ข่าวสารกลุ่มประเทศอาเซียน

การลงทุนจากต่างประเทศในอินโดนีเซีย Q2 พุ่ง 18.2%

11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอินโดนีเซียในไตรมาสสอง ขยายตัวเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งเป็นข่าวดีท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ 

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เศรษฐกิจอินโดนีเซียเติบโต 4.71% ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นระดับที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009 และแบงก์ อินโดนีเซีย คาดการณ์การเติบโตในไตรมาสสองจะอ่อนแอ เนื่องจากการบริโภคในประเทศอ่อนแอและการส่งออกตกต่ำลง อย่างไรก็ตาม Investment Board กล่าวในวันนี้ว่า ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แตะระดับ 92.2 ล้านล้านรูเปียห์ เพิ่มสูงขึ้น 18.2% จากปีก่อน และเร่งความเร็วจากการขยายตัว 14% ในไตรมาสก่อนหน้า

นาย Franky Sibarani ประธานของ  Investment Board กล่าวว่า การลงทุนยังมีอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว ทั้งนี้ข้อมูลเอฟดีไอ ซึ่งไม่นับรวมภาคธนาคารและน้ำมันและก๊าซ ถูกรายงานในเทอมของรูเปียห์ ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่ 12,500 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ แข็งค่า 7% จากอัตราในปัจจุบันที่ประมาณ 13,450 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ ซึ่งจะลดการเพิ่มขึ้นของเอฟดีไอในดอลลาร์ เทอม

นาย David Sumual นักเศรษฐศาสตร์ที่แบงก์ เซ็นทรัล เอเชียในกรุงจาร์กาต้า กล่าวว่า รายงานเอฟดีไอก่อนหน้านี้ได้แสดงการเพิ่มสูงขึ้นในรูเปียห์ เทอม แต่จริงๆแล้วหดตัวในดอลลาร์ เทอม แต่ในไตรมาสสองของปีนี้ ข้อมูลนั้นดูจะมีสัญญาณแห่งความสำเร็จ (promising) 

นาย Sumual กล่าวว่า ดูเหมือนการลงทุนจะเพิ่มขึ้นจริงๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากมองไปข้างหน้า แหล่งที่มาของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีเพียงการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ และเขายังคาดการณ์ว่าจะมีผลลัพทธ์เชิงบวกจากการเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด เพื่อส่งเสริมการลงทุน  

นายวิโดโด เคยกล่าวว่า ต้องการพึ่งพิงการลงทุนจากต่างประเทศในฐานะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 7% ในช่วงที่เป็นประธานาธิบดี ซึ่งจะหมดวาระในปี 2019

ทางด้าน Investment Board กล่าวว่า อินโดนีเซียจำเป็นต้องมีเงินลงทุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศจำนวน 3,518 ล้านล้านรูเปียห์ หรือ 261.66 พันล้านดอลลาร์  เพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตดังกล่าว

เครดิตภาพจาก www.worldpropertyjournal.com

CR.http://smartsme.tv/m/knowledge-detail.php?id=17426