ข้อมูลประเทศเป้าหมาย
ประเทศ เซเนกัล
ธงและตราสัญลักษณ์
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
แผนที่
|
||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา:CIA - The World Factbook
ที่มา: www.cia.gov
|
||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
รูปแบบการปกครอง |
สาธารณรัฐ (Republic) |
เมืองหลวง |
กรุงดาการ์ (Dakar) เมืองสำคัญได้แก่ Thies, Kaolack, St. Louis, Ziquinchor |
การแบ่งเขตการปกครอง |
11 เขต ได้แก่ Dakar, Diourbel, Fatick, Kaolack, Kolda, Louga, Matam, Saint-Louise, Tambacounda, Thies, Ziguinchor |
วันที่ได้รับเอกราช |
4 เมษายน 1960 (พ.ศ. 2503) ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส |
รัฐธรรมนูญ |
เริ่มใช้รัฐธรรมนูญ 7 มกราคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) |
ระบบกฎหมาย |
ระบบกฎหมายประมวลกฎหมายฝรั่งเศส |
ฝ่ายบริหาร |
ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 7 ปี นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยการหารือกับประธานาธิบดี |
ฝ่ายนิติบัญญัติ |
มี 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 รัฐบาลได้ประกาศแก้ไขกฎหมายเพื่อเปลี่ยนรูปแบบองค์กร โดยกำหนดให้มีสภา 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเหมือนในอดีต (เคยเปลี่ยนเป็นระบบสภาเดียวตั้งแต่ปี 2544) |
ฝ่ายตุลากาล |
มีศาลรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ |
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
เซเนกัลมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพรรคการเมืองหลายพรรค ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี สำหรับนายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยการปรึกษาหารือกับประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาของเซนัลเป็นแบบสภาเดียว โดยมีสมาชิก 120 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปแบบแบ่งเขต 65 คน และระบบรายชื่อ 55 คน สมาชิกรัฐสภาอยู่ในตำแหน่งสมัยละ 5 ปี ฝ่ายตุลาการ มีศาลรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ทั้งนี้ เซเนกัลเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในแอฟริกาซึ่งไม่เคยประสบเหตุปฏิวัติรัฐประหาร
ดินแดนเซเนกัลได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกานา ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเริ่มจัดตั้งสถานีการค้าในบริเวณดังกล่าว ตามด้วยชาวดัทช์ อังกฤษ และฝรั่งเศส ในปี 2538 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองดินแดนประเทศเซเนกัลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส
ในปี 2503 ดินแดนเซเนกัลได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลี จนได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปีต่อมา แต่ได้แยกตัวออกเป็นอิสระในเดือนสิงหาคม 2504 และจัดตั้งสาธารณรัฐเซเนกัล โดยมีนาย Sedar Senghor เป็นประธานาธิบดีคนแรก และมีการปกครองในระบบพรรคการเมืองเดียวโดยพรรค Union progressiste sénégalais (UPS) จนกระทั่งในปี 2517 ซึ่งรัฐบาลได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และมีการเลือกตั้งในระบบหลายพรรคอย่างไรก็ตามพรรค UPS ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Partie socialiste (PS) ยังคงได้รับเสียงข้างมากในรัฐบาลและปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง
ประธานาธิบดี Senghor ได้ก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อปี 2524 โดยนาย Abdou Diouf ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทน และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นับแต่ปี 2534 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านจนต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งและปัญหาทางการเมืองยังมีต่อเนื่องจนเป็นเหตุให้พรรค PS ของรัฐบาลได้รับความนิยมน้อยลงเป็นลำดับ
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2543 ประธานาธิบดี Diouf ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 50 ทำให้จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งรอบที่สอง ทำให้ผู้สมัครคนอื่น ๆ ได้หันไปให้การสนับสนุนนาย Abdoulaye Wade ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน Senegalese Democratic Party (PDS) จนได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในปี 2544 ปรากฏว่า พรรค PDS ได้รับเสียงข้างมากเอาชนะพรรค PS ซึ่งปกครองประเทศมาตั้งแต่ได้รับเอกราชด้วย
