.7 ล้านคน 2. ธุรกิจที่ต้องการใช้วัตถุดิบในประเทศเวียดนาม เพราะมีราคาถูกกว่าไทย 3.ธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เพราะค่าแรงของเวียดนามถูกกว่าไทย
    • ขอให้ช่วยแนะนำสำนักงานกฎหมายที่เวียดนาม?
    • สำนักงานกฎหมายและบัญชีในเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ ค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าเป็นบริษัทใหญ่จึงจะคุ้ม ที่ผู้เชียวชาญเคยใช้บริการคือ บริษัท Pricewaterhouse Cooper, Tilleke Gibbins, M&H Law firm, M&H Auditing firm อย่างไรก็ตามถ้าจะใช้นักกฎหมายท้องถิ่นต้องสอบถามดีๆหรืออาจให้สมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนามแนะนำก็ได้
    • การนำเงินเข้าออกจากเวียดนาม สามารถทำได้โดยเสรีหรือไม่?
    • เวียนามมีมาตรการควบคุมเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาในประเทศหรือนำออกนอกประเทศโดยกำหนดให้บุคคลสามารถนำเงินตราต่างประเทศมูลค่าไม่เกิน 5,000 ดอลลาร์ สรอ. เข้ามาในเวียดนามหรือออกจากเวียดนามได้โดยไม่ต้องรายงานให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2555 จากเดิมอนุญาตให้นำเข้าหรือออกได้ไม่เกิน 7,000 ดอลลาร์ สรอ. แต่หากต้องการนำเงินเข้าหรือออกจากจำนวนเงินที่กล่าวข้างต้นต้องได้รับอนุญาตจากทางการเวียดนามก่อน โดยต้องสามารถชี้แจงวัตถุประสงค์และแหล่งที่มาของเงินได้ เนื่องจากทางการเวียดนามต้องการป้องกันปัญหาการฟอกเงิน และเพื่อคงปริมาณดอลลาร์ สรอ. ไว้ในระบบมากขึ้น สำหรับการส่งเงินทุนและผลกำไรกลับไปยังประเทศของผู้ลงทุนสามารถทำได้โดยเสรี
    • สามารถนำพนังงานคนไทยเข้าไปทำงานที่เวียดนามได้หรือไม่?
    • ได้ แต่ต้องเป็นแรงงานที่มีความชำนาญ โดยต้องระบุว่ามีความชำนาญด้านไหนและต้องมีใบอนุญาตทำงานด้วย ถ้าแรงงานไม่มีฝีมือรัฐบาลเวียดนามไม่อนุญาตให้เข้าไปทำงานในเวียดนาม
    • ถ้าต้องการไปลงทุนเวียดนาม ควรติดต่อหรือขอความช่วยเหลืือจากบุคคลใดในเวียดนาม?
    • ควรติดต่อหรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือบุคคลต่อไปนี้ 1. เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย 2. อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงฮานอย 3. สมาคมธุรกิจไทยในเวียดนาม 4. ธนาคารไทยที่ดำเินินการในเวียดนาม
    • ต้องการไปลงทุนผลิตเครื่องประดับที่ต้องใช้แรงงานที่มีความปราณีตในเวียดนาม ควรไปลงทุนในพื้นที่ใด?
    • ถ้าต้องการลงทุนในกิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้นและเป็นแรงงานฝีมือ ควรลงทุนในพื้นที่รอบๆโฮจิมินห์ (Ho Chi Minh) เช่น บินเดือง (Binh Doung) ลองอัน (Long An) เป็นต้น
    • ต้องการทราบถึงช่องทางการตลาดเกี่ยวกับยาสมุนไพรจีนและอาหารเสริมที่เวียดนาม
    • เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จะมีถนนสายหลักที่ค้าขายด้านยาสมุนไพรจีน ซึ่งช่องทางการจำหน่ายยาสมุนไพรจีนในเวียดนาม เป็นช่องทางแบบโบราณ กล่าวคือ สินค้าจะมาจากคนจีน แล้วกระจายขายส่ง ซึ่งจะมีผู้ค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย โดยจะเป็นระบบการแลกเปลี่ยนสินค้ากัน ดังนั้น การจะเข้าไปทำธุรกิจยาสมุนไพรจีนในเวียดนาม ควรเข้าหากลุ่มผู้ค้ารายใหญ่ยาสมุนไพรจีนในเวียดนามเป็นอันดับแรก ในขณะที่ช่องทางการจำหน่ายยาแผนปัจจุบันจะเป็นการจำหน่ายสินค้าผ่านร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำร้าน ยาส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากฝรั่งเศส บริษัทนำเข้าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ทั้งนี้การแข่งขันด้านการโฆษณาจะเข้มข้นมากในถนนสายยาสมุนไพรจีนแห่งนี้ ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทขายตรงในเวียดนาม ส่วนใหญ่จะถูกปิดตัวไปเนื่องจากดำเนินการโดยผิดกฎหมาย มีเพียงบริษัทแอมเวย์เพียงบริษัทเดียวที่ถูกกฎหมาย ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการในการพิจารณาการขึ้นทะเบียนอาหารและยาที่เวียดนามมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน 

    • ช่องทางการเข้าถึงตลาดของเวียดนามมีอะไรบ้าง วัฒนธรรมของคนเวียดนาม อาทิเช่น ภาษาที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจ อุปนิสัย และวัฒนาธรรมด้านของฝากเป็นอย่างไร
    • สำหรับวิธีการเข้าถึงช่องทางการตลาดดังกล่าวข้างต้น มี 3  วิธี ดังนี้

      1)    สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ ซึ่งนักลงทุนสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ หากมีปัญหา เนื่องจากจะมีนักกฎหมายประจำอยู่ที่สถานกงสุลคอยให้คำปรึกษาแนะนำ โดยไม่คิดค่าบริการ

      2)    สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโฮจิมินห์ และฮานอยซึ่งจะคอยอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลต่างๆ ให้นักลงทุน

      3)    สมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม ถือเป็นใบเบิกทางในการเข้าพบนักลงทุนในเวียดนาม ซึ่งผู้จัดการสมาคมจะคอยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้จะเข้าพบและวิธีการเข้าพบต่างๆ เป็นต้น

                นอกจากทั้ง 3 วิธีข้างต้นแล้ว นักลงทุนยังสามารถติดต่อผ่านธนาคารไทยในเวียดนาม ซึ่งได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นธนาคารที่ร่วมทุนกับ CP ในด้านของวัฒนธรรมของคนเวียดนาม การติดต่อธุรกิจกับชาวเวียดนามนิยมใช้ล่ามชาวเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่นิยมใช้ภาษาอังกฤษ อุปนิสัยของชาวเวียดนามจะค่อนข้างให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอก การแต่งตัวดี การใช้ของราคาแพง เป็นต้น ซึ่งชาวเวียดนามค่อนข้างยอมรับวัฒนธรรมไทยได้ หากต้องการซื้อของฝากให้ชาวเวียดนาม ควรพิจาณาถึงระดับตำแหน่งของคนรับ

    • ต้องการทราบถึงวิธีการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม และแนวทางการเจาะตลาดในเวียดนาม คู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของธุรกิจทำความสะอาดท่อ Condenser
    • ประเทศเวียดนามมีการลงทุนด้านธุรกิจห้องเย็นเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากโรงงานมีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจำนวนมาก แต่เครื่องจักรของเวียดนามไม่ค่อยทันสมัย ดังนั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเลือกนำเข้าเครื่องจักรจากไทย เพราะมีคุณภาพทันสมัย และมีบริการหลังการขายที่ดี จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปดำเนินธุรกิจระบบทำความสะอาดท่อ Condenser ของเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ เพราะธุรกิจห้องเย็นในเวียดนามกำลังขยายตัว ซึ่งแนวทางในการเข้าสู่ตลาดเวียดนามอาจเป็นการออกบูทตามงานแสดงสินค้า ติดต่อบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายที่ขายสินค้าให้กับชาวเวียดนามอยู่แล้ว หรือการเข้าไปดำเนินกิจการในลักษณะของการเป็นผู้รับเหมา เป็นต้น สำหรับวิธีการเข้าไปลงทุน แนะนำว่า ควรตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ ก่อนเข้าไปลงทุนทำธุรกิจในเวียดนาม นักลงทุนควรเดินทางไปทำความคุ้นเคยกับประเทศเวียดนามเสียก่อน โดยติดต่อกับสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม ส่วนด้านการสื่อสารควรใช้ล่ามเวียดนามจะดีที่สุด

    • อยากทราบถึงข้อจำกัดในการตั้งสำนักงานกฎหมายในเวียดนาม และต้องการทราบถึงต้นทุนค่าจ้างแรงงาน อัตราภาษีนิติบุคคล การเมือง การนำเงินออกนอกประเทศ การออกใบกำกับภาษี ระบบอินเตอร์เน็ต และธนาคารในเวียดนาม รวมถึงต้องการทราบเมืองที่น่าลงทุนด้านที่ปรึกษากฎหมาย
    • การขอใบอนุญาตในการจัดตั้งสำนักงานในเวียดนามค่อนข้างเปิดกว้าง ขั้นตอนเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดประเทศเวียดนามกำหนดค่าจ้างแรงงานไร้ฝีมือไว้ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือน กฎหมายเวียดนามใช้หน่วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเกณฑ์ เนื่องจากค่าเงินดองของเวียดนามมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก สำหรับอัตราภาษีนิติบุคคล เวียดนามกำลังปรับอัตราภาษีให้เป็นไปตามข้อตกลงของAEC อย่างไรก็ตามกฎหมายของเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย นักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง

      ส่วนระบบการเมืองของเวียดนาม เป็นแบบพรรคการเมืองเดียว ไม่มีฝ่ายค้าน ในด้านการนำเงินออกนอกประเทศ นักลงทุนต่างชาติสามารถนำกำไรออกนอกประเทศได้ 100% การออกใบกำกับภาษี บริษัทสามารถออกเองได้ แต่ต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น หากเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดกลางต้องใช้บริการของ Notary Public

      ด้านระบบอินเตอร์เน็ตในเวียดนาม ค่อนข้างดีและมีกระจายทั่วถึงในทุกพื้นที่ ตามร้านกาแฟจะมีให้บริการ Wi-Fi ฟรีทุกร้าน หากนักลงทุนต้องการที่จะขอกู้เงินจากธนาคารในเวียดนาม แนะนำธนาคารใหญ่ 3 ธนาคาร ได้แก่ Agribank, Vietcombank และ BIDV Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐบาลเวียดนาม สำหรับเมืองที่น่าลงทุนด้านที่ปรึกษากฎหมาย คือ เมืองฮานอย และโฮจิมินห์

    • โอกาสที่จะเข้าไปทำธุรกิจปุ๋ยที่ประเทศเวียดนามมีแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้าง
    • เกษตรกรเวียดนามส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกรรายย่อย ไม่ต้องการใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก เกษตรกรนิยมซื้อปุ๋ยเป็นวันต่อวัน ไม่เน้นซื้อปริมาณมาก ดังนั้น แนะนำให้นักลงทุนเข้าไปสำรวจร้านขายวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในประเทศเวียดนามว่ามีการจำหน่ายอะไรบ้าง ลักษณะสินค้าเป็นอย่างไร ราคาอยู่ในระดับใด เป็นต้น ซึ่งร้านขายวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีเป็นจำนวนมากส่วนช่องทางการกระจายสินค้าก็มีจำนวนมากเช่นกัน ทั้งนี้ การนำปุ๋ยเข้าไปจำหน่ายที่เวียดนาม ต้องขออนุญาตก่อน ซึ่งกระบวนการขึ้นทะเบียนปุ๋ยค่อนข้างเข้มงวด สำหรับการตั้งโรงงานผลิตในเวียดนาม สามารถทำได้ และสามารถผลิตเป็นจำนวนมากเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าปริมาณที่ทางการเวียดนามกำหนดไว้ 

    • โอกาสในการส่งสินค้าอาหารทะเลบรรจุแช่แข็งพร้อมรับประทานไปจำหน่ายที่เวียดนามเป็นอย่างไรบ้าง
    • ปัจจุบัน เวียดนามมีธุรกิจห้องเย็นและอาหารแช่แข็งเป็นจำนวนมาก แต่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก ไม่นิยมบริโภคภายในประเทศ ดังนั้น สำหรับสินค้าอาหารทะเลบรรจุแช่แข็งพร้อมรับประทานจึงมีโอกาสเติบโตน้อยในเวียดนาม เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่จะนำของสดมาตากแห้งเก็บไว้รับประทานเอง ส่วนรสชาติอาหารนั้น ชาวเวียดนามจะไม่นิยมรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด ดังนั้น จึงไม่เหมาะที่จะส่งออกอาหารแห้งสำเร็จรูปพร้อมรับประทานไปที่เวียดนาม อย่างไรก็ตาม หากเป็นสินค้าประเภทอาหารแห้งกึ่งสำเร็จรูปพร้อมรับประทานอาจจะมีโอกาสขายได้ในเวียดนาม แต่สินค้าต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากคนอื่นจะเป็นข้อได้เปรียบ ฉะนั้น ผู้ประกอบการควรหาจุดเด่นของสินค้า และควรเข้าไปศึกษารสชาติอาหารที่ชาวเวียดนามชอบรับประทาน 

    • ต้องการทราบถึงลักษณะการทำธุรกิจของผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจในเวียดนาม ระบบโลจิสติกส์ในเวียดนาม และสถานการณ์ของอุตสาหกรรมพลาสติกเวียดนามในปัจจุบัน รวมถึงรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมด้านพลาสติก
    • การทำธุรกิจในเวียดนามนิยมเงินสด ไม่นิยมเงินเชื่อ ส่วนระบบโลจิสติกส์ในเวียดนาม มีการพัฒนาถนนดีขึ้น แต่ยังมีการจำกัดความเร็วเพราะรถขนาดเล็กและรถขนาดใหญ่วิ่งรวมกัน แต่ถือว่าเป็นเป็นปัญหาชั่วคราว เพราะบางพื้นที่ที่ถนนมีความกว้างมากความเร็วก็เพิ่มตาม สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกในเวียดนามมีน้อยราย โดยไต้หวันจะเป็นผู้ครองตลาดพลาสติกในเวียดนาม ซึ่งการเข้าไปลงทุนควรลงทุนเอง 100% อย่างไรก็ตาม ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ของธุรกิจตัวเองให้ดีเสียก่อน ซึ่งในระยะแรกยังไม่ต้องตั้งโรงงานผลิต แต่ควรมีสำนักงานตัวแทนอยู่ที่เวียดนามเพื่อหาลูกค้า โดยระยะแรกควรศึกษาตลาดแล้วส่งสินค้าเข้าไปขายก่อน และควรทำการขายผ่านเทรดเดอร์ของเวียดนาม ให้เทรดเดอร์เวียดนามเป็นผู้สต็อกสินค้า เนื่องจากการเปิดสำนักงานตัวแทนจะขายสินค้าเองไม่ได้ ทำได้แค่การตลาดเท่านั้น ถ้าจะขายสินค้าเองได้ ต้องตั้งโรงงานผลิต

    • ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ Ballast & Transformer ในเวียดนาม เช่น ผู้ค้า ลักษณะการค้า มาตรฐานสินค้า ค่าธรรมเนียมในการจดลิขสิทธิ์ และขอคำแนะนำในการเข้าไปทำธุรกิจประเภทนี้ในเวียดนาม
    • ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าในเวียดนามจะขายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่เป็นรายใหญ่ที่ขายสินค้าหลายประเภท ซึ่งผู้ผลิตสามารถขายสินค้าพ่วงไปกับสินค้าอื่นๆ ได้ กล่าวคือ ให้ตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้กระจายสินค้าให้ ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโดยจะซื้อเป็นชุด ไม่ซื้อแยกชิ้น และนิยมซื้อขายกันด้วยเงินสด สินค้าประเภทนี้มีทั้งสินค้าที่นำเข้าจากจีน และผลิตเองในประเทศ ซึ่งที่เวียดนามมีการผลิตหลอดไฟที่มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ การตลาดจึงไม่ง้อคนซื้อ/คนขาย ปัจจุบันเวียดนามเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าประเภทนี้แล้ว โดยปรับจากมาตรฐานสากลประเทศต่างๆ สำหรับสินค้าไทยที่จะนำไปขาย ถ้าผ่าน มอก. แล้ว ก็ถือเป็นการอ้างอิงเบื้องต้นที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบมาตรฐานที่เวียดนามด้วยเช่นกัน หากทำการผลิตแบบ OEM ในเวียดนามก็ไม่จำเป็นต้องขอลิขสิทธิ์ สำหรับคำแนะนำในการเข้าไปทำธุรกิจระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าในเวียดนาม ควรเริ่มต้นทำการตลาดที่โฮจิมินห์ก่อน หากประสบความสำเร็จในโฮจิมินห์จะสามารถกระจายสินค้าไปทั่วประเทศได้เอง ทั้งนี้การทำการตลาด ควรทำในเชิงรับและเชิงรุก โดยขายผ่านเทรดเดอร์เวียดนาม และควรหาลูกค้าเอง ซึ่งในระยะยาวจะมีความมั่นคง

    • มุมมองของคนเวียดนามที่มีต่อสินค้าไทยเป็นอย่างไร
    • ชาวเวียดนามมีมุมมองต่อสินค้าไทยเป็นบวก มองว่าสินค้าไทยมีคุณภาพเมื่อเทียบกับสินค้าจีน สำหรับการเข้าไปทำธุรกิจที่เวียดนาม ถ้าเป็นแบบ MLM จะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้ามีโรงงานผลิตสินค้าที่เวียดนามจะได้รับความเชื่อถือมากกว่าการนำสินค้าเข้าไปขายดังนั้น หากต้องการเข้าไปทำธุรกิจที่เวียดนาม ควรหาช่องทางจ้างผลิตที่เวียดนาม แล้วติดแบรนด์ของตัวเองจะดีกว่า แล้วเน้นการโฆษณาแบบเชิงวิชาการ ทั้งนี้ สินค้าต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งต้องสามารถนำเสนอจุดเด่นออกมาให้ได้

    • ปัจจุบันเวียดนามมีความรู้สึกอย่างไร กับสินค้าที่มีการนำเข้ามาจากจีน ผลสืบเนื่องมาจากปัญหาเวียดนาม-จีน
    • ถึงแม้จะมีปัญหาเวียดนาม-จีน แต่ร้านค้าต่างๆ ยังคงมีสต็อกสินค้าของจีนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าของจีนยังคงกระจายอยู่ในเวียดนาม โดยมีสินค้าของไทยแทรกซึมอยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม นักธุรกิจเวียดนามก็ยังคงมีการนำเข้าสินค้าจีน เพื่อขายในเวียดนามต่อไป

    • การซื้อที่ดินในเวียดนาม หรือเป็นเจ้าของที่ดินเอง มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน
    • ในเรื่องของที่ดินนั้น รัฐบาลเวียดนามจะมีหนังสือเพื่อแสดงสิทธิประโยชน์ในการใช้ที่ดินนั้นๆ เช่น ที่นาก็จะต้องใช้เฉพาะทำนาเท่านั้น ถ้าต้องการเปลี่ยนสิทธิประโยชน์ในการใช้พื้นที่ ก็ต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ ในส่วนของอุตสาหกรรมที่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลจะสนับสนุนให้เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่า

    • ต้องการเข้าไปขยายธุรกิจคลินิกความงามในเวียดนามตอนนี้ตลาดเวียดนามเป็นอย่างไรบ้าง และเมื่อมีการเปิด AEC จะสร้างความได้เปรียบให้กับคลินิกเสริมความงามได้อย่างไรบ้าง
    • ในปัจจุบันนี้ ที่เวียดนามมีคลินิกความงามอยู่บ้างแล้ว ซึ่งมีนักลงทุนจีนมาเปิดโดยใช้ชื่อของคนเวียดนามในการจดทะเบียนเพื่อเปิดร้าน แต่เกิดปัญหาเนื่องจากบางครั้งไม่มีแพทย์เฉพาะทาง เพราะกฎหมายบังคับไว้ โดยส่วนใหญ่คนเวียดนามจะบินไปทำที่เกาหลีกันมากกว่าเมื่อมีการเปิด AEC แพทย์ไทยสามารถเข้าไปทำงานในเวียดนามได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งคนเวียดนามยังเชื่อว่าด้านการแพทย์ของไทยมีความน่าเชื่อถือ และในปัจจุบันสถานพยาบาลของไทยยังไม่มีในเวียดนาม เมื่อมีการเปิด AEC เชื่อว่าจะมีสถานพยาบาลของไทยหลายแห่งเข้าไปเปิดในเวียดนามทั้งนี้ ควรจะเข้าไปสำรวจตลาดที่เวียดนามก่อนว่า ตลาดตอนนี้เป็นอย่างไร เพราะในเวียดนามยังไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ทางที่ดีควรจะเข้าไปติดต่อกับสมาคม หรือองค์กรไทยที่อยู่ในเวียดนามด้วย

    • มีองค์กรใดบ้าง ที่จะคอยให้ความช่วยเหลือในการจะเข้าไปทำตลาดในประเทศเวียดนาม
    • แนะนำให้ไปติดต่อสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนามได้ ซึ่งเป็นผู้จัดการสมาคม จะได้แนะนำให้เข้าไปดูตลาดได้ และเข้าไปติดต่อหอการค้าเวียดนาม เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการจดทะเบียนการค้า รวมถึงเข้าไปติดต่อกับสถานทูตไทยในเวียดนาม เพื่อขอคำปรึกษาต่างๆ ในการเข้าไปทำตลาดในประเทศเวียดนาม