ข้อมูลประเทศเป้าหมาย
ประเทศ มาเลเซีย
ธงและตราสัญลักษณ์
|
||||||||
|
||||||||
แผนที่
|
||||||||
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Malaysia
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่ รัฐมาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมลายู)
มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ) ดินแดนสหพันธ์มาเลเซียตะวันตก
มาเลเซียตะวันออก
|
||||||||
ข้อมูลทั่วไป
|
||||||||
ชื่ออย่างเป็นทางการ มาเลเซีย หรือ Malaysia ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน คือ มาเลเซียตะวันตกบนคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออกบนเกาะบอร์เนียว ระหว่างละติจูดที่ 2 30 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 112 30 องศาตะวันออก พื้นที่ 329, 750 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 328, 550 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 1,200 ตารางกิโลเมตร อาณาเขต พรมแดนยาว 2,669 กิโลเมตร ติดกับประเทศ บรูไน (381 กิโลเมตร) อินโดนีเซีย (1,782 กิโลเมตร) ไทย (506 กิโลเมตร) ความยาวชายฝั่ง 4,675 กิโลเมตร (คาบสมุทรมาเลเซีย 2,068 กิโลเมตร มาเลเซียตะวันออก 2,607 กิโลเมตร) สภาพภูมิประเทศ ที่ราบชายฝั่งค่อยๆ ชันขึ้นเป็นทิวเขาและภูเขา สภาพภูมิอากาศ ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เมษายน-ตุลาคม) และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) ทรัพยากรธรรมชาติ ดีบุก ปิโตรเลียม ไม้ซุง ทองแดง สินแร่เหล็ก ก๊าซธรรมชาติ บ๊อกไซต์ ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม ไฟไหม้ป่า จำนวนประชากร 29,628,392 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556) อัตราการเติบโตของประชากร 1.542% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สัญชาติ มาเลเซีย (Malaysian (s)) เชื้อชาติ มาเลย์ 50.4% จีน 23.7% ชนพื้นเมือง 11% ชาวอินเดีย 7.1% อื่นๆ 7.8% ศาสนา อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ 60.4%) พุทธ (19.2%) คริสต์ (11.6%) ฮินดู (6.3%) อื่น ๆ (2.5%) ภาษา มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน (แต้จิ๋ว จีนกลาง ฮกเกี้ยน ฮักกา ไห่หนาน ฟูโจว์) ทมิฬ
|
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เมืองราชการคือ เมืองปุตราจายา (Putrajaya) การแบ่งเขตการปกครอง มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วย11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐ อีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
ที่มา: www.mapsofworld.com วันที่ได้รับเอกราช 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 จากสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 แต่มีการแก้ไขหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 ฝ่ายบริหาร มาเลเซียมีระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang-diPertuan Agong) เป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากเจ้าผู้ปกครองรัฐ 9 แห่ง (ยะโฮร์ ตรังกานู ปะหัง สลังงอร์ เกดะห์ กลันตัน เนกรีเซมบิลัน เประ และปะลิส) และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นดำรงตำแหน่ง วาระ 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2011 นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลสหพันธรัฐ และมุขมนตรีแห่งรัฐ (Menteri Besar ในกรณีที่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ หรือ Chief Minister ในกรณีที่ไม่มีเจ้าผู้ปกครองรัฐ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลแห่งรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบ 2 สภา (Bicameral Parliament หรือ Parlimen) ประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate หรือ Dewan Negara) ซึ่งมีสมาชิก 70 ที่นั่ง กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง 44 ที่นั่ง อีก 26 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งของตัวแทน 13 รัฐ วาระ 3 ปีและสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระเท่านั้น และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives หรือ Dewan Rakyat) สมาชิกจำนวน 222 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2013 ฝ่ายตุลาการ ประเทศมาเลเซียบนคาบสมุทรเพนนินซูลา ศาลแพ่งประกอบด้วย ศาลสหพันธรัฐ (Federal Court) ศาลอุทธรณ์ และศาลสูง สำหรับศาลของซาบาห์และซาราวัคบทเกาะบอร์เนียวประกอบด้วยศาลฎีกา ซึ่งผู้พิพากษาได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ศาลชาเรีย (Sharia Courts) ประกอบด้วย ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา และศาลระดับรัฐ (Subordinate Courts at State-Level) ตัดสินคดีความเกี่ยวกับศาสนาและครอบครัวสำหรับมุสลิม คำพิพากษาจากศาลชาเรียไม่สามารถนำมาอุทธรณ์ในศาลแพ่งได้ ระบบกฎหมาย กฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษ (English Common Law) โดยมีการใช้กฎหมายอิสลาม (Islamic Law) ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิม (ครอบครัวและศาสนา) ไม่ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) การเมือง พรรค UMNO มีแนวนโยบายบริหารประเทศเน้นชาตินิยมแต่ไม่รุนแรง สนับสนุนชาวมาเลย์ให้มีสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศทั้ง ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แนวนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศหลัก ๆ สรุปได้ดังนี้
หลังจาก ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31ตุลาคม 2546 ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2547 มาเลเซียจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (หลังการยุบสภาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547) ซึ่งผลปรากฏว่า พรรค UMNO และกลุ่มพรรคแนวร่วมแห่งชาติ Barison Nasional (BN) ภายใต้การนำของดาโต๊ะซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี ได้รับชัยชนะเหนือพรรคร่วมฝ่ายค้าน (BA) ซึ่งมีพรรค PAS เป็นแกนนำ โดยได้คะแนนเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเกิน 2 ใน 3 พรรคฝ่ายค้านยังคงไม่มีศักยภาพเพียง พอที่จะท้าทายอำนาจและเสถียรภาพของรัฐบาล แม้การก้าวลงจากอำนาจของ ดร.มหาธีร์ อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นและคะแนนนิยมของประชาชนต่อพรรค UMNO ในระดับหนึ่ง แต่ผลการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม 2547 แสดงให้เห็นว่า พรรค UMNO ยังคงสามารถเป็นแกนนำของกลุ่ม BN ในการจัดตั้งรัฐบาลต่อไป ประเด็นที่จะบั่นทอนเสถียรภาพและความมั่นคงของพรรครัฐบาลและพรรค UMNO ที่สำคัญได้แก่ ความแตกแยกภายในพรรค UMNO เอง ซึ่งยังคงมีอยู่ในระดับหนึ่งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่ลงรอยกันระหว่าง กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ภายในพรรค แม้ว่าจะไม่ปรากฏให้เห็นภาพความขัดแย้งที่แจ้งชัด เมื่อวันที่ 13-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พรรค UMNO ได้จัดการประชุมสมัชชาพรรคสมัยสามัญประจำปี 2549 โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในฐานะหัวหน้าพรรค UMNO ได้รายงานผลงานและความพยายามของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรค UMNO ว่า (1) ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาที่ให้แก่ประชาชน อาทิ การนำเสนอมาตรการในแผนพัฒนามาเลเซีย ฉบับที่ 9 (2) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการส่งเสริมการศึกษา (3) ย้ำความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการสร้างแหล่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ใหม่ ๆ และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม (4) ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของภาคราชการ (5) รัฐบาลได้เปิดกว้างรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นทั้งจาก ส.ส. และจากประชาชน (6) ใช้แนวทางทางการทูตและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และย้ำว่าชาวมุสลิมควรปรองดองกัน (7) ส่งเสริมความสมานฉันท์ของคนในชาติ (8) ย้ำหลักการอิสลามสายกลาง หรือ Islam Hadhari ที่ประชุมพรรค UMNO ยืนยันให้การสนับสนุนหัวหน้าพรรค แต่หลีกเลี่ยงการกล่าวโจมตี ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าพรรค UMNO ที่ในระยะหลังมีความคิดขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน (ตุน ดร.มหาธีร์ฯ มิได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เพราะอยู่ในช่วงพักรักษาตัวจากโรคหัวใจ) แม้พรรค UMNO จะสนับสนุนคนเชื้อสายมาเลย์ แต่พรรคก็ต้องระมัดระวังในการรักษาความสมดุลระหว่างคนเชื้อชาติอื่น ๆ ในมาเลเซียด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ในการอภิปรายระหว่างการประชุมครั้งนี้ สมาชิกบางกลุ่มได้กล่าวโจมตีสิทธิของคนเชื้อชาติอื่น ๆ ทำให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวในวันปิดประชุมว่าสมาชิกพรรคต้องคำนึงถึง สิทธิของคนเชื้อชาติต่างๆ อย่างเป็นธรรม นายกรัฐมนตรี ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บาดาวี ได้ปรับคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาล ในการนี้มีรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งใหม่รวม 22 ตำแหน่ง (รัฐมนตรีว่าการ 7 ตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ 15 ตำแหน่ง) โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียยืนยันว่าการแต่งตั้งและปรับเปลี่ยนบุคคลเข้าดำรง ตำแหน่งต่าง ๆ ได้พิจารณาจากความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความรับผิดชอบ และที่สำคัญต้องทำงานเป็นทีมได้ ส่วนบุคคลที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ดาโต๊ะ ซรี ราฟิดาห์ อาซิซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ในคณะ รัฐมนตรีมานานกว่า 24 ปี ก็ยังดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ แม้ก่อนหน้านี้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการออกใบอนุญาต นำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศจนเกิดความขัดแย้งกับ ตุน ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในการนี้ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ให้เหตุผลว่ารัฐบาลมาเลเซียจำเป็นต้องพึ่งพาผู้มีประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของประชาคมธุรกิจระหว่างประเทศอย่างดาโต๊ะ ซรี ราฟิดาห์ อย่างไรก็ตาม การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายหลักของรัฐบาลมาเลเซีย รวมทั้งจะไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซียและไทย นโยบายความมั่นคงของมาเลเซีย
ในอนาคตอันใกล้ ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่ามาเลเซียจะมีความขัดแย้งกับต่างประเทศจนถึงกับต้อง ใช้กำลังทหารในการเผชิญหน้า เนื่องจากมาเลเซียย้ำเสมอว่าต้องการใช้กรอบเจรจาทางการทูตมากกว่าการใช้ กำลังพล แต่อาจจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง การลักลอบค้าแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งมาเลเซียพยายามจะใช้การเจรจาทวิภาคีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 ปัจจุบัน ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ของมาเลเซีย โดยมี ดาโต๊ะ ซรี ดร.อาหมัด ซาฮิด ฮามิดิ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ดาโต๊ะ อานิฟาห์ บิน ฮัจญี อามาน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นโยบายต่างประเทศ
|
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) 492.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) GDP รายบุคคล 16,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราการเจริญเติบโต GDP 4.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) GDP แยกตามภาคการผลิต
อัตราการว่างงาน 3.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) 1.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) ผลผลิตทางการเกษตร
อุตสาหกรรม
อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม 1.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) หนี้สาธารณะ 53.5% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) ดุลบัญชีเดินสะพัด 22.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) มูลค่าการส่งออก 247 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สินค้าส่งออก อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ การผลิตปิโตรเลียมและก๊าซเหลว ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ น้ำมันปาล์ม ยาง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ สิงคโปร์ 12.7% สหรัฐอเมริกา 8.3% จีน 13.1% ญี่ปุ่น 11.5% ไทย 5.1% ฮ่องกง 4.5% อินเดีย 4.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) มูลค่าการนำเข้า 202.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สินค้านำเข้า อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก พาหนะ เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ สิงคโปร์ 12.8% จีน 13.2% ญี่ปุ่น 11.4% สหรัฐอเมริกา 9.7% ไทย 6.2% อินโดนีเซีย 6.1% ไทย 6% เกาหลีใต้ 4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) สกุลเงิน ริงกิตมาเลเซีย (Ringgit) สัญลักษณ์เงิน MYR อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา คลิกเพื่อตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย
นโยบายด้านเศรษฐกิจ |
||
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-มาเลเซีย
|
||
มูลค่าการค้ารวม ปี 2551 การค้าไทย-มาเลเซียมีมูลค่า 19,636.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 19.47 ปี 2551 ไทยส่งออกไปมาเลเซียมูลค่า 9,910.47 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 26.75 ปี 2551 ไทยนำเข้าจากมาเลเซียมูลค่า 9,726.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 12.87 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับมาเลเซีย ในปี 2551 ไทยได้ดุลการค้าดุลมูลค่า 184.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าไทยส่งออกไปมาเลเซีย เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา สินค้านำเข้าจากมาเลเซีย น้ำมันดิบและแร่เชื้อเพลิง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ด้านการลงทุน ในปี 2551 นักลงทุนมาเลเซียได้รับอนุมัติจาก BOI จำนวน 46 โครงการ (จาก 40 โครงการที่ยื่นขอ) คิดเป็นมูลค่า 25,219.1 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 39.3 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการท่องเที่ยว ในปี 2551 นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาไทย 1.89 ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวไทยไปมาเลเซียประมาณ 1.49 ล้านคน (สถิติปี 2551) เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas - JDS) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการพัฒนาความกินดีอยู่ดีของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา สตูล ปัตตานี และนราธิวาส) กับ 4 รัฐภาคเหนือของมาเลเซีย (ปะลิส เกดะห์ กลันตัน และเประ เฉพาะอำเภอเปิงกาลันฮูลู) โดยมีโครงการความร่วมมือหลายสาขา อาทิ การพัฒนาโครงการพื้นฐานและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การท่องเที่ยว การเกษตร ประมง และปศุสัตว์ เป็นต้น ความร่วมมือในกรอบ JDS จะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย -มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2536 |
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
1. ด้านการทูต
|