ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ มาดากัสการ์

ชื่ออย่างเป็นทางการ

สาธารณรัฐมาดากัสการ์ หรือ Republic of Madagascar

ที่ตั้ง

มาดากัสการ์เป็นเกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ตรงกันข้ามกับประเทศโมซัมบิก

พื้นที่

587,041 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 581,540 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 5,501ตารางกิโลเมตร ความยาวชายฝั่ง 4,828 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

ที่ราบแคบๆ ชายฝั่ง ตอนกลางมีที่ราบสูงและภูเขา

สภาพภูมิอากาศ

อากาศร้อนชื้น (ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยกว่า 3,000 มิลลิเมตร) บริเวณชายฝั่งลักษณะอากาศแบบอากาศเขตร้อน ภายในประเทศอากาศพอดี ทางใต้อากาศกึ่งแห้งแล้ง

ทรัพยากรธรรมชาติ

กราไฟท์ โครเมียม ถ่านหิน บอกไซต์ เกลือ หินควอร์ต  ไมกา ปลา พลังน้ำ

ภัยธรรมชาติ

พายุไซโคลน ภัยแล้ง  ภัยจากการรบกวนจากตั๊กแตน

จำนวนประชากร

22,599,098 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

2.65% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สัญชาติ

Malagasy

เชื้อชาติ

สืบเชื้อสาย Malayo-Polynesian แบ่งออกเป็นกลุ่มพื้นเมือง 18 กลุ่ม

ศาสนา

ประมาณ 52% ของประชากรนับถือภูตผีวิญญาณ 41% นับถือศาสนาคริสต์ และ 7% นับถือศาสนาอิสลาม

ภาษา

ภาษามาลากาซีเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อในวงการระหว่างประเทศ

 

 

ธงและตราสัญลักษณ์
 
flag COA
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)


 
แผนที่
 

map

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ma.html

 

map

ที่มา: http://media.news.com.au/travel/lp/maps/wg-madagascar-2128-400x300.gif

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

รูปแบบการปกครอง

ประธานาธิบดีจะอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี

เมืองหลวง

กรุงอันตานานาริโว (Antananarivo)

การแบ่งเขตการปกครอง

6 เขต (Faritany) ได้แก่ Antananarivo, Antsiranana, Fianarantsoa, Mahajanga, Toamasina, Toliara

วันที่ได้รับเอกราช

26 มิถุนายน พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) จากฝรั่งเศส

รัฐธรรมนูญ

19 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) จากการลงประชามติ

ระบบกฎหมาย

มีรากฐานมาจากประมวลกฎหมายของฝรั่งเศสและกฎหมาย Malagasy เดิม

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

ปรากฏหลักฐานว่ามีคนอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์มาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกันและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของ Diego Diaz นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี 2340 - 2404 (1797 - 1861) แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการ ปกครองในปี 2438 (1895) และต่อมาในปี 2439 (1896) ระบอบกษัตริย์ได้ถูกทำลายซึ่งยังผลให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2439 (1896) และต่อมาในปี 2501 มีการลงประชามติประกาศให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2503 (1960) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2518 (1975) พันเอก Richard Ratsimandrava ซึ่งเป็นประมุขของประเทศถูกลอบสังหาร จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการทหารแห่งชาติ (National Military Directorate) ขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนได้โอนอำนาจให้แก่สภาปฏิวัติสูงสุด (Supreme Revolutionary Council) ภายใต้การนำของนาย Didier Ratsiraka ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2518 ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ตั้งแต่ปี 2523 (1980) เป็นต้นมา มาดากัสการ์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ซึ่งก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดแคลนอาหารทำให้มีการก่อความไม่สงบขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ในขณะที่ชาวนาที่เดือดร้อนก็พากันละทิ้งไร่นาของตน

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 (1990) มีการยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการมีพรรคการเมืองหลายพรรคในระบอบการเมือง แต่ฝ่ายต่อต้านต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากมีการนัดหยุดงานและประท้วงเป็นเวลา 6 เดือน ประธานาธิบดี Ratsiraka ก็ได้มอบอำนาจหลายส่วนให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของนาย Albert Zafy ในเดือนพฤศจิกายน 2534 (1991) และในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 นาย Zafy ได้รับเลือกโดยเสียงส่วนใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2539 แต่ต่อมาถูกรัฐสภามาดากัสการ์ลงมติไม่ไว้วางใจอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นบวกกับการฉ้อราษฎร์บังหลวงในวงราชการ จนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดี Zafy ต้องลาออกไป ในการเลือกตั้งปลายปี 2539 นาย Didier Ratsiraka ได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงมากกว่านาย Zafy เพียงเล็กน้อย ต่อมา ในเดือนธันวาคม 2544 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ขึ้น แต่เกิดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งระหว่างนาย Didier Ratsiraka และนาย Marc Ravalomanana คู่แข่งคนสำคัญซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีในขณะนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวนำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นเวลาหลายเดือน จนในที่สุด วิกฤตการณ์ดังกล่าวคลี่คลายลงเมื่อประชาคมระหว่างประเทศได้ให้การรับรองนาย Marc Ravalomanana ในฐานะประธานาธิบดีและรัฐบาลชุดใหม่ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ประกาศท่าทีให้การรับรองและไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ให้การรับรอง

รูปแบบการปกครอง จากการลงประชามติในปี 2535 (1992) ทำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเปลี่ยนจากระบอบสังคมนิยมที่มีประธานาธิบดีมีอำนาจเต็มในการบริหารภายใต้การแนะนำช่วยเหลือของสภาปฏิบัติสูงสุด (Supreme Revolutionary Council) มาเป็นระบอบที่ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลในการบริหารประเทศ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งรัฐสภาเป็นผู้เสนอชื่อ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

มาดากัสการ์ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทางปฏิบัติ มีความใกล้ชิดและรับความช่วยเหลือจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกมากกว่าฝ่ายตะวันตก แต่เดิมนั้น รัฐบาลมาดากัสการ์ต่อต้านระบบแบ่งแยกผิวและสนับสนุนให้นามิเบียเป็นเอกราช แต่ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างรวดเร็ว โดยยอมรับพัฒนาการทางการเมืองในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ หันมากระชับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อนุญาตให้สายการบินแอฟริกาใต้บินผ่าน และยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้าอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ประธานาธิบดี de Klerk แห่งแอฟริกาใต้เดินทางมาเยือนมาดากัสการ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2533 ด้วย การดำเนินการดังกล่าวบ่งชี้ถึงความปรารถนาของรัฐบาลมาดากัสการ์ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับสถาบันการเงินตะวันตกภายหลังจากที่ประสบการณ์ตามระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ยึดถือปฏิบัติมากว่า 10 ปี ประสบความล้มเหลว

มาดากัสการ์เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่าง ๆ เช่น
                - ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (ADB)
                - ประเทศสมาชิกสมทบประชาคมยุโรป (Lome Convention)
                - คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อแอฟริกา
                - GATT, WTO
                - องค์การสหประชาชาติ
                - องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)



 
ประมุขและคณะรัฐบาล
 

Update กันยายน 2556

Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments

ข้อมูล ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2556

ในวันที่ 17 มีนาคม ปี 2552 ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง นาย Marc Ravalomanana ได้ลาออกจากตำแหน่งและส่งบังเหียนของอำนาจรัฐให้แก่กองทัพ ในการประชุมเพื่อหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้นำคณะทหารประกาศมอบอำนาจการปกครองประเทศแก่นาย Andry Rajoelina

 

 

Pres. Andry Nirina RAJOELINA
Prime Min. Jean Omer BERIZIKY
Dep. Prime Min. in Charge of Development & Urbanization Hajo ANDRIANAINARIVELO
Dep. Prime Min. in Charge of Economy & Industry Pierrot BOTOZAZA
Min. of Agriculture Roland RAVATOMANGA
Min. of the Armed Forces Andre Lucien RAKOTOARIMASY, Gen.
Min. of Civil Service, Labor, & Social Legislation Tabera RANDRIAMANANTSOA
Min. of Communication Harry Laurent RAHAJASON (also known as Rolly MERCIA)
Min. of Culture & National Heritage Elia RAVELOMANATSOA
Min. of Decentralization Ruffine TSIRANANA
Min. of Energy Nestor RANDRIAKA
Min. of Environment & Forests Joseph RANDRIAMIANDRISOA
Min. of Finance & Budget Hery RAJAONARIMAMPIANINA
Min. of Fisheries & Fishery Resources Sylvain MANDRORIKY
Min. of Foreign Affairs Pierrot RAJAONARIVELO
Min. of Higher Education & Scientific Research Etiene Hilaire RAZAFINDEHIBE
Min. of Hydrocarbons Marcel BERNARD
Min. of Interior Florent RAKOTOARISOA
Min. of Internal Security Arsene RAKOTONDRAZAKA
Min. of Justice & Keeper of the Seals Christine RAZANAMAHASOA
Min. of Livestock Ihanta RANDRIAMANDRANTO
Min. of Mines Daniella RANDRIAFENO
Min. of National Defense Andre Lucien RAKOTOARIMASY, Gen.
Min. of National Education Regis MANORO
Min. of Population Olga VAOMALALA
Min. of Posts, Telecommunications, & New Technology Ny Hasina ANDRIAMANJANTO
Min. of Public Health Joanita NDAHMANJARA
Min. of Public Service Tabera RANDRIAMANANTSOA
Min. of Public Works & Meteorology BOTOMAMIZARA, Col.
Min. of Sports Gerard BOTRALAHY
Min. of Technical & Vocational Training Jean Andre NDREMANJARY
Min. of Tourism Jean Max RAKOTOMAMONJY
Min. of Trade Olga RAMALASON
Min. of Transport Benjamina Ramarcel RAMANANTSOA
Min. of Water Resources Julien REBOZA
Min. of Youth & Leisure Jacques RANDRIATIANA
Min. of Charge of the National Gendarmerie RANDIRANAZARY, Gen.
Min. of Charge of Promotion of Handicrafts Elisa RAZAFITOMBO
Min. of Charge of Relations With Institutions Victor MANANTSOA
Governor, Central Bank Gaston RAVELOJAONA
Ambassador to the US Jocelyn Bertin RADIFERA
Permanent Representative to the UN, New York Zina ANDRIANARIVELO-RAZAFY

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-m/madagascar.html

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

21.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล

1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

1.9% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 28.3%
  • ภาคอุตสาหกรรม 16.5%
  • ภาคการบริการ 55.2% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

อัตราการว่างงาน

ไม่มีข้อมูล

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

9.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ข้าว ปศุสัตว์ กาแฟ วะนิลา น้ำตาล ฝ้าย ถั่ว ยาสูบ การพลู แป้งมันสำปะหลัง กล้วย โกโก้

อุตสาหกรรม

แปรรูปอาหาร สิ่งทอ เหมืองแร่ กระดาษ กลั่นน้ำมัน ประกอบรถยนต์

ก่อสร้าง อาหารทะเล สบู่ โรงฟอกหนัง  โรงกลั่นเบียร์ น้ำตาล เครื่องแก้ว ซีเมนต์ กระดาษ ปิโตรเลียม การท่องเที่ยว

อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม

2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2550)

หนี้สาธารณะ

ไม่มีข้อมูล

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-2.322 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

1.533 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออก

กาแฟ วะนิลา สัตว์ทะเลมีเปลือก น้ำตาล เสื้อผ้าฝ้าย โครไมท์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

ฝรั่งเศส 22.9% สหรัฐอเมริกา 5% จีน 5.7% เยอรมัน 5.5% อินโดนีเซีย 15.5% สิงคโปร์ 6.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)France , Indonesia , Singapore , China , Germany , US 

มูลค่าการนำเข้า

3.876 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.ob (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้า

สินค้าทุน ปิโตรเลียม สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

จีน 17.4% ฝรั่งเศส 13.3% แอฟริกาใต้ 5.7% อินเดีย 4.1% บาห์เรน 4.8%มอริเชียส 4.6% คูเวต 4.5% สิงคโปร์ 4.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

Malagasy Ariary (MGA)

สัญลักษณ์เงิน

MGA

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนได้ที่นี่)

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ด้านการเมืองและการทูต

ไทยและมาดากัสการ์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 (1990) โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมีเขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ ต่อมา ในปี 2547 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งส่วนแยก (Outpost) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ณ กรุงอันตานานาริโว สาธารณรัฐมาดากัสการ์ เพื่อดูแลสาธารณรัฐมาดากัสการ์ และมาดากัสการ์ให้สถานเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์ ณ กรุงโตเกียวมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

การแลกเปลี่ยนการเยือน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ไทยได้ยกระดับส่วนแยกฯ เป็นสถานกงสุลใหญ่ โดยมีเขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ และแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์1 ตำแหน่ง เพื่อช่วยงานด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน อนึ่ง การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

  1. ฯพณฯ รมช. กต. ประพาส ลิมปะพันธุ์ เคยเยือนมาดากัสการ์ระหว่างวันที่ 11 - 13 กันยายน 2526 (1983)
  2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมาดากัสการ์เดินทางมาเยือนไทยเมื่อเดือนมกราคม 2540 (1997)
  3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาดากัสการ์ เดินทางมาร่วมการประชุม UNCTAD X ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543
  4. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รมช.พาณิชย์ เยือนมาดากัสการ์อย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2543
  5. ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยนำคณะภาครัฐและเอกชนเยือนมมาดากัสการ์ เมื่อเดือนมีนาคม 2544
  6. ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะทูตพิเศษ นำคณะภาครัฐและเอกชนเยือนมาดากัสการ์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อเดือนกันยายน 2545
  7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานมาดากัสการ์ เยือนไทยตามคำเชิญของผู้แทนการค้าไทย (นายประจวบ ไชยสาส์น) เมื่อเดือนตุลาคม 2545
  8. ผู้แทนการค้าไทย (นายประจวบ ไชยสาส์น) นำคณะภาครัฐและเอกชนเดินทางเยือนมาดากัสการ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545
  9. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และประมงเดินทางเดินทางเยือนไทย เมื่อเดือน มิ.ย. 2548
  10. ผู้บัญชาการตำรวจภูธรแห่งชาติ และผู้ว่าการจังหวัด Mahajanga เดินทางเยือนไทย
  11. พลโท Marcel Ranjeva รมว.กต. มาดากัสการ์และภริยา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 21-25 ส.ค. 2549

ความตกลงระหว่างไทย-มาดากัสการ์ 

  1. วันที่ 9 มิถุนายน 2538 (1995) ได้มีพิธีลงนามความตกลงการบินระหว่างไทย -มาดากัสการ์ โดยผู้แทนคณะทูตถาวร ณ นครนิวยอร์ก และในวันที่ 13 มิถุนายน 2539 (1996) รัฐสภาของมาดากัสการ์ได้ให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยการเดินอากาศระหว่างไทยกับมาดากัสการ์
  2. บันทึกความเข้าใจทางการค้าไทย-มาดากัสการ์ ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม 2543 (2000)
  3. เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2549 ได้มีการลงนามย่อร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-มาดากัสการ์ และร่างความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างการเยือนไทยของ รมว. กต. มาดากัสการ์

 


ผู้แทนทางการทูต


ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพริทอเรีย ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมมาดากัสการ์ (รอการจัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ฯ กงสุลใหญ่ และการประกาศเปลี่ยนแปลงเขตอาณาอย่างเป็นทางการ) คือ 
นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domdej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Hill Street,
Arcadia, Pretoria
Republic of South Africa
โทรศัพท์ (2712) 342-4516, 342-4600, 342-5470
โทรสาร (2712) 342-4805
E-mail : thailand@thaiembpta.co.za