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2550 ประธานาธิบดี Abdoulaye Wade ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง โดยจะมีวาระการดำรงตำแหน่งอีก 5 ปี (เดิมรัฐธรรมนูญเซเนกัลได้กำหนดให้การดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีมีวาระ 7 ปี) และเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2550 มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ผลการเลือกตั้งคือกลุ่ม Sopi ซึ่งสนับสนุนพรรค Parti Democratique Senagalais ของประธานาธิบดี Wade ได้ที่นั่ง 131 ที่จาก 150 ที่นั่ง
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ภายหลังจากการแก้ไขกฎหมายให้มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแล้ว นาย Ousmane Ngom รัฐมนตรีแห่งรัฐและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย (Ministre d\'Etat, Ministre de l\'Interier) ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 Constitutional Council ของกระทรวงยุติธรรมเซเนกัลได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งวุฒิสภา โดยพรรค Parti democratique Senegalais-PDS (พรรครัฐบาล) ได้คะแนนเสียง 8177 คะแนน และได้ 34 ที่นั่ง และพรรค Jet/Parti/africain pour la democratie et le socialsim- Aj/Pads ได้คะแนนเสียง 736 คะแนน ได้ 1 ที่นั่ง ทั้งนี้ ฝ่ายค้าน (Siggil Senegal:Stand up Senegal) ที่เคยคว่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้แสดงความเห็นว่าการที่พรรค PDS ได้รับเลือกตั้งถึง 34 ที่นั่ง และประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา อีก 65 คน คงส่งผลให้พรรค PDS และกลุ่ม Sopi 2007 (ซึ่งเป็นกลุ่มพรรคการเมืองที่สนับสนุนประธานาธิบดี Wade) มีความเข็มแข็งทางการเมืองมากขึ้น และสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้ มีผู้มาลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิจำนวน 9815 คน (จากผู้มีสิทธิ 13384 คน) ทั้งนี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญเซเนกัล สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิที่จะปฎิเสธร่างกฎหมายที่ผ่านสภาล่างมาแล้วได้ และผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาจะเป็นผู้ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน ในกรณีที่ประธานาธิบดีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น ป่วย ลาออก เป็นเวลา 60 วัน และหลังจากนั้นจะต้องมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) |
26.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
GDP รายบุคคล |
1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
อัตราการเจริญเติบโต GDP |
3.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
GDP แยกตามภาคการผลิต |
|
อัตราการว่างงาน |
48% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2551) |
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) |
1.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
ผลผลิตทางการเกษตร |
ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าว ฝ้าย มะเขือเทศ ผักใบเขียว ปศุสัตว์ สัตว์ปีก สุกร ปลา |
อุตสาหกรรม |
เกษตรกรรม การแปรรูปปลา เหมืองแร่ฟอสเฟต อุตสาหกรรมปิโตรเลียม การผลิตปุ๋ย อุปกรณ์ก่อสร้าง อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมแซมเรือ |
อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรม |
4.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) |
ดุลบัญชีเดินสะพัด |
ขาดดุล 1.298 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
มูลค่าการส่งออก |
2.458 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
สินค้าส่งออก |
ปลา ถั่วลิสง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย |
ประเทศ (คู่ค้า) ส่งออกที่สำคัญ |
มาลี 21.9% ฝรั่งเศส 4.6% อินเดีย 12.4% อิตาลี 4.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) |
มูลค่าการนำเข้า |
5.109 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
สินค้านำเข้า |
อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าทุน เชื้อเพลิง |
ประเทศ (คู่ค้า) นำเข้าที่สำคัญ |
ฝรั่งเศส 16.7% เนเธอร์แลนด์ 5.8% จีน 9.6% สหราชอาณาจักร 8.4% ไนจีเรีย 8.3% สหรัฐฯ 4.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554) |
สกุลเงิน |
Communaute Financiere Africaine Franc (XOF) |
สัญลักษณ์เงิน |
XOF |
อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา |
สภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจ
-เซเนกัลเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของ ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยภาคเศรษฐกิจประกอบด้วย ภาคบริการ (การท่องเที่ยว) ร้อยละ 60 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 20 และภาคการเกษตร
ร้อยละ 20 ของรายได้ประชาชาติ ภาคเกษตรยังคงเป็นหัวใจของเศรษฐกิจเนื่องจากแรงงานร้อยละ 70 อยู่ในภาคการเกษตร รายได้หลักของประเทศมาจากการส่งออกสินค้าภาคเกษตร อาทิ ถั่วลิสง การประมง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย การท่องเที่ยวและการบริการ อย่างไรก็ตาม เซเนกัลยังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยผู้ให้ความช่วยเหลือเซเนกัลประกอบด้วย ฝรั่งเศส กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา USAID ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา และหน่วยงานของสหประชาชาติ เป็นต้น
-รัฐบาลเซเนกัลได้รับแรงกดดันจากองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะ IMF และ World Bank ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมที่เป็นสังคมนิยมให้เป็นทุน นิยม สนับสนุนการค้าเสรีโดยได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้า และเปิดเสรีรัฐวิสาหกิจ (privatization)
-รัฐบาลเซเนกัลมุ่งดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจโดยเน้น 4 สาขาหลัก ประกอบด้วย นโยบายการคลัง การปฏิรูปโครงสร้าง การแก้ไขปัญหาความยากจน และการสนับสนุนภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังดำเนินแผนการลดความยากจนและการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Poverty Reduction and Growth Facility: PRGF) 3 ปี ตามที่ IMF ได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อเมษายน 2546 โดยเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเปิดเสรีกฎหมายแรงงาน (liberalising labour legislation) การกระตุ้นกลไกตลาด การสร้างงานใหม่ และการสนองตอบความต้องการพื้นฐานของผู้ยากไร้ผ่านโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการเพิ่มสมรรถภาพ (Capacity building) การปฏิรูปภาครัฐ ตลอดจนแปรรูปวิสาหกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลได้เริ่มดำเนินโครงการขนาดใหญ่ อาทิ การสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ การขยายเครือข่ายถนนและการพัฒนาท่าเรือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของเอกชนทั้งจากท้องถิ่นและต่างประเทศ
-ในภาพรวม เซเนกัลถือว่าประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ดังจะเห็นได้จากตัวเลข GDP ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในปี 2538 - 2550 และอัตราเงินเฟ้อลดลงมาในระดับเลขเดียว (single digit) นอกจากนี้ หลังจากที่เข้าร่วมโครงการเพื่อบรรเทาหนี้สำหรับประเทศที่มีหนี้สินระหว่าง ประเทศในระดับสูง (Highly Indebted Poor Countries-HIPC) ของ IMF ทำให้เซเนกัลสามารถปลดหนี้ได้ถึง 2 ใน 3 ของหนี้ระหว่างประเทศทั้งหมด อย่างไรก็ดี เซเนกัลยังประสบปัญหาว่างงานและมีแรงงานจำนวนมากที่เข้าไปทำงานในยุโรปอย่าง ผิดกฎหมาย
-นโยบายของ นรม. Cheikh Hadjibou Soumare มุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง โดยเน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ อาทิ โครงการสร้างสนามบินแห่งใหม่ โครงการปรับปรุงท่าเรือ โครงการปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลเซเนกัลยังแสดงความสนใจเรื่องการพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหาร (food sufficiency) เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้เซเนกัลจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทางการเกษตรจากต่างประเทศเป็น จำนวนมากและทำให้ขาดดุลการค้ามาโดยตลอด รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 13 ล้านฟรังก์เซฟา เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนา สินค้าเกษตร
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ด้านการเมือง
ไทยและเซเนกัลสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2523 และไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ปี 2523 ปัจจุบันเอกอัครราชทูตเซเนกัล คือ นาวาตรีอิทธิ ดิษฐบรรจง ร.น. ปัจจุบัน เซเนกัลยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตใดดูแลประเทศไทย หลังจากที่เคยมอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงดูแลประเทศไทย
ด้านเศรษฐกิจ
เซเนกัลเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 4 ของไทยในแอฟริกาตะวันตก (รองจากโกตดิวัวร์) ในขณะที่ เซเนกัลมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 4 (รองจากฝรั่งเศส ไนจีเรีย และอิตาลี ตามลำดับ)
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าโดยทั่วไปเกิดจากการที่ตลาดภายในเซเนกัลมีขนาดเล็กและผู้บริโภคและนักธุรกิจกำลังซื้อต่ำ ธุรกิจส่วนใหญ่ของเซเนกัลยังดำเนินการโดยชาวฝรั่งเศสและเลบานอนที่อาศัยอยู่ในเซเนกัลและนักธุรกิจเหล่านี้มักมีช่องทางการตลาดเป็นของตนเอง และไม่นิยมติดต่อกับนักธุรกิจไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปเซเนกัลโดยตรง ส่วนพ่อค้าเซเนกัลยังมีการเก็บภาษีนำเข้าหลายประเทศซึ่งเป็นภาระแก่ผู้ส่งออกของไทย ตลอดจนระยะทางขนส่งที่ห่างไกลทำให้ค่าระวางเรือสูง นอกจากนี้ เอกชนไทยมักประสบปัญหาการค้างชำระหนี้ค้าซื้อสินค้าของฝ่ายเซเนกัล ปัจจุบัน มีร้านอาหารไทยตั้งอยู่ที่กรุงดาการ์ 1 ร้าน ชื่อว่า Le Jardin Thailandais (สวนไทย) ประชาชนชาวไทยอาศัยอยู่ในเซเนกัลจำนวนประมาณ 12 คน ส่วนมากประกอบอาชีพพ่อบ้าน แม่บ้าน พ่อครัว
อนึ่ง เซเนกัลยังเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ซึ่งมีการลดหย่อนภาษีการค้าระหว่างสมาชิก ทำให้สินค้าบางประเภทของไทยต้องแข่งขันกับสินค้าที่เซเนกัลนำเข้าจากกลุ่มประเทศสมาชิก ECOWAS เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ และพลาสติกจากโกตดิวัวร์ สิ่งทอจากไนจีเรีย เป็นต้น รวมทั้งเซเนกัลยังเข้าร่วมเป็นภาคีสนะสัญญาว่าด้วยสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งแอฟริกาตะวันตก (Treaty on West African Economic and Monetary Union: WAEMU) ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ การขยายกรอบความร่วมมือด้านการเงินและกำหนดกฎเกณฑ์ทางการค้าให้มีหลักปฏิบัติสอดคล้องกัน และเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางการค้าภายในกลุ่มมากขึ้น
ในการนี้ ฝ่ายไทยได้ทาบทามเซเนกัลให้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างไทยและเซเนกัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไป
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ไทยกำหนดให้เซเนกัลเป็นประเทศเป็นประเทศที่อยู่ในโครงการความช่วยเหลือของไทย (Thai International Cooperation Progr
Programme) ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือในรูปทุนการฝึกอบรม และดูงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญ และเป็นที่ต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ ฝ่ายเซเนกัลมีความประสงค์จะขอรับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากไทยในด้านการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ (Aqua-culture) การปลูกข้าว การแพทย์ สาธารณสุข
ในเดือนกันยายน 2549 ผู้แทนจากสำนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ไปเยือนเซเนกัลเพื่อหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะเรื่อง การเกษตร การปลูกข้าว การท่องเที่ยว และการป้องกันรักษาโรคมาลาเรีย ขณะนี้ ทางสำนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้เสนอร่างแผนความร่วมมือด้านวิชาการให้กับฝ่ายเซเนกัลพิจารณาอยู่ อนึ่ง 19 มีนาคม ปี 2550 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์ ได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อมิตรภาพและความร่วมมือไทย-เซเนกัล เพื่อเพิ่มกลไกในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเซเนกัล โดยสมาชิกที่อยู่ในเครือข่ายมาจากกการรวมกลุ่มของผู้ที่เคยได้รับทุนอบรมไปประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวน 24 คน มาจากหน่วยราชการต่าง ๆ ของเซเนกัล
ความตกลงด้านการค้า
- ความตกลงทางการค้า (ลงนามเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ปี 2524) และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างกัน (ในวันที่ 25 สิงหาคม ปี 2526)
- อนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างไทยและเซเนกัล (อยู่ระหว่างการเจรจารอบ 2)
การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
-รัฐบาล
- ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ เยือนเซเนกัลในเดือนตุลาคม ปี 2525 เยือนเซเนกัลครั้งแรกขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนเซเนกัลในเดือนสิงหาคม ปี 2525
- น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนเซเนกัลอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2537
- นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนเซเนกัลเพื่อสำรวจตลาดข้าวไทย ระหว่างวันที่ 25 - 26 มีนาคม ปี 2550
ฝ่ายเซเนกัล
-รัฐบาล
- นาย Djibu Ka รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและความร่วมมือคณะผู้แทนเศรษฐกิจและการค้าเซเนกัล เยือนไทยระหว่างวันที่ 18 - 21 ตุลาคม 2531
- นาย Abdou Diouf ประธานาธิบดีและคณะ แวะผ่านไทยระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2533
- นาย Seydina Oumar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม 2533
- นาย นาย Seydina Oumar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ วันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2537
-----------------------------------------------------------------------
ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ
รายการ | มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ | ||||
2553 | 2554 | 2555 | 2555(ม.ค.-ก.ย.) | 2556(ม.ค.-ก.ย.) | |
ไทย - โลก | |||||
มูลค่าการค้า | 376,225.26 | 451,358.90 | 479,224.06 | 357,766.36 | 361,953.68 |
การส่งออก | 193,298.14 | 222,579.16 | 229,236.13 | 172,056.49 | 172,139.76 |
การนำเข้า | 182,927.12 | 228,779.74 | 249,987.93 | 185,709.88 | 189,813.92 |
ดุลการค้า | 10,371.02 | -6,200.58 | -20,751.80 | -13,653.39 | -17,674.16 |
ไทย - เซเนกัล | |||||
มูลค่าการค้า | 171.85 | 191.89 | 116.73 | 92.20 | 123.40 |
การส่งออก | 165.51 | 180.37 | 104.59 | 81.84 | 118.68 |
การนำเข้า | 6.35 | 11.52 | 12.14 | 10.37 | 4.72 |
ดุลการค้า | 159.16 | 168.84 | 92.45 | 71.47 | 113.96 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร |
อันดับที่ | ชื่อสินค้า | มูลค่า : ล้านเหรียญ | |||||
2553 | 2554 | 2555 | 2555 (ม.ค.-พ.ย.) |
2556 (ม.ค.-พ.ย.) |
|||
1 | ข้าว | 114.8 | 104.9 | 52.8 | 52.6 | 65.0 | |
2 | ผ้าปักและผ้าลูกไม้ | 5.8 | 7.8 | 9.4 | 8.6 | 12.4 | |
3 | รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ | 23.2 | 17.2 | 17.4 | 13.0 | 10.9 | |
4 | เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ | 0.7 | 0.6 | 3.2 | 3.2 | 6.0 | |
5 | ผลิตภัณฑ์พลาสติก | 2.8 | 2.2 | 2.1 | 1.8 | 3.6 | |
6 | เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ | 0.9 | 1.3 | 1.2 | 1.0 | 3.5 | |
7 | ผ้าผืน | 1.6 | 3.4 | 3.9 | 3.7 | 2.6 | |
8 | เคมีภัณฑ์ | 0.6 | 2.6 | 2.1 | 1.7 | 2.2 | |
9 | ผลไม้กระป๋องและแปรรูป | 1.6 | 3.3 | 0.7 | 0.6 | 2.0 | |
10 | กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ | 0.6 | 1.2 | 1.3 | 1.1 | 1.7 | |
รวม 10 รายการ | 152.6 | 144.4 | 94.0 | 87.5 | 109.8 | ||
อื่นๆ | 12.9 | 35.9 | 10.6 | 10.3 | 29.0 | ||
รวมทั้งสิ้น | 165.5 | 180.4 | 104.6 | 97.8 | 138.8 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร |
อันดับที่ | ชื่อสินค้า | มูลค่า : ล้านเหรียญ | |||||
2553 | 2554 | 2555 | 2555 (ม.ค.-พ.ย.) |
2556 (ม.ค.-พ.ย.) |
|||
1 | สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง | 2.6 | 3.6 | 3.1 | 2.9 | 3.7 | |
2 | เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ | 1.8 | 2.1 | 6.2 | 6.1 | 3.7 | |
3 | กาแฟ ชา เครื่องเทศ | - | - | - | - | 0.1 | |
4 | พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช | - | - | - | - | 0.0 | |
5 | ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ | 0.0 | 0.1 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | |
6 | เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | |
7 | เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ | - | 0.0 | - | - | 0.0 | |
8 | เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | |
9 | ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | |
10 | สิ่งพิมพ์ | - | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | |
รวม 10 รายการ | 4.4 | 5.8 | 9.4 | 9.0 | 7.5 | ||
อื่นๆ | 1.9 | 5.7 | 2.7 | 2.7 | 0.0 | ||
รวมทั้งสิ้น | 6.3 | 11.5 | 12.1 | 11.7 | 7.5 |
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
ที่อยู่
Office of the Ambassador of the Republic of Senegal
Ministry of Foreign Affairs,
Place de I\'Independance,
B.P. 4044,Dakar,
The Republic of Senegal
Tel: (221) 889-1300
Fax: (221) 823-5496
E-mail: maeuase@senegal.diplomatie.sn
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน