ข้อมูลประเทศเป้าหมาย
ประเทศ แองโกลา
ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐแองโกลา หรือ Republic of Angola
ที่ตั้ง แองโกลาตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกาบนฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างประเทศนามิเบียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
พื้นที่ 1,246,700 ตารางกิโลเมตร (481,354 ตร.ไมล์)
อาณาเขต พรมแดนยาว 5,198 กิโลเมตร ติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ( 2,511 กิโลเมตร) สาธารณรัฐคองโก ( 201 กิโลเมตร) นามิเบีย ( 1,376 กิโลเมตร) แซมเบีย ( 1,110 กิโลเมตร)
สภาพภูมิประเทศ ที่ราบแคบๆ บริเวณชายฝั่ง สูงขึ้นเป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ตรงตอนกลางของประเทศ
สภาพภูมิอากาศ อากาศกึ่งแห้งแล้งทางตอนใต้บริเวณชายฝั่งจนถึง Luanda ทางตอนเหนือมีฤดูกาลที่มีอากาศเย็นและแห้งในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูฝนที่มีอากาศร้อนในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน
ทรัพยากรธรรมชาติน้ำมัน เพชร ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม แก๊ส เหล็ก ทองแดง แมงกานีส
ภัยธรรมชาติ น้ำท่วมบริเวณที่ราบสูง
จำนวนประชากร 13.338 ล้านคน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2554)
อัตราการเติบโตของประชากร 2.034 % (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
สัญชาติAngolan (S)
เชื้อชาติ ชาวพื้นเมืองเผ่า Ovimbundu 37% เผ่า Kimbundu 25 %เผ่า Bakongo 13% เผ่า Mestico 2% ชาวยุโรป 1% และอื่น ๆ 22 %
ศาสนาศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิค 38% โปรเตสแตนท์ 15% ความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่น 47%
ภาษา ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ และภาษา Bantu เป็นภาษาท้องถิ่น
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
แองโกลาได้รับเอกราชจากโปรตุเกสเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1975 (2518) และเป็นประเทศสังคมนิยมค่ายโซเวียตซึ่งตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองมาโดยตลอด ต่อมาหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แองโกลาได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก "People\\\\\\\\\\'s Republic of Angola" เป็น "Republic of Angola" เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 1992 (2535) และดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเสรี และระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคการเมืองแทนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์เดิม
ธงและตราสัญลักษณ์
|
||||||
|
แผนที่
|
||
ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ao.html ที่มา:http://www.lonelyplanet.com/maps/africa/angola/map_of_angola.jpg |
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) 85.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP รายบุคคล 8,200 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
อัตราการเจริญเติบโต GDP 1.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
GDP แยกตามภาคการผลิต ภาคการเกษตร 9.6%
ภาคอุตสาหกรรม 65.8%
ภาคการบริการ 24.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2551)
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)14.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ผลผลิตทางการเกษตร กล้วย อ้อย กาแฟ ปปอไซซัล ข้าวโพด ฝ้าย มันสำปะหลัง ยาสูบ ผัก พืชจำพวกกล้วย ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า ปลา
อุตสาหกรรมปิโตรเลียม เพชร สินแร่เหล็ก ฟอร์สเฟต แร่หินฟันม้า บอกไซต์ ยูเรเนียม ทองคำ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า แปรรูปปลา แปรรูปอาหาร การกลั่นเบียร์ ผลิตภัณฑ์จากยาสูบ น้ำตาล สิ่งทอ ซ่อมเรือ
อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม 5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
หนี้สาธารณะ21.4% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ดุลบัญชีเดินสะพัด 7.202 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการส่งออก50.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้าส่งออก น้ำมันดิบ เพชร ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ กาแฟ เส้นใย ปลา
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญจีน 42.8% สหรัฐอเมริกา 23% อินเดีย 9.5% ฝรั่งเศส 4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
มูลค่าการนำเข้า18.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สินค้านำเข้าเครื่องจักรกล อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะและชิ้นส่วน ยารักษาโรค อาหาร สิ่งทอ อุปกรณ์ทางการทหาร
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญโปรตุเกส 17.4% จีน 14% สหรัฐอเมริกา 9% บราซิล 6.6% แอฟริกาใต้ 6% ฝรั่งเศส 5.8% อินเดีย 5.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
สกุลเงิน kwanza (AOA)
สัญลักษณ์เงิน AOA
อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา ไม่มีข้อมูล
สภาพเศรษฐกิจ
แองโกลาเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากรน้อย มีทรัพยากรธรรมชาติที่มั่งคั่ง ได้แก่ น้ำมัน เพชร ทองคำ ทองแดง เหล็ก แมงกานีส ยูเรเนียม และทรัพยากรประมง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลใช้รายได้จากน้ำมันและเพชรของประเทศไปในการซื้ออาวุธเพื่อทำสงครามต่อสู้กับฝ่ายกบฏที่กินเวลานับสิบปี ประกอบกับการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบาลเอง ด้วยเหตุนี้ แองโกลาจึงตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประสบปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาการขาดดุลการค้า ปัญหาหนี้สินต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนอาหารภายในประเทศอย่างรุนแรงจนต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศถึงร้อยละ 75 ทั้งนี้ ปัจจุบัน แองโกลามีรายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นมูลค่ามหาศาล ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น
ทรัพยากรน้ำมัน
ปัจจุบัน เศรษฐกิจแองโกลาพึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก โดยในปี 2548 การส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 65 ของ GDP และร้อยละ 90 ของรายได้รัฐบาล ทั้งนี้ รายได้จากน้ำมันได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2543-2548 คือ เพิ่มขึ้นจาก 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแองโกลาส่งออกน้ำมันมากกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม OPEC แต่แองโกลา เป็นประเทศแอฟริกาที่ส่งออกน้ำมันเป็นปริมาณมากที่สุดลำดับสองรองจากไนจีเรีย ปัจจุบัน แองโกลามีแหล่งน้ำมันดิบสำรองประมาณ 5.7 พันล้านบาร์เรล และผลิตน้ำมันได้ วันละประมาณ 700,000 บาร์เรล
ภาคการเกษตร
แองโกลาเคยเป็นประเทศที่สามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้มากประเทศหนึ่งของแอฟริกา (เคยผลิตกาแฟได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก) แต่ภาวการณ์สู้รบและกับระเบิดที่ฝังอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทำให้แองโกลาประสบปัญหาขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการทำการเกษตร เช่น แหล่งน้ำ ปุ๋ย และเมล็ดพันธุ์ต่างๆ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ภายในแองโกลามีแนวโน้มที่จะดีขึ้น โดยบริษัทต่างชาติหลายบริษัทเริ่มเข้าไปมีความสนใจในการทำธุรกิจเพาะปลูกอ้อยและฝ้ายขนาดใหญ่ในแองโกลา นอกจากนี้ แองโกลายังมีศักยภาพมากในด้านการประมง ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 3 ของแองโกลา รองจากอุตสาหกรรมน้ำมันและเหมืองเพชร ขณะนี้แองโกลาได้ลงนามในความตกลงด้านประมงกับ สเปน โปรตุเกส และอิตาลีแล้ว
ภาคอุตสาหกรรม
แองโกลามีการทำอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ วัสดุก่อสร้าง โลหะ ผงซักฟอก ยาสูบ จักรยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ โดยอุตสาหกรรมของแองโกลาจะรวมตัวอยู่ในเมืองใหญ่ เช่นเมือง Luanda, Lobito และ Huambo นอกจากนี้ แองโกลามีบ่อเพชรขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ปัจจุบันผลิตได้ปีละ 9 แสนกะรัต (ในช่วงก่อนสงครามกลางเมือง แองโกลาสามารถผลิตเพชรได้ปีละประมาณ 2 ล้านกะรัต)
การเมือง ไทยและแองโกลาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535 ไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมีเขตอาณาครอบคลุมแองโกลา สำหรับฝ่ายแองโกลาได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแองโกลาประจำสาธารณรัฐอินเดียมีเขตอาณาครอบคลุมไทย เศรษฐกิจ การค้าของไทยกับแองโกลามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2543-2549 ยกเว้นปี 2546 ที่มีมูลค่าการค้าลดลง โดยในช่วงปี 2543-2545 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า เนื่องจากไทยนำเข้าสัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูปจากอังโกลาจำนวนมาก แต่ในปี 2546-2547 ไทยนำเข้าลดลงและส่งสินค้าออกมากขึ้น โดยเฉพาะปี 2547 ไทยส่งออกข้าวไปแองโกลาจำนวนมากทำให้ช่วง 2 ปีนี้ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า อย่างไรก็ตาม ในปี 2548-2549 นั้น ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า เนื่องจากนำเข้าน้ำมันดิบจากแองโกลาเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปแองโกลาได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากแองโกลา ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และเคมีภัณฑ์ ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ ฝ่ายไทย
ผู้แทนทางการทูต ฝ่ายไทย เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐแองโกลา ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ ----------------------------------------------------------------------------- ที่มา: กองเอเชียใต้ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 1 : การค้าไทย-แองโกลา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 2: สินค้าส่งออกที่สำคัญไปอังโกลา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้าที่สำคัญจากแองโกลา
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่ติดต่อทางการทูต
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่อยู่
The Embassy of the Republic of Angola 5 Poorvi Marg, Tel: (91-11) - 26146197/ 26146195 Fax: (91-11) 26146190/ 26146184 E-mail: angola@angolaembassyindia.org Website: http://www.angolaembassyindia.org |
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมุขและคณะรัฐบาล
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Update กันยายน 2556 Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments
|
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน