ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ มอริเชียส

ธงและตราสัญลักษณ์
 
Flag COA
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)


 
แผนที่
 

แผนที่

ที่มา: CIA - The World Factbook

 

แผนที

ที่มา: CIA - The World Factbook

ที่มา : Mauritius Map, Political Map of Mauritius

 

 



 
ข้อมูลทั่วไป
 

ชื่ออย่างเป็นทางการ

สาธารณรัฐมอริเชียส หรือ Republic of Mauritius

ที่ตั้ง

เป็นประเทศเกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากฝั่ง ตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกาประมาณ 2,400 กิโลเมตร และห่างจากประเทศมาดากัสการ์ประมาณ 800 กิโลเมตร ละติจูดที่ 20 17 องศาใต้ ลองติจูดที่ 57 33 องศาตะวันออก

พื้นที่

2,040 ตารางกิโลเมตร รวมเกาะเล็กๆ อีก 3 เกาะ เข้าด้วยกัน คือ เกาะ Agalega เกาะ Cargados Carajos Shoals (Saint Brandon) และเกาะ Rodrigues มีแนวชายฝั่งยาว 177 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

ที่ราบชายฝั่งขนาดเล็กค่อยๆ ชันขึ้นเป็นภูเขาล้อมรอบที่ราบตอนกลาง

สภาพภูมิอากาศ

อากาศเขตร้อน มีลมการค้าตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน ฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง (เดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน) ช่วงฤดูร้อนอากาศร้อน ชื้น และมีฝนตก (พฤศจิกายน-พฤษภาคม)

ทรัพยากรธรรมชาติ

พื้นที่เพาะปลูก ปลา

ภัยธรรมชาติ

พายุไซโคลน (เดือนพฤศจิกายน-เมษายน)

จำนวนประชากร

1,322,238 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏคมคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

0.68%  (ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สัญชาติ

Mauritian (s)

เชื้อชาติ

คนเชื้อสายอินเดีย 68% ชนพื้นเมืองชาวคริโอล (Creole) 27% คนเชื้อสายจีน 3% และเชื้อสายฝรั่งเศส 2%

ศาสนา

ฮินดู 52% คริสต์ 28.3% อิสลาม 16.6 % และอื่น ๆ 3.1%

ภาษา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ ยังมีภาษาคริโอล ฝรั่งเศส ฮินดี อูรดู ฮักกา และโบจปูรี (Bhojpoori)

 

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางมาถึงเกาะมอริเชียสได้แก่ชาวโปรตุเกส ซึ่งเดินทางเข้ามาในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1598 นักแล่นเรือชาวเนเธอร์แลนด์ได้เดินทางมาถึงเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งในมหาสมุทรอินเดียและได้ตั้งชื่อว่ามอริเชียส(Mauritius) ตามชื่อของ Prince Maurice de Nassau ประมุขของพวกตน ชาวเนเธอร์แลนด์จึงเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในเกาะแห่งนี้ และเป็นผู้นำอ้อยเข้ามาปลูกในมอริเชียสก่อนที่จะย้ายออกไปเมื่อปี ค.ศ. 1710 และอีก 5 ปีต่อมา บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส (French East India Company) ได้เข้ามายึดครองเกาะมอริเชียสพร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น "Isle de France" ต่อมาได้สถาปนา Port Louis (ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้า Louis ที่ 15) เป็นเมืองหลวงของมอริเชียส การค้าได้เจริญเติบโตขึ้นตั้งแต่นั้นมา โดยมอริเชียสสามารถจัดส่งน้ำตาลและเหล้ารัม (rum) ให้แก่เกาะรอบ ๆ และเรือที่มาเยือนได้อย่างเพียงพอ ในปี ค.ศ. 1810 อังกฤษได้เข้าครอบครองมอริเชียสต่อจากฝรั่งเศส และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามสนธิสัญญาปารีส (The Treaty of Paris) เมื่อปี ค.ศ. 1814 เพื่อเป็นการยืนยันการครอบครองมอริเชียสของอังกฤษอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่งได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1868 ซึ่งถือว่าเป็นวันชาติมอริเชียสในปัจจุบัน มอริเชียสได้รับเอกราชและเข้าเป็นสมาชิกของเครือจักรภพอังกฤษเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1968 โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ เป็นองค์ประมุขและมีผู้สำเร็จราชการ (Governor - General) เป็นผู้แทนพระองค์ประจำอยู่ที่มอริเชียส โดยกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐแทน มอริเชียสเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1992 โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ


มอริเชียสเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่าง ๆ เช่น สหประชาชาติ สหภาพ
แอฟริกา (African Union - AU) ตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa - COMESA) ประชาคมเพื่อการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC) คณะกรรมาธิการร่วมมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Commission - IOC) และมอริเชียสเป็นประเทศหนึ่งในประเทศผู้ริเริ่มให้มีการก่อตั้งสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim - Association for Regional Cooperation IOR - ARC) ซึ่งมุ่งที่จะส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคในบรรดาประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย


เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในมอริเชียส โดย Sir Anerood Jugnauth ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของมอริเชียส เพื่อเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีและประมุขแห่งรัฐคนใหม่ของมอริเชียส ในวันที่ 7 ตุลาคม 2546 สืบต่อจากนาย Karl Offman ทั้งนี้ นาย Paul Berenger รองนายกรัฐมนตรี ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือผู้นำรัฐบาลแทน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าวในมอริเชียส เป็นความตกลงระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 ซึ่ง Sir Anerood Jugnauth หัวหน้าพรรค Mauritian Socialist Movement (MSM) ได้ตกลงไว้ว่าจะสละตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้แก่ นาย Paul Berenger รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค Mauritian Militant Movement (MMM) เมื่อเหลือระยะเวลาการบริหารประเทศอีก 2 ปี การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทางการเมืองครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของมอริเชียสที่มีการถ่ายโอนอำนาจการบริหารประเทศระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล

เมื่อเดือนเมษายน 2548 นาย Paul Berenger นายกรัฐมนตรีมอริเชียสได้ประกาศยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฝ่ายค้าน Social Alliance ชนะการเลือกตั้ง ได้ที่นั่ง 38 ที่นั่งจาก 62 ที่นั่งในรัฐสภา ส่งผลให้นายแพทย์ Navinchandra Ramgoolam ผู้นำพรรค Social Alliance ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมอริเชียสระหว่างปี 2538-2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีมอริเชียสคนใหม่ 

การเมืองภายในมอริเชียสไม่มีลักษณะที่พรรคการเมืองใดผูกขาดอำนาจทางการเมืองเป็นเวลานาน นอกจากนี้ พรรคการเมืองต่าง ๆ ในมอริเชียสต่างมีนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เหมือนกัน คือ การพัฒนาเศรษฐกิจในแนวทางทุนนิยม ความร่วมมือระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆ ดังกล่าว โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ทำให้มอริเชียสมีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแรง ทั้งนี้ รัฐบาลมอริเชียสมีเป้าประสงค์ที่จะพัฒนาประเทศตามรูปแบบของประเทศสิงคโปร์ อาทิ การพัฒนาท่าเรือเสรี การบริการด้านเงินกู้ต่างประเทศ (offshore banking financial service) การพัฒนาฐานการผลิต และการปรับปรุงอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศให้ทันสมัย

 

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รูปแบบการปกครอง

สาธารณรัฐ (Republic) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข แห่งรัฐ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา (National Assembly) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

เมืองหลวง

กรุงพอร์ตหลุยส์ (Port Louis)

การแบ่งเขตการปกครอง

9 เขต (districts) และ 3 เขตในอาณัติ (dependencies) ได้แก่ (1.) Black River (2.) Flacq (3.) Grand Port (4.) Moka (5.) Pamplemousses (6) Plaines Wilhems (7.) Port Louis (8.) Riviere du Rempart (9.) Savanne
3 เขตในอาณัติ ได้แก่ (1.) Agalega Islands (2.) Cargados Carajos Shoals (3.) Rodrigues

วันที่ได้รับเอกราช

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968)

รัฐธรรมนูญ

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) แก้ไขปรับปรุงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)

ระบบกฎหมาย

มีรากฐานมาจากประมวลกฎหมายของฝรั่งเศส (French Civil Law System) ประกอบกับกฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษ (English Common Law) ในบางกรณี ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) โดยมีการสงวนสิทธิ์บางประการ

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา (National Assembly) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐบาลตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีขึ้นในปี 2013
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว (Unicameral National Assembly) สมาชิก 70 ที่นั่ง 62 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้ง 8 ที่นั่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้เป็นตัวแทนชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2010  
ฝ่ายตุลาการ ระบบศาลฎีกา (Supreme Court)  

Political Map of Mauritius

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

20.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล

15,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

3.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 4.5%
  • ภาคอุตสาหกรรม 23.5%
  • ภาคการบริการ 72% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการว่างงาน

8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

4.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร   

อ้อย ชา ข้าวโพด มันฝรั่ง เมล็ดพืชประเภทถั่ว ปศุสัตว์ แพะ

อุตสาหกรรม

แปรรูปอาหาร (ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานน้ำตาล) สิ่งทอ เสื้อผ้า ทำเหมือง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก อุปกรณ์การขนส่ง เครื่องมือที่ไม่ใช่เครื่องไฟฟ้า การท่องเที่ยว

อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม

3.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

ขาดดุล 1.433 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

2.631 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออก     

น้ำตาล กากน้ำตาล เสื้อผ้าและสิ่งทอ ดอกไม้ตัด

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

สหราชอาณาจักร 21.3% ฝรั่งเศส 17.8% สหรัฐอเมริกา 10.5% มาดากัสการ์ 6.2% อิตาลี 8.1% สเปน 7.1% แอฟริกาใต้ 7.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

5.111 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้า

สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องประกอบการพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์ อาหาร น้ำมัน และผลิตภัณฑ์เคมี

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ

อินเดีย 25.2% จีน 13.6% ฝรั่งเศส 9.1% แอฟริกาใต้ 6.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

มอริเชียสรูปี (Mauritian rupee - MUR)

สัญลักษณ์เงิน

MUR

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนได้ที่นี่)

ตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 2511 มอริเชียสได้พัฒนาจากประเทศที่มีรายได้ต่ำ และเน้นเกษตรกรรม เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจหลากหลาย และมีรายได้ปานกลาง โดยภาคอุตสาหกรรม การเงิน และการท่องเที่ยวมีการเจริญเติบโต และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 6 เป็นส่วนใหญ่ ความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้จากการเฉลี่ยรายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น ประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น อัตราการตายของทารกต่ำลง และโครงสร้างพื้นฐานที่มีการปรับปรุงขึ้นอย่างมาก พื้นที่ประมาณร้อยละ 90 ใช้ในการปลูกอ้อย ซึ่งเป็นรายได้จากการส่งออกถึงร้อยละ 25

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญของประเทศซึ่งมุ่งไปที่การลงทุนจากต่างประเทศ เป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งส่งผลให้มอริเชียสมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจล้ำหน้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา โดยมอริเชียสสามารถดึงดูดบริษัทต่างชาติกว่า 9,000 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งค้าขายกับอินเดียและแอฟริกาใต้ และการลงทุนเฉพาะในภาคธนาคารอย่างเดียวสูงถึงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในขณะนี้ มีธุรกิจให้บริการด้านการเงินจากต่างประเทศประมาณ 18,000 บริษัท เปิดกิจการอยู่ในมอริเชียส และจากการที่มอริเชียสมีภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอที่แข็งแกร่งและการบริหารการเงินที่ดี ทำให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากพระราชบัญญัติ Africa Growth and Opportunity Act (AGOA) ของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมอริเชียสยังเห็นว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอ และอ้อยและน้ำตาล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานดั้งเดิมของประเทศ ไม่สามารถสร้างงานและรายได้ให้แก่ชาวมอริเชียสได้เพียงพอ รัฐบาลจึงเน้นการพัฒนาสาขาเทคโนโยลีสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนามอริเชียสให้เป็นเกาะแห่งคอมพิวเตอร์ (cyber island) รัฐบาลกำลังกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศในด้านเทคโนโลยีข่าวสาร โดยมีโครงการลงทุนก่อสร้าง "cyber city" มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับธุรกิจสื่อสารและคอมพิวเตอร์ในมอริเชียสด้วย

ในส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น มอริเชียสเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากเดินทางไปมอริเชียส ส่งผลให้รัฐบาลสามารถดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ด้านการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

ปัญหาอัตราการว่างงานเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญประการหนึ่งของมอริเชียส แม้ว่าในปีที่ผ่านมาอัตราการจ้างงานได้เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการลงทุนจากต่างชาติ ได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ ในมอริเชียสมากยิ่งขึ้น แต่จำนวนคนงานที่ทำงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องถิ่นยังคงมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แรงงานไร้ฝีมือของมอริเชียสจะประสบปัญหาว่างงานมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

ไทยกับมอริเชียสสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2522 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย มีเขตอาณาครอบคลุมมอริเชียส และนาย Andrew Sek Sum เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำมอริเชียส ส่วนฝ่ายมอริเชียสได้มอบหมายให้ สถานเอกอัครราชทูตมอริเชียสประจำประเทศมาเลเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย จากข้อมูลที่ได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียเมื่อเดือนมีนาคม 2549 มีคนไทยที่อาศัยอยู่ในมอริเชียสจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 25 คน โดยส่วนใหญ่มีอาชีพแม่บ้านและกิจการร้านอาหาร

ด้านการเมือง

มอริเชียสสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศเสมอมา โดยได้สนับสนุนไทยในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim - Association for Regional Cooperation : IOR - ARC) ซึ่งมอริเชียสเป็นหนึ่งในประเทศผู้ริเริ่มให้มีการก่อตั้งสมาคมดังกล่าว

ด้านเศรษฐกิจ

มูลค่าการค้าระหว่างไทยและมอริเชียสตั้งแต่ปี 2546-2549 เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยไทย เป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา ในปี 2549 การค้าระหว่างไทย-มอริเชียสมีมูลค่าทั้งสิ้น 1,970 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าการส่งออกของไทยคิดเป็น 1,820.1 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 149.9 ล้านบาท สินค้าออกสำคัญของไทยไปมอริเชียส ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ผ้าผืน สำหรับสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากมอริเชียส ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

การเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

-ระดับรัฐบาล

  1. ไทยได้ส่งผู้แทนพิเศษไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองเอกราชของมอริเชียสเมื่อปี 2511 แม้ในขณะนั้น ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
  2.  ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนมอริเชียส วันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2528
  3. นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนมอริเชียสเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านการเมือง การค้า การลงทุน และความร่วมมือทางวิชาการ วันที่ 21-24 สิงหาคม 2540
  4. ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้แทนพิเศษนำคณะภาครัฐและเอกชน เยือนมาดากัสการ์และมอริเชียส ระดับอื่นๆวันที่ 17-25 กันยายน 2545
  5. คณะสำรวจข้อเท็จจริง (fact-finding) ของกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางเยือนมอริเชียสเมื่อเดือนกันยายน 2539 และเดือนกุมภาพันธ์ 2542
  6. คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ (กรมวิเทศสหการ และกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร) กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) เยือนมอริเชียสเพื่อหารือและดูงานด้านท่าเรือเสรี ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน 2546 ซึ่งพบว่า มอริเชียสมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตและการแปรรูปสินค้าของไทย เช่น ด้านการประมง
  7. ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียใต้ฯ และกรมวิเทศสหการ) เดินทางเยือนประเทศแอฟริกาใต้ มอริเชียส มาดากัสการ์ และสวาซิแลนด์ ระหว่างวันที่ 15-26 สิงหาคม 2547 ร่วมกับคณะประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ฝ่ายมอริเชียส

-ระดับรัฐบาล

  1. นาย Anerood Jugnauth อดีตนายกรัฐมนตรีมอริเชียส เยือนไทยเป็นการส่วน วันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2534
  2. นาย V. Bunwaree รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอริเชียส เยือนไทยพร้อมด้วยคณะ 4 คน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน วันที่ 30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2540 และวันที่ 21-24 กุมภาพันธ์ 2542 เยือนไทยเป็นครั้งที่ 2
  3. นาย Rajkeswur Kailash Purryag รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้ามอริเชียส เดินทางมาเข้าร่วมประชุม UNCTAD X ที่กรุงเทพฯ และได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2543
  4. นาย Georges Pierre Lesjongard รัฐมนตรีว่าการกระทรวง บ้านและที่ดิน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หัตถกรรมและส่วนที่ไม่เป็นทางการ (Housing and Lands, Small and Medium Enterprises, Handicraft, and the Informal Sector) ของมอริเชียสเยือนไทย เพื่อนำคณะนักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐ จัดงาน Thai-Mauritian Business Forum ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และดูงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมของไทย และได้เข้าเยี่ยมคารวะและหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 21-24 กรกฎาคม 2547
  5.  นาย Anil Kumarsingh Gayan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและสันทนาการ และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของมอริเชียส เข้าร่วมการประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีในหัวข้อ "ทางเลือกเพื่อการพัฒนา: เศรษฐกิจพอเพียง" วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2547

ความตกลงที่สำคัญ

  • ความตกลงเพื่อยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทยกับมอริเชียส ลงนามเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2541
  • บันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับ The Financial Intelligence Unit ของมอริเชียส) ลงนามและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547
  • ความตกลงบริการเดินอากาศไทย-มอริเชียส (ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและอยู่ระหว่างการรอลงนามจากทั้งสองฝ่าย)
  • การทำความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานของไทยกำลังเร่งรัดการพิจารณา

ผู้แทนทางการทูต

ฝ่ายไทย

 

เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐมอริเชียส ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย                      นายโดมเดช บุนนาค

Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel.       (27-12) 342-1600, 342-4516, 342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax.      (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za

Consular Info : visa@thaiembassy.co.za

Trade Info : trade@thaiembassy.co.za

 Website : http://www.thaiembassy.co.za

 

ฝ่ายมอริเชียส


อุปทูตสาธารณรัฐมอริเชียสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ คือ Mr. D.P.Gokulsing 
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐมอริเชียส ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
The Embassy of the Republic of Mauritius
Lot W17 - b1 & c1,
17th Floor, West Block,
Wisma Selangor Dredging,
Jalan Ampang,
50450 Kuala Lumpur,
Malaysia
Tel. (603) 2163 6301
(603) 2163 6306
Fax. (603) 2163 6294

 

 

------------------------------------------------------------------------

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ



 
ตารางที่ 1 : การค้ารวม
 
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2553 2554 2555 2555(ม.ค.-ก.ย.) 2556(ม.ค.-ก.ย.)
ไทย - โลก          
มูลค่าการค้า 376,225.26 451,358.90 479,224.06 357,766.36 361,953.68
การส่งออก 193,298.14 222,579.16 229,236.13 172,056.49 172,139.76
การนำเข้า 182,927.12 228,779.74 249,987.93 185,709.88 189,813.92
ดุลการค้า 10,371.02 -6,200.58 -20,751.80 -13,653.39 -17,674.16
ไทย - มอริเชียส          
มูลค่าการค้า 134.41 103.04 97.67 73.69 73.89
การส่งออก 125.83 96.07 89.14 66.41 69.09
การนำเข้า 8.59 6.97 8.52 7.29 4.79
ดุลการค้า 117.24 89.10 80.62 59.12 64.30

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 2: สินค้าส่งออกที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 น้ำตาลทราย 3.3 8.2 9.2 8.2 13.3
2 เม็ดพลาสติก 8.4 11.9 13.0 11.2 10.4
3 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 9.0 3.5 5.2 4.9 7.1
4 ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะสามัญ 6.9 7.3 6.6 6.4 5.9
5 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 2.9 3.1 3.8 3.4 4.4
6 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 4.8 6.2 4.9 4.7 3.9
7 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 3.2 6.5 7.2 7.2 3.3
8 เส้นใยประดิษฐ์ 2.7 3.1 3.5 3.5 2.7
9 เครื่องนุ่งห่ม 1.6 1.8 2.4 2.4 2.6
10 ผ้าผืน 7.9 5.2 3.2 3.1 2.5
รวม 10 รายการ 50.9 56.8 59.1 55.0 56.2
อื่นๆ 74.9 39.3 30.1 28.4 29.4
รวมทั้งสิ้น 125.8 96.1 89.1 83.3 85.7
 
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้าที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง 4.9 2.6 3.3 3.3 3.7
2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 0.6 1.0 1.3 1.2 1.3
3 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ - 0.0 0.3 0.2 0.6
4 เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 1.0 0.5 1.2 1.1 0.4
5 สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 0.7 1.6 1.6 1.5 0.3
6 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 0.4 0.8 0.3 0.3 0.3
7 แผงวงจรไฟฟ้า 0.0 - 0.1 0.0 0.2
8 เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การ 0.1 0.1 0.1 0.1 0.2
9 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 0.1 0.0 0.1 0.0 0.1
10 เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 0.0 0.0 0.1 0.0 0.0
รวม 10 รายการ 7.8 6.6 8.4 7.9 7.1
อื่นๆ 0.8 0.4 0.1 0.1 0.1
รวมทั้งสิ้น 8.6 7.0 8.5 8.0 7.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
สถานที่ติดต่อทางการทูต
 

ที่อยู่

 

The Embassy of the Republic of Mauritius

17th Floor West Block,
Wisma Selangor Dredging,
Jalan Ampang, 50450 Kuala Lumpur,
Malaysia

Tel: (603) 2163-6301, 2163-6306

Fax: (603) 2163-6294

E-mail: maurhckl@streamyx.com

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา

ปี 2011

ปี 2010