ข่าวสารประเทศตลาดใหม่และอื่นๆ

ได้เวลาเอกชนไทยไปเปรูเปิดประตูสู่อเมริกาใต้

11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โต๊ะข่าวต่างประเทศ

        ในบรรดาตลาดการค้าที่สำคัญๆของไทยนั้นภูมิภาคอเมริกาใต้นับเป็นตลาดที่ห่างไกลที่สุดแต่ก็เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพจนไม่อาจมองข้ามโดยเฉพาะอย่างยิ่ง" สาธารณรัฐเปรู" ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่มีข้อตกลงการค้าเสรี(เอฟทีเอ)กับไทยและกำลังจะมีผลบังคับใช้ภายในครึ่งแรกของปีนี้ซึ่งหากเป็นไปตามกำหนดดังกล่าวก็หมายความว่าสินค้าในกลุ่ม Early Harvest ซึ่งครอบคลุม70%ของสินค้าทั้งหมดที่มีการค้าขายกันระหว่างไทยและเปรูก็จะมีการลดหรือยกเลิกภาษี โดยในจำนวนนี้ 50%จะยกเลิกภาษีเหลือ 0%ทันที (อาทิ รถปิกอัพเครื่องซักผ้าเตาไมโครเวฟ และพลาสติกสำหรับสินค้าส่งออกจากไทยและสินแร่สังกะสี องุ่นสด เศษอะลูมิเนียมรวมทั้งปลาหมึกแช่แข็งจากฝั่งเปรู)อีก20%จะค่อยๆลดเหลือ0%ภายในเวลา 5 ปี ทำให้เป็นที่คาดหมายกันว่าทั้งมูลค่าและปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศซึ่งปัจจุบันมีการขยายตัวในอัตราสูง(มูลค่าการค้าสองฝ่ายในปี 2553 อยู่ที่ 414.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 203.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)จะทวีขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ข้อตกลงเอฟทีเอมีผลบังคับใช้

        จากการสัมมนาภายใต้หัวข้อ" ประเทศเปรูกับโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยตามกรอบข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-เปรู" (Peru''s Business Opportunities Within Peru-Thailand FTA) ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตเปรูประจำประเทศไทยร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และสำนักงานผู้แทนการค้าไทยเมื่อวันที่30มีนาคมที่ผ่านมาที่โรงแรมสุโขทัยเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมผู้ประกอบการของไทยในการสร้างประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงดังกล่าวประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันก็คือทั้งไทยและเปรูนั้นมีศักยภาพอย่างมากในการที่จะเป็น " ประตูการค้า" หรือ gateway ให้แก่กันและกันอีกทั้งหลากหลายปัจจัยทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถเติมเต็มหรือเกื้อหนุนกันในฐานะพันธมิตรการค้ามากกว่าที่จะเป็นคู่แข่งดังสะท้อนจากสินค้าส่งออกและนำเข้า(ดังแผนภูมิประกอบ)ที่มีความแตกต่างกันค่อนข้างมากและเปรูก็มีทรัพยากรหลากหลายที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย

        นายฆูลิ โอชานผู้อำนวยการภูมิภาคเอเปกตัวแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศของเปรูให้ภาพชัดถึงศักยภาพของเปรูว่าประการแรกเศรษฐกิจของเปรูมีการขยายตัวอย่างมั่นคงและติดต่อกันเป็นปีที่ 11 แล้วซึ่งปีนี้คาดว่าอัตราเติบโตของจีดีพีจะอยู่ที่ระดับ7%โดยมีการลงทุนของภาคเอกชนเป็นหัวจักรขับเคลื่อนที่สำคัญรวมทั้งการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนของภาครัฐในโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านต่างๆทั้งนี้จากการจัดอันดับของธนาคารโลกในปี2554ยังพบว่าเปรูได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่น่าดึงดูดใจด้านการลงทุนเป็นอันดับสองในภูมิภาคอเมริกาใต้ (รองจากเม็กซิโก) ศักยภาพประการต่อมาคือ ความสามารถในการผลิตและส่งออกสินค้าของเปรูติดอันดับโลกหลายรายการ สะท้อนถึงศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์สำหรับภาคการผลิตของไทยเช่นสินแร่และโลหะต่างๆกาแฟโกโก้แอสพารากัสอะโวคาโดรวมทั้งผลิตภัณฑ์ประมง ประการที่สามคือปัจจุบันเปรูมีข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศและกลุ่มประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน สิงคโปร์เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น กลุ่มสหภาพยุโรป (อียู)และกลุ่มแอนเดียน(ประเทศในอเมริกาใต้ฝั่งตะวันตก) ซึ่งในอนาคตหากผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนผลิตสินค้าหรือประกอบสินค้าในเปรูก็สามารถใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากตลาดคู่สัญญาเอฟทีเอของเปรูด้วย

        " เมื่อมองไปยังลาตินอเมริกาผมมองเห็นโอกาสที่มหาศาลมาก" นายเกียรติสิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย กล่าวและยังระบุถึงโอกาสที่ทั้งไทยและเปรูจะสามารถเพิ่มความเข้มข้นด้านการค้าทั้งภาคสินค้าภาคบริการรวมทั้งด้านการลงทุนระหว่างกันต่อไปในอนาคตเมื่อมีการเจรจารายละเอียดของข้อตกลง comprehensive agreementที่คาดว่าจะมีขึ้นในเร็วๆนี้และจะทำให้การเปิดเสรีตลอดจนความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่ายครอบคลุมครบถ้วนทุกด้าน

        ด้านนายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานหอการค้าไทย เปิดเผยทรรศนะของภาคเอกชนไทยว่า จากการที่เคยเดินทางเยือนประเทศในแถบอเมริกาใต้และกำลังจะไปเยือนอีกครั้งพร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ระหว่างวันที่2-12 เมษายนศกนี้(ครอบคลุม3ประเทศได้แก่ เปรู ชิลี และอาร์เจนตินา) สามารถกล่าวได้ว่าเปรูไม่เพียงเป็นประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพสูงแต่ยังมีความคล้ายคลึงกับไทยหลายประการซึ่งสามารถส่งเสริมเกื้อหนุนกันเช่นการเป็นประเทศที่อยู่ริมฝั่งทะเลเหมือนกันทำให้เปรูมีความชำนาญในด้านการประมงและเป็นประเทศที่มีสถิติการทำประมงติดอันดับต้นๆของโลกเสมอ(เป็นรองก็แต่เพียงจีน)ส่วนหนึ่งเนื่องจากฝั่งทะเลของเปรูมีกระแสน้ำอุ่นทำให้มีทรัพยากรทางน้ำอุดมสมบูรณ์สามารถจับสัตว์น้ำได้ปีละกว่า10 ล้านตันนอกจากทรัพยากรทางน้ำเปรูยังมีทรัพยากรบนดินอีกมหาศาลทั้งสินแร่ต่างๆ ป่าไม้ และวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ

        " ผมจึงมองว่าไทยกับเปรูเอื้อกันได้ไม่ใช่เป็นคู่แข่งกันรัฐบาลเปรูเปิดกว้างให้ต่างประเทศเข้าไปลงทุนและหลายภาคอุตสาหกรรมก็สามารถลงทุนได้ถึง 100%เราสามารถไปตั้งโรงงานแปรรูปอาหารทะเลเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆในภูมิภาคนั้นหรือส่งกลับมายังบ้านเรานอกจากนี้เปรูยังมีความต้องการนำเข้าสินค้าจากไทยหลายประเภทโดยเฉพาะรถกระบะ(ปิกอัพ)และชิ้นส่วนรวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ พรินเตอร์ และวิทยุ สินค้าเหล่านี้ยังสามารถเปิดตลาดเข้าไปได้มากซึ่งเราอาจเริ่มต้นด้วยการเข้าไปจับมือกับคู่ค้าในท้องถิ่นเพื่อร่วมกันทำตลาด

        แต่สิ่งที่ยังเป็นความท้าทายก็คือการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพราะระยะทางที่ไกลกันมากเดินทางด้วยเครื่องบินก็เกือบสองวันแล้วการขนส่งสินค้าทางเรือก็ใช้เวลานานซึ่งเรื่องนี้ทางไทยเรากำลังมองหาโลจิสติกส์ฮับ(logisticshub)ในภูมิภาคอเมริกาใต้ โดยขณะนี้เรากำลังมองไปที่ปานามาซึ่งถ้ามีขึ้นมาได้จริงๆก็คงจะทำให้การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับประเทศในอเมริกาใต้ ซึ่งรวมทั้งเปรู ทวีมากขึ้นและสะดวกสบายมากขึ้น"

        แนวทางแก้ไขอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ดังกล่าวสอดคล้องกับทรรศนะของนายเตชะบุณยะชัยรองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ที่มองว่าแม้ปัจจุบันระยะทางการส่งสินค้าไปยังเปรูยังต้องใช้เวลามากตั้งแต่ 37-60 วันและอัตราค่าขนส่งอยู่ที่ระหว่าง3,000-3,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ต่อตู้คอนเทนเนอร์ขนาด20ฟุต)ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงมาบ้างแล้วแต่ก็ยังถือว่าแพงมากทำให้เป็นจุดเสียเปรียบสินค้าจากประเทศคู่แข่งที่สามารถส่งสินค้าในราคาต้นทุนขนส่งถูกกว่าไทยอย่างไรก็ตามเขามองว่าต้นทุนขนส่งสินค้าทางเรือมีแนวโน้มลดลงมาได้ด้วยเหตุปัจจัยคือ

        1)หากปริมาณการค้าสินค้ามีเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงเอฟทีเอไทย-เปรูมีผลบังคับใช้นั่นก็อาจทำให้ผู้ส่งออกสามารถเจรจาต่อรองกับสายการเดินเรือได้มากขึ้นและ

        2)แนวโน้มการพัฒนาท่าเรือในแถบอเมริกาใต้เอง เช่นที่ปานามาซึ่งมีแผนขยายสมรรถนะการรองรับเรือสินค้ามากขึ้นอีกหลายเท่าตัวน่าจะส่งผลให้มีสายการเดินเรือที่ให้บริการในเส้นทางจากไทยสู่อเมริกาใต้เพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบันซึ่งมีเพียง6สายการเดินเรือ

        ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวทำให้คาดหมายแนวโน้มที่สดใสขึ้นสำหรับการลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดอเมริกาใต้ซึ่งรวมทั้งเปรูด้วย

        ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ,http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=3043