ข้อมูลประเทศเป้าหมาย
ประเทศเวียดนาม
- ข้อมูลทั่วไป
- การเมืองและการปกครอง
- เศรษฐกิจและสังคม
- ความสัมพันธ์
- โอกาสและลู่ทางการลงทุน
- รายงานการศึกษา
ธงและตราสัญลักษณ์
|
||||||||
|
แผนที่
|
||
ที่มา: http://www.wikipedia.org/
ที่มา: lonelyplanet.com
ที่มา http://www.mapsofworld.com/vietnam/vietnam-political-map.html |
ชื่อทางการ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ( Socialist Republic of Vietnam) หรือ เวียดนาม (Vietnam)
ที่ตั้ง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตติดกับอ่าวไทย อ่าวตงคิน (Tonkin) ทะเลจีนใต้ร่วมกับประเทศจีน ลาว และกัมพูชา ระหว่างละติจูดที่ 16 10 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 107 50 องศาตะวันออก
พื้นที่
329,560 ตารางกิโลเมตร (พื้นดิน 325,360 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 4,200 ตารางกิโลเมตร)
อาณาเขต
มีพรมแดนติดกับกัมพูชา (1,228 กิโลเมตร) จีน (1,281 กิโลเมตร) ลาว (2,130 กิโลเมตร) ความยาวชายฝั่ง (ไม่รวมเกาะ) 3,444 กิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ
มีดินแดนปากแม่น้ำที่ราบต่ำทางภาคเหนือ และภาคใต้ มีที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ทางภาคเหนือที่อยู่ห่างออกไปและทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีทิวเขาและภูเขา
สภาพภูมิอากาศ
ทางใต้อากาศเขตร้อน ทางเหนือในฤดูฝนอากาศร้อนและมีมรสุม (พฤษภาคม-กันยายน) และในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคมจะมีอากาศอบอุ่น แห้งแล้ง
ทรัพยากรธรรมชาติ
ฟอสเฟต ถ่านหิน แมงกานีส บอกไซต์ โครเมต ห่างออกไปจากฝั่งทะเลมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ พลังงานน้ำ
ภัยธรรมชาติ
ช่วงเดือนพฤษภาคม-มกราคมบางครั้งมีพายุใต้ฝุ่นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก โดยเฉพาะบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง
จำนวนประชากร
92,477,857 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏคม พ.ศ. 2556)
อัตราการเติบโตของประชากร
1.054% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
สัญชาติ
เวียดนาม (Vietnamese)
เชื้อชาติ
คิน (เวียด) 86.2% เต (Tay) 1.9% ไทย 1.7% มวง (Moung)1.5 % โคม (Khome) 1.4% ฮัว (Hoa) 1.1% นัน (Nun) 1.1% ม้ง (Hmong) 1% อื่นๆ 4.1% (สำมะโนครัว พ.ศ. 2542)
ศาสนา
พุทธ (มหายาน) 9.3% คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 6.7% ฮัว เฮา (Hua Hao) 1.5% Cao Dai 1.1% โปรแตสแทนท์ 0.5% อิสลาม 0.1% ไม่มีศาสนา 80.8% (สำมะโนครัว พ.ศ. 2542)
ภาษา
ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม ภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ (ภาษาที่ 2) ภาษาฝรั่งเศส จีน เขมร ภาษาชาวเขา
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
รูปแบบการปกครอง
ระบอบสังคมนิยม (Communist State) โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
เมืองหลวง
กรุงฮานอย (Hanoi) เมืองสำคัญได้แก่ นครโฮจิมินห์, ดานัง, เว้
การแบ่งการปกครอง
59 จังหวัด 5 เขตเทศบาล
59 จังหวัด ได้แก่ An Giang, Bac Giang, Bac Kan, Bac Lieu, Bac Ninh, Ba Ria-Vung Tau, Ben Tre, Binh Dinh, Binh Duong, Binh Phuoc, Binh Thuan, Ca Mau, Cao Bang, Dac Lak, Dac Nong, Dien Bien, Dong Nai, Dong Thap, Gia Lai, Ha Giang, Ha Nam, Ha Tinh, Hai Duong, Hau Giang, Hoa Binh, Hung Yen, Khanh Hoa, Kien Giang, Kon Tum, Lai Chau, Lam Dong, Lang Son, Lao Cai, Long An, Nam Dinh, Nghe An, Ninh Binh, Ninh Thuan, Phu Tho, Phu Yen, Quang Binh, Quang Nam, Quang Ngai, Quang Ninh, Quang Tri, Soc Trang, Son La, Tay Ninh, Thai Binh, Thai Nguyen, Thanh Hoa, Thua Thien-Hue, Tien Giang, Tra Vinh, Tuyen Quang, Vinh Long, Vinh Phuc, Yen Bai
5 เขตเทศบาล ได้แก่ Can Tho, Da Nang, Ha Noi, Hai Phong, Ho Chi Minh City
แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam
วันที่ได้รับเอกราช
2 กันยายน พ.ศ. 2488 (จากฝรั่งเศส)
รัฐธรรมนูญ
15 เมษายน พ.ศ. 2535
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและคณะรัฐบาล รัฐบาลแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีและรับรองโดยสภาแห่งชาติ (National Assembly) วาระ 5 ปี
สภาแห่งชาติเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีจากสมาชิกสภา วาระ 5 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีขึ้นครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาแห่งชาติเช่นกัน นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรี โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งชาติ
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ระบบสภาเดี่ยว เรียกว่า Quoc Hoi มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 493 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบคะแนนนิยม (Popular Vote) วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2554
ฝ่ายตุลาการ
ศาลฎีกาประชาชน (Supreme People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Court) สภาแห่งชาติเป็นผู้เลือกหัวหน้าผู้พิพากษาโดยได้รับคำแนะนำจากประธานาธิบดี วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
ระบบกฎหมาย
ใช้กฎหมายที่มีรากฐานจากกฎหมายแนวความ คิดสังคมนิยม (Communist Legal Theory) และระบบกฎหมายประมวลกฎหมายของฝรั่งเศส (French Civil Law) ไม่ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)
องค์กรระหว่างประเทศที่เวียดนามเป็นสมาชิก
ADB, APEC, APT, ARF, ASEAN, CICA (observer), CP, EAS, FAO, G-77, IAEA, IBRD, ICAO, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IMO, IMSO, Interpol, IOC, IOM, IPU, ISO, ITSO, ITU, MIGA, NAM, OIF, OPCW, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UNWTO, UPU, WCO, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WTO
ภาพรวมการเมืองการปกครอง
เวียดนามเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง มีเอกภาพสูง และมีการกระจายอำนาจ ซึ่งในการเปลี่ยนผู้นำครั้งล่าสุดภายหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ เวียดนาม สมัยที่ 10 เมื่อกลางปี 2549 มีผู้นำที่มาทั้งจากภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจและมีภาพลักษณ์ของผู้นำรุ่นใหม่
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 320.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) GDP รายบุคคล (GDP per Capita) 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการเติบโตของ GDP 5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) GDP แยกตามภาคการผลิต
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Price) 6.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการว่างงาน 4.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) ผลผลิตทางการเกษตร ข้าว กาแฟ ยาง ฝ้าย ชา พริกไทย ถั่วเหลือง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อ้อย ถั่วลิสง กล้วย สัตว์ปีก ปลา อาหารทะเล อุตสาหกรรม แปรรูปอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องจักร การทำเหมืองแร่ ถ่านหิน เหล็กหล้า ซีเมนต์ ปุ๋ยเคมี แก้ว ยางรถยนต์ น้ำมัน กระดาษ อัตราการเติบโตของการผลิตภาคอุตสาหกรรม 4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) หนี้สาธารณะ 48.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) ดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุล 457 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) มูลค่าการส่งออก 114.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553) สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ถ่านหิน สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารทะเล ข้าว ผลิตภัณฑ์ไม้ ยางพารา สิ้นค้าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สินค้าอิเลกทรอนิกส์และกาแฟ ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ สหรัฐ 18% ญี่ปุ่น 11% จีน 11% เยอรมัน 3.7% (พ.ศ. 2555) มูลค่าการนำเข้า 114.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ วัสดุเพื่อสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม จักรยานยนต์ รถยนต์ ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ จีน 22% เกาหลีใต้ 13.2% ญี่ปุ่น 10.4% ไต้หวัน 8.6% ประเทศไทย 6.4% สิงคโปร์ 6.4% (พ.ศ. 2554) สกุลเงิน ดอง หรือ ด่ง (Dong) สัญลักษณ์เงิน VND นโยบายเศรษฐกิจเวียดนาม นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันยังคงรักษาทิศทางเดิม กล่าวคือ เน้นการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมตามนโยบาย "โด่ย เหมย" (Doi Moi) ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 20 และขณะนี้มีการดำเนินการเร่งปรับตัวเข้ากับกระแสเศรษฐกิจและสังคมของโลก ซึ่งในภาพรวมถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี ทำให้ปัจจุบันเวียดนามมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 8.4 ซึ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาร้อยละ 7.5 ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียรองจากจีน ทั้งนี้ พลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศ การส่งออกวัตถุดิบ (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) สิ่งทอ เครื่องหนังและสินค้าเกษตร ขณะที่การท่องเที่ยวและภาคบริการก็พัฒนาไปมากจากความสนใจของต่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ WTO (เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549) มีการปฏิรูปและการปรับปรุงกลไกภาครัฐ อย่างเร่งรีบ พร้อมทั้งได้พยายามศึกษาและเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมจาก หลายประเทศ |
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย- เวียดนาม
|
||
มูลค่าการค้ารวม ปี 2552 การค้าไทย-เวียดนาม มีมูลค่า 6,063.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 6.25 มูลค่าการส่งออก ปี 2552 ไทยส่งออกไปเวียดนาม มูลค่า 4,678.46 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 6.76 ปี 2552 ไทยนำเข้าจากเวียดนามมูลค่า 1,385.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2551 ร้อยละ 4.48 ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับเวียดนาม ในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 3,293.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าไทยส่งออกไปเวียดนาม เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป เหล็ก ก๊าซปิโตรเลียมเหลว รถจักรยานยนต์ สินค้านำเข้าจากเวียดนาม เครื่องจักรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ถ่านหิน เมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทะเล ความร่วมมือด้านการลงทุน ไทยลงทุนในเวียดนามสูงเป็นอันดับที่ 12 จากนักลงทุนต่างชาติทั้งหมดในเวียดนาม มีโครงการต่าง ๆ รวม 153 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (กรกฎาคม 2550) แหล่งใหญ่ที่สุดที่เอกชนไทยไปลงทุนคือที่นครโฮจิมินห์และจังหวัดข้างเคียง ในสาขาสำคัญ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้สาขาการลงทุนที่มีความน่าสนใจได้แก่ ภาคบริการ ซึ่งไทยมีประสบการณ์และเวียดนามมีความต้องการด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกมากเมื่อ เข้า WTO และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง |
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
|
||
ความสัมพันธ์ทั่วไป ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2519 และ เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงฮานอย และสถานกงสุลใหญ่ที่นครโฮจิมินห์ เมื่อปี 2521 และ 2535 ตามลำดับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย ประกอบด้วยสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ปัจจุบันนายกิติพงษ์ ณ ระนอง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย (ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2549) ในส่วนของเวียดนาม ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2521 มีนายเหวียน ซุย ฮึง (Nguyen Duy Hung) เป็นเอกอัครราชทูตฯ (ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2549) กรอบความร่วมมือ ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายได้วางกลไกสำหรับดูแลความสัมพันธ์ในหลายระดับ ในระดับสูงสุดมีกรอบการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - เวียดนามอย่างไม่เป็นทางการ (Joint Cabinet Retreat : JCR) ซึ่งในการประชุม JCR ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2547 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนารมณ์ใน "แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - เวียดนาม ในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21" (Joint Statement on the Thailand - Vietnam Cooperation Framework in the First Decade of the 21st Century) ระบุให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน และตกลงให้จัดตั้งกลไกการหารือร่วม (Joint Consultative Mechanism : JCM) เพื่อให้เป็นกลไกในระดับรองจาก JCR และทำหน้าที่ดูแล ประสานความร่วมมือในภาพรวมแทนคณะกรรมาธิการร่วมไทย - เวียดนาม (Joint Commission : JC) ในด้านการเมืองและความมั่นคง มีความร่วมมือและประสานกันอย่างใกล้ชิด โดยมีกรอบการประชุมคณะ ทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (Joint Working Group on Political and Security Cooperation : JWG on PSC) เป็นกลไกสำคัญ ความร่วมมือด้านการค้า เป็นสาขาที่มีความก้าวหน้ามาก ดังเห็นได้จากการที่สองฝ่ายตั้งเป้าหมายใน "แถลงการณ์ร่วมว่าด้วยกรอบความร่วมมือไทย - เวียดนาม ในทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21" เมื่อต้นปี 2547 ที่จะให้มูลค่าการค้ารวมเพิ่มจาก 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2553 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ในปี 2548 เร็วกว่าที่กำหนดถึง 5 ปี ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันที่จะเพิ่มมูลค่าการค้ารวมให้ได้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2553 ไทยมีความร่วมมือกับเวียดนามในด้านการค้าข้าวโดยผ่านสภาความร่วมมือค้าข้าว (Council on Rice Trade Cooperation) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน นอกจากนี้ ไทยแสดงท่าทีสนับสนุนเวียดนามให้เข้าร่วมในความร่วมมือด้านยางพาราสามฝ่าย (ไทย - มาเลเซีย - อินโดนีเซีย) เนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ส่งออกยางพาราที่สำคัญรายหนึ่ง ไทย - เวียดนามมีกรอบการประชุมคณะอนุกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Commission : JTC) จัดตั้งเมื่อปี 2538 มีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย
ความร่วมมือทางด้านสังคม วัฒนธรรม ไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับเวียดนามตั้งแต่ปี 2535 ผ่านกรอบการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย - เวียดนาม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนการสอนภาษาระหว่างกัน โดยไทยได้รับความร่วมมือในการเปิดหลักสูตรสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย 5 แห่งของเวียดนาม ขณะที่เวียดนามสนับสนุนงบประมาณ 3.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ สร้างโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามที่จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนการศึกษาดูงานสาขาต่างๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง เวียดนามให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาหมู่บ้านมิตรภาพไทย - เวียดนาม ที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นสถานที่ที่อดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ เคยพำนักในช่วงกอบกู้เอกราช ขณะนี้ไทย - เวียดนามร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านดังกล่าวให้เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของการฉลองครบรอบ 30 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยได้จัดสรรงบประมาณ 2 ล้านบาทเพื่อสร้าง "ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์" ภายในหมู่บ้านดังกล่าวสำหรับเผยแพร่ความรู้ด้านความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านวัฒนธรรมของสองประเทศเพื่อเป็นการ "ต่อยอด" โครงการหมู่บ้านมิตรภาพฯ ในระดับท้องถิ่นก็มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนซึ่งขณะนี้เครือข่ายเส้นทางคมนาคมสายต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงไทย - เวียดนามได้รับการพัฒนาไปมาก เช่น เส้นทางหมายเลข 9 ตามโครงการ EWEC จากมุกดาหารไปสะหวันนะเขตถึงเมืองเว้ในเวียดนาม (สะพานมิตรภาพ 2 เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549) เส้นทางหมายเลข 8 จากจังหวัดนครพนมผ่านแขวงคำม่วนไปยังเมืองวิงห์ในเวียดนาม และเส้นทางด้านใต้ เริ่มจากกรุงเทพฯ - อรัญประเทศ - เสียมราฐ - พนมเปญ - โฮจิมินห์ ซึ่งเส้นทางหลักทั้ง 3 จะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนของไทย - ลาว - กัมพูชา - เวียดนาม ในการติดต่อไปมาหาสู่และค้าขายกัน การแลกเปลี่ยนการเยือนครั้งล่าสุด นายกรัฐมนตรีได้เยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2549 และต่อมานายเหวียน เติน ซุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้มาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2549 ภายหลังร่วมพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 2 ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งในการเยือนดังกล่าวมีการหารือในประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การพิจารณาโครงการเพื่อ "ต่อยอด" โครงการพัฒนาเส้นทาง East - West Economic Corridor (EWEC) ที่มีสะพานมิตรภาพ 2 เป็นตัวเชื่อมโยง การเพิ่มบทบาทไทย - เวียดนามเพื่อร่วมกันพัฒนาอนุภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือด้านข้าวสำหรับประเทศในกลุ่ม ACMECS (ยุทธศาสตร์ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง : Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy) การขอให้เวียดนามผ่อนคลายกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนสำหรับเอกชนไทย สำหรับในส่วนของเอกสารสำคัญ รัฐบาลของทั้งสองฝ่ายได้ให้การรับรองแผนยุทธศาสตร์ JSEP (Joint Strategy for Economic Partnership) ซึ่งเป็นเอกสารรายงาน ผลการศึกษาวิจัย "จุดแข็ง" และเปรียบเทียบศักยภาพของทั้งสองประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางและโครงการให้แก่ภาครัฐและเอกชนในการร่วมมือกันขยายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีการรับรองเอกสาร Security Outlook ซึ่งเป็นเอกสารแสดงมุมมองด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศเพื่อวางแนวทางการร่วมมือกันรับมือกับปัญหาด้านความมั่นคงในอนาคต ความตกลงไทย - เวียดนามที่สำคัญ
1. การเยืิอนของฝ่ายไทย
1.1 การเยืิอนของเชื้อพระวงศ์ - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนเวียดนามใต้ เมื่อวันที่ 18-21 ธันวาคม 2502 - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนเวียดนามวันที่ 5-9 กันยายน 2540 เสด็จฯ เยือนนครโฮจิมินห์เพื่อทรงฝึกบินเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนเวียดนาม ๒ ครั้งเมื่อวันที่ 17-21 มีนาคม 2536 และวันที่ 19-21 เมษายน 2543 - สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนเวียดนาม ๒ ครั้ง เมื่อวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2544 และวันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2546 - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จเยือนเวียดนาม ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2548 เพื่อทรงแข่งขันแบดมินตัน
1.2 การเยือนของนายกรัฐมนตรี - พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนเวียดนาม 3 ครั้ง (1) การเยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2544 (2) วันที่ 20 กุมภาพันธุ์ 2547 เพื่อประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 1 (3) วันที่ 8-9 ตุลาคม 2547 เพื่อร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ ASEM ครั้งที่ 5 - พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนเวียดนาม 2 ครั้ง (1) การเยือนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2549 (2) การเยือนกรุงฮานอย เพื่อร่วมประชุมผู้นำ APEC ครั้งที่ ๑๔ ระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2549
2. การเยือนของฝ่ายเวียดนาม
- นายเจิ่น ดึ๊ก เลือง (Tran Duc Luong) ประธานาธิบดีเวียดนาม (ในขณะนั้น) เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (State Visit) ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2541 - นายฟาน วัน ข่าย (Phan Van Khai) นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) เยือนไทย 4 ครั้ง 1) วันที่ 9-12 พฤษภาคม 2540 เพื่อเยือนอย่างเป็นทางการ 2) วันที่ 20-21 ตุลาคม 2546 ประะชุมผู้นำ APEC ครั้งที่ 11 ที่กรุงเทพฯ 3) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2547 ประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ ๑ ที่จังหวัดนครพนม 4) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2548 เยือนไทยเพื่อร่วมประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ - นายเหวียน เติน ซุง (Nguyen Tan Dung) นายกรัฐมนตรีเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม 2549
|
รายงานการศึกษา
ปี 2020
-
ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเวียดนาม Doing Business in Vietnam 2020 (EY)
ดาวน์โหลด
ปี 2019
-
ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเวียดนาม Doing Business in Vietnam 2019 (EY)
ดาวน์โหลด
ปี 2018
-
ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเวียดนาม Doing Business in Vietnam 2018 (EY)
ดาวน์โหลด
ปี 2017
-
ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: โอกาสการลงทุนของไทยในอาเซียน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Investment in Vietnam_Tax updates by EY
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึกฉบับสมบูรณ์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเวียดนาม Doing Business in Vietnam 2017 (EY)
ดาวน์โหลด
ปี 2016
-
ชื่อเอกสาร: ข้อมูลพื้นฐาน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ดัชนีและคู่มือการลงทุน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ดัชนีเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป CLMV2554 กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมสิ่่งทอและเครื่องนุ่งห่ม CLMV 2554กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ข้อมูลบริษัทไทยที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในเวียดนาม ณ ปี 2556
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: คู่มือการประกอบธุรกิจ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายชื่อบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: บทนำเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : เมืองด่องไน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: Thailand Overseas Investment Forum 2016
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: Investment in Vietnam
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรม และพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรม และพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุนใน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม Vietnam booklet 2016
ดาวน์โหลด