ฝ่ายมาดากัสการ์
ขณะนี้ ฝ่ายมาดากัสการ์ ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์ประจำประเทศไทย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงโตเกียว คือ H.E. Jocelyn B. Radifera
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตมาดากัสการ์
The Embassy of the Republic of Madagascar
2-3-23, Moto-Azabu
Minato-ku, Tokyo 106-0046 Japan
โทรศัพท์ (813) 3446-7252, 3446-7254
โทรสาร (813) 3446-7078

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์มาดากัสการ์ประจำประเทศไทย
กงสุลกิตติมศักดิ์ Dr. Daniel E.H. Delevaux
(Honorary-Consul)
ที่อยู่ 27th floor, ITF 1 Building
160/660-661 Silom Road, Bangkok 10500
โทรศัพท์ : 0-2235-4113
โทรสาร : 0-2634-2513
e-mail : daniel@ksc.th.com

 

-------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ



 
ตารางที่ 1 : การค้าระหว่าง ไทย-มาดากัสการ์
 
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2553 2554 2555 2555(ม.ค.-ก.ย.) 2556(ม.ค.-ก.ย.)
ไทย - โลก          
มูลค่าการค้า 376,225.26 451,358.90 479,224.06 357,766.36 361,953.68
การส่งออก 193,298.14 222,579.16 229,236.13 172,056.49 172,139.76
การนำเข้า 182,927.12 228,779.74 249,987.93 185,709.88 189,813.92
ดุลการค้า 10,371.02 -6,200.58 -20,751.80 -13,653.39 -17,674.16
ไทย - มาดากัสการ์          
มูลค่าการค้า 39.51 48.99 57.61 47.48 45.08
การส่งออก 38.94 47.85 55.86 46.12 41.74
การนำเข้า 0.57 1.14 1.75 1.36 3.34
ดุลการค้า 38.36 46.71 54.11 44.76 38.40
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 2 : สินค้าส่งออกที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 น้ำตาลทราย 5.7 10.5 22.7 20.6 20.0
2 เม็ดพลาสติก 2.5 4.3 3.9 3.4 5.2
3 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 2.1 2.9 3.9 3.4 4.2
4 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 5.1 4.2 4.4 3.9 3.2
5 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง 0.6 0.3 0.1 0.1 2.6
6 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 2.6 3.4 2.6 2.5 2.3
7 เคมีภัณฑ์ 1.7 1.0 2.7 2.6 1.9
8 ผ้าผืน 4.5 3.3 3.2 3.0 1.8
9 เครื่องนุ่งห่ม 1.7 2.3 1.4 1.4 1.5
10 สิ่งทออื่นๆ 0.0 0.2 0.4 0.4 0.7
รวม 10 รายการ 26.7 32.3 45.4 41.3 43.3
อื่นๆ 12.2 15.6 10.4 10.2 4.6
รวมทั้งสิ้น 38.9 47.9 55.9 51.5 47.9

 



 
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้าที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 0.4 0.6 1.0 1.0 1.5
2 ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ - - - - 0.8
3 ด้ายและเส้นใย - 0.0 0.0 0.0 0.5
4 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 0.1 0.2 0.2 0.2 0.3
5 สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง 0.1 0.1 0.1 0.1 0.2
6 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.1
7 เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
8 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ - 0.1 0.0 0.0 0.0
9 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ - 0.0 - - 0.0
10 เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
รวม 10 รายการ 0.6 1.0 1.4 1.3 3.6
อื่นๆ 0.0 0.1 0.4 0.4 0.0
รวมทั้งสิ้น 0.6 1.1 1.7 1.7 3.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
สถานที่ติดต่อทางการทูต
 

ที่อยู่

 

The Embassy of the Republic of Madagascar

2-3-23 Moto-Azabu,
Minato-ku, Tokyo 106-0046,
Japan

Tel: (813) 3446-7252-4

Fax: (813) 3446-7078

E-mail: ambtyo@r5.dion.ne.jp

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา