ข้อมูลประเทศเป้าหมาย
ประเทศ ยูกันดา
ชื่อทางการ |
สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda) |
ที่ตั้ง |
บริเวณเส้นศูนย์สูตร เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา และอยู่ทางตะวันตกของประเทศเคนยา |
พื้นที่ |
241,038 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 199,100 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 43,938ตารางกิโลเมตร |
อาณาเขต |
2,698 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 765 กิโลเมตร เคนยา 933 กิโลเมตร รวันดา 169 กิโลเมตร ซูดาน 435 กิโลเมตร แทนซาเนีย 396 กิโลเมตร |
สภาพภูมิประเทศ |
ส่วนมากเป็นที่ราบสูงล้อมรอบด้วยเทือกเขา |
สภาพภูมิอากาศ |
มีอากาศแบบเขตทรอปิคอล ส่วนมากจะมีฝนตก และมีช่วงที่อากาศแห้งสองช่วง (ได้แก่ช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ และช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงกรกฎาคม) ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศแบบกึ่งแห้ง |
ทรัพยากรธรรมชาติ |
ทองแดง แร่โคบอลต์ พลังงานน้ำ หินปูน เกลือ เกลือ และผืนดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก |
ภัยธรรมชาติ |
N/A |
จำนวนประชากร |
34,758,809 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556) |
อัตราการเติบโตของประชากร |
3.32% (ค่าประมาณ พ.ศ.2556) |
สัญชาติ |
ยูกันดา |
เชื้อชาติ |
บากันดา 16.9% บานยาโคล 9.5% บาโซกา 8.4% บาคีกา 6.9% อิเตโซ 6.4% ลันกี 6.1% อโคลี 4.7% บากิซู 4.6% ลักบารา 4.2% บันโยโร 2.7% และอื่นๆ 29.6% (สัมมะโนประชากร พ.ศ.2545) |
ศาสนา |
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 41.9% คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ 42% มุสลิม 12.1% อื่นๆ 3.1% และไม่มีศาสนา 0.9% (สัมมะโนประชากร พ.ศ.2545) |
ภาษา |
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ Luganda, Kiswahili, Luo, Lunyoro -Lutoro และ Bantu เป็นภาษาท้องถิ่น |
ประวัติศาสตร์
ยูกันดาตกเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี 2436 (ค.ศ. 1893) จากข้อตกลงระหว่างกษัตริย์แห่ง Buganda ซึ่งเป็นเผ่าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดกับรัฐบาลอังกฤษ หลังจากการเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ อิทธิพลทางเศรษฐกิจของชนผิวขาวจากเคนยาซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในยูกันดาเริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้นำ Buganda ไม่พอใจและระแวงว่าคนเหล่านี้จะมีอำนาจครอบงำทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อมีการเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาตะวันออก (East African Federation) ซึ่งเป็นรัฐเอกราชใหม่ที่จะรวมอดีตอาณานิคมอังกฤษในแอฟริกาตะวันออกเข้าด้วยกัน ผู้นำ Buganda จึงคัดค้านข้อเสนอนี้ และต้องการที่จะแยกตัวออกเป็นประเทศเอกราชต่างหาก เพราะเกรงว่าชนผิวขาวในเคนยาจะมีอิทธิพลเหนือยูกันดา ข้อเรียกร้องดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งกับนักการเมืองจากเผ่าอื่น ซึ่งต้องการให้ยูกันดาได้รับเอกราชแล้วรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว ผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ นาย Milton Obote หัวหน้าพรรค Uganda People\\'s Congress (UPC) ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ยูกันดาได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2505 (ค.ศ. 1962) และนาย Obote ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญฉบับแรกกำหนดให้ยูกันดาเป็นสหพันธรัฐ มีลักษณะพิเศษ คือ ประกอบด้วยอาณาจักรต่าง ๆ โดยอาณาจักรที่สำคัญที่สุด คือ Buganda ต่อมาในปี 2510 (ค.ศ. 1967) นาย Obote ได้ยึดอำนาจตั้งตนเป็นประธานาธิบดี พร้อมกับยกเลิกการปกครองแบบสหพันธรัฐ อย่างไรก็ดี นาย Obote เป็นประธานาธิบดีได้เพียง 4 ปีเศษ ก็ถูกพลตรี Idi Amin ทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2515 (ค.ศ. 1972) ประธานาธิบดี Amin ปกครองประเทศแบบเผด็จการ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้ประกาศสงครามเศรษฐกิจยึดทรัพย์สินของเอกชนเป็นของรัฐประมาณ 3,500 ธุรกิจ มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขับไล่ชาวเอเชียประมาณ 75,000 คน ทำให้คนงานซึ่งทำงานในสาขาพาณิชย์และอุตสาหกรรมว่างงานจำนวนมาก เศรษฐกิจของยูกันดา (ซึ่งหลังได้รับเอกราช เคยเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางของแอฟริกาตะวันออก) เริ่มตกต่ำ ผลผลิตลดลงร้อยละ 16 เกิดภาวะเงินเฟ้อ ต่อมาในปี 2522 (ค.ศ. 1979) กลุ่มต่อต้านโดยความช่วยเหลือของกองทหารแทนซาเนียสามารถโค่นล้มอำนาจประธานาธิบดี Amin ได้สำเร็จ นาย Obote กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งโดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2523 (ค.ศ. 1980) แต่ความขัดแย้งระหว่างเผ่าที่ดำรงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เผ่า Acholi ซึ่งอยู่ทางเหนือ ไม่พอใจต่อการที่นาย Obote ให้ตำแหน่งสำคัญกับคนในเผ่าอื่นจึงทำให้พลโท Tito Okello ซึ่งเป็นคนเผ่า Acholi ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2528 (ค.ศ. 1985) คณะทหารที่ปกครองประเทศได้กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนไม่พอใจและหันไปสนับสนุนขบวนการต่อต้านแห่งชาติ (National Resistance Movement - NRM) ซึ่งมีนาย Yoweri Museveni เป็นผู้นำ นาย Museveni เคยเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของประธานาธิบดี Obote ระหว่างปี 2510-2515 (ค.ศ. 1967-1972) และหลบหนีไปแทนซาเนียในช่วงที่ประธานาธิบดี Amin ก่อการรัฐประหาร และได้ก่อตั้งขบวนการ NRM ขึ้น ขบวนการ NRM สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลของพลโท Okello ได้ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2529 (ค.ศ. 1986) และนาย Museveni เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลจากพรรคต่าง ๆ รัฐบาลประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และอนุญาตให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังคงอยู่ได้แต่ให้ระงับกิจกรรมชั่วคราวรัฐบาลของประธานาธิบดี Museveni มีเป้าหมายอันดับแรก คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติและฟื้นฟูการปกครองด้วยการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากผู้แทนหลายฝ่าย เนื่องจากยูกันดามีขบวนการหลายกลุ่มและแตกแยกสู้รบกันเป็นเวลา 20 ปี ทำให้บ้านเมืองถูกทำลายและเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ
รัฐบาลประกอบด้วยสมาชิกจากขบวนการ National Resistance Movement (NRM), Uganda Patriotic Movement, Democratic Party, Uganda People\\'s Congress, Conservative Party และขบวนการกองโจรเล็ก ๆ 2 องค์การ รัฐบาลทหารชั่วคราวได้ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2529 (ค.ศ. 1986) รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สภา National Resistance Council ประกอบด้วยสมาชิก 268 คน ซึ่งนำโดยประธาน คือ ประธานาธิบดีเดิมขบวนการ NRM ประกาศว่าจะปกครองประเทศเพียง 4 ปี แต่ในเดือนตุลาคม 2532 (ค.ศ. 1989) เนื่องจากสภาวะสงครามทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องขอเวลาอีก 5 ปี เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และการขอยืดอายุรัฐบาลประธานาธิบดี Museveni เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เพราะเห็นว่าไม่มีใครที่จะปกครองประเทศแทนประธานาธิบดี Museveni ได้ รัฐบาลได้รับความนิยมจากประชาชนในด้านความปลอดภัย เศรษฐกิจเสรีและนำความสงบสุขสู่ยูกันดา
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2539 (ค.ศ. 1996) ประธานาธิบดี Museveni ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง มีวาระ 5 ปี และสมาชิกของขบวนการ NRM ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนที่นั่ง 276 ที่นั่ง จึงทำให้ขบวนการ NRM มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ปัจจุบันยูกันดากำลังประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางตอนเหนือของประเทศ โดยปัญหาดังกล่าวเริ่มต้นในปี 2530 (ค.ศ. 1987) เนื่องมาจากมีการจัดตั้งกลุ่มกบฏ Lord Resistance Army (LRA) นำโดยนาย Joseph Kony ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มรัฐบาลยูกันดาเพื่อก่อตั้งรัฐบาล Theocratic ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ยึดถือพระเจ้าหรือเทพเจ้าเป็นหลัก ถึงแม้ว่า LRA ไม่ได้เป็นภัยคุกคามสำหรับรัฐบาลยูกันดาก็ตาม แต่ก็ได้ก่อความไม่สงบทางตอนเหนือของยูกันดาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ปัจจุบันมีชาวยูกันดาซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือจำนวนมากต้องประสบปัญหาความยากจน ขาดแคลนอาหาร มีอัตราการตายของเด็กสูง มีจำนวนผู้พลัดถิ่นสูง นอกจากนี้ เมื่อปลายปี 2547 (ค.ศ. 2004) ได้มีรายงานด้วยว่า LRA ได้ใช้กำลังกดขี่ทางเพศต่อเด็ก รวมทั้งยังมีเด็กอีกจำนวน 16,000 - 26,000 คน ถูกใช้งานเป็นทหาร (Child Soldiers)
ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 (ค.ศ. 2006) ประธานาธิบดี Museveni ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 59.3 โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี
ธงและตราสัญลักษณ์
|
||||||
|
||||||
แผนที่
|
||||||
ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ug.html
ที่มา: http://www.wordtravels.com/Travelguide/Countries/Uganda/Map
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
|
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภายหลังได้รับเอกราชในปี 2510 สามประเทศในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของอังกฤษ ได้แก่ ยูกันดา เคนยา และแทนซาเนียได้ร่วมกันจัดตั้ง EAST AFRICAN COMMUNITY (EAC) แต่ก็ต้องล้มเลิกไปในปี 2520 เนื่องจากความขัดแย้งกันทางการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 กลุ่ม EAC ได้ถือกำเนิดขึ้นอีกเมื่อทั้ง 3 ประเทศร่วมลงนามในการจัดตั้ง EAC ขึ้นอีกครั้ง ยูกันดาเป็นสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติและเข้าเป็นสมาชิกองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2533 ประธานาธิบดี Museveni ได้รับเลือกเป็นประธาน OAU เป็นเวลาหนึ่ง และสมาชิกในกลุ่ม PTA (Preferential Trade Area for East and Southern Africa) เมื่อเดือนธันวาคม 2530 มีการประชุมประเทศในกลุ่ม PTA ที่กรุงกัมปาลา มีมติให้ประเทศสมาชิกลดภาษีศุลกากรลงร้อยละ 10 ทุก ๆ 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2530 ถึงเดือนตุลาคม 2539 นอกจากนี้ ยูกันดายังเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย ยูกันดาได้ประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศภายใต้ LOME CONVENTION ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการค้าและความช่วยเหลือระหว่าง EU และแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก โดยสินค้าเข้าบางชนิดในประเทศกลุ่ม EU จะได้รับการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การสูญเสียจากการที่ราคาสินค้าตกต่ำและเพื่อกิจการด้านเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 ยูกันดาและประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาตลาดร่วมแห่งภูมิภาครัฐแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market for Eastern and Southern African States : COMESA) ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศที่ประสบภาวะสงครามกลางเมืองเป็นเวลานาน ยูกันดาจึงต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Museveni แถลงว่า รัฐบาลยูกันดายินดีที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านที่จำเป็นและสำคัญทางเศรษฐกิจเท่านั้น เช่น ในด้านการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2530 ประเทศผู้ให้ต่าง ๆ ได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ยูกันดามากขึ้น โดยประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดาที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยูกันดายังได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการนำเข้าสินค้าจำเป็นจำนวน 20.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดามากที่สุดในภูมิภาค SUB-SAHARA เดนมาร์ก (12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือ 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ ยูกันดาในการลดภาระหนี้สินในการนำเข้าสินค้าจำเป็น อาทิ ปิโตรเลียม เครื่องมือก่อสร้างถนน อุปกรณ์ไฟฟ้า รถประจำทาง เครื่องจักรกล เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ อุปกรณ์โทรคมนาคม ฯลฯ จากการเยือนยูกันดาของประธานาธิบดี Clinton ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2541 นั้นประธานาธิบดี Clinton ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดาในด้านการศึกษา โภชนาการ สาธารณสุขและด้านแรงงานแก่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา รวมมูลค่า 198.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การประกาศให้ความช่วยเหลือดังกล่าวที่ประเทศยูกันดา นับว่าสหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญแก่ยูกันดามากขึ้น นอกจากนี้ ยูกันดายังมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภูมิภาค (Great Lakes) รวมถึงการส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างกัน และได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Entebbe Summit for Peace and Prosperity ขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2541 โดยประธานาธิบดี Clinton ได้เข้าร่วมการประชุมพร้อมกับผู้นำสูงสุดและผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประธานาธิบดี Museveni แห่งยูกันดา ประธานาธิบดี Danial arap Moi แห่งเคนยา ประธานาธิบดี Benjamin W. Mkapa แห่งแทนซาเนีย ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu แห่งรวันดา ประธานาธิบดี Laurent Kabila แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก นายกรัฐมนตรี Meles Zenawi แห่งเอธิโอเปีย นาย Murerwa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของซิมบับเว ซึ่งผู้นำและผู้แทนประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์การประชุม Kampala Summit Communigue ด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมุขและคณะรัฐบาล
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Update กันยายน 2556
Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments
ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-u/uganda.html
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
|
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) |
50.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
GDP รายหัว (GDP per Capita) |
1,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
อัตราการเติบโตของ GDP | 4.2% (ค่าประมาณพ.ศ. 2555) |
GDP แยกตามภาคการผลิต |
|
อัตราการว่างงาน |
ไม่มีข้อมูล |
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices) |
14.7% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555) |
หนี้สาธารณะ |
26.8% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
ผลผลิตทางการเกษตร |
กาแฟ ชา ฝ้าย ด้ายและเส้นใย มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ข้าวโพด ไม้ตัดดอก เนื้อวัว เนื้อแพะ นม สัตว์ปีก |
อุตสาหกรรม |
น้ำตาล กลั่นเบียร์ ยาสูบ ผ้าฝ้ายและสิ่งทอ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า |
ดุลบัญชีเดินสะพัด |
-2.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ.2555) |
มูลค่าการส่งออก |
2.735 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
สินค้าส่งออกที่สำคัญ |
ปลา และผลผลิตการเกษตร เช่น ชา กาแฟ ฝ้าย |
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ |
เคนยา 11.6%, รวันดา 9.7%, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 9%, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 8.8%, เนเธอร์แลนด์ 7%, เยอรมนี 6.7%, เบลเยี่ยม 4.6%, อิตาลี 4.3% (ค่าประมาณพ.ศ.2554) |
มูลค่าการนำเข้า |
5.528 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) |
สินค้านำเข้าที่สำคัญ |
อุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์จากผัก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม |
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ |
เคนยา 14.9% จีน 9.3% สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 14% อินเดีย 11.1%แอฟริกาใต้ 5.6% ญี่ปุ่น 4.4% (ค่าประมาณพ.ศ. 2554) |
สกุลเงิน |
ยูกันดาชิลลิงส์ - Ugandan Shillings |
สัญลักษณ์เงิน |
UGX |
อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา |
ภาวะเศรษฐกิจ
- การปฏิรูปทางเศรษฐกิจในยูกันดาดำเนินมาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ โดยภาคเกษตรกรรมลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการทวีความสำคัญขึ้น ปัจจุบันภาคบริการมีความสำคัญที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยได้รับผลดีจากการเติบโตของภาคโทรคมนาคม โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ และการบริการเพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี อุปสงค์ที่มี เกิดจากการไหลเข้าของเงินช่วยเหลือและให้เปล่าจากต่างประเทศเป็นสำคัญ
- ยูกันดามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจถึงแม้ว่าจะยังน้อยกว่าเคนยา
สินค้าที่มีการเจริญเติบโตมาก คือ สินค้าอุปโภคและสินค้าทุน มีศักยภาพด้านการลงทุนในสาขาการเกษตร เหมืองแร่ ป่าไม้ อาหารแปรรูป และสิ่งทอ - ยูกันดาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้กรอบ Cotonou Agreement ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการค้าและความช่วยเหลือระหว่างสหภาพยุโรป กับภูมิภาคแอฟริกาแคริบเบียน และแปซิฟิก โดยสามารถนำสินค้าเข้าบางชนิดจากกลุ่มสหภาพยุโรปโดยได้รับการยกเว้นภาษี ได้รับความช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การพัฒนากิจการด้านเหมืองแร่
- ยูกันดาและประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern African States : COMESA) นอกจากนี้ ยูกันดาเป็นสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community: EAC) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2542 ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ ยูกันดา เคนยา และแทนซาเนีย โดย EAC มีวัตถุประสงค์ที่จะให้สมาชิกทั้ง 3 ประเทศ ร่วมมือกันมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจ การค้า และด้านการพัฒนา
ตารางที่ 1 : การค้ารวม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 2 : สินค้าส่งออก
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้า
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน |
ด้านการเมือง
ประเทศไทยและสาธารณรัฐยูกันดาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2528 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อเดือนมีนาคม 2528 ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำยูกันดาอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่ฝ่ายยูกันดาได้มอบหมายให้ข้าหลวงใหญ่ยูกันดาประจำกรุงนิวเดลีเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายยูกันดาได้ขอเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐยูกันดาประจำประเทศไทย และแต่งตั้งนายทวี บุตรสุนทรให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย ส่วนฝ่ายไทยได้แต่งตั้งนาย James Mulwana เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2536
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
- นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนยูกันดา ระหว่างวันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2548 เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและยูกันดาร่วมทั้งเป็นประธานเปิดศูนย์กระจายสินค้าไทย (Thai Distribution Center) ณ กรุงกัมปาลา
ฝ่ายยูกานดา
- คณะผู้แทนหอการค้าและอุตสาหกรรมยูกันดาเยือนไทยระหว่างวันที่ 11-23 กรกฎาคม 2535 ตามคำเชิญของ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
- ประธานาธิบดียูกันดาขอเยือนไทยอย่างเป็นทางการช่วงระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2536 แต่งดการเยือน เนื่องจากมีภารกิจภายในประเทศ
- นาย Ally M. Kirunda - Kivejinja รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีกิจการต่างประเทศ เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2536 เพื่อมอบสาสน์จากประธานาธิบดียูกันดาและขอเสียงสนับสนุนให้แก่ผู้แทนยูกันดาซึ่งสมัครเป็นรองผู้อำนวยการ International Organization for Migration (IOM) และได้แสดงความประสงค์ที่จะเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนยูกันดาด้วย
- เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2537 นาย Richard H. Kaijuka รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมยูกันดา และนาย James Mulwana กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดา ได้เข้าพบ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ในการนี้ นาย Kaijuka ได้ชักชวนให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนในยูกันดา และได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทยเยือนยูกันดาด้วย
- ประธานาธิบดียูกันดาประสงค์จะเยือนไทยช่วงก่อนหรือหลังการเยือนประเทศ
มาเลเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม 2537 แต่ฝ่ายไทยยังไม่พร้อมที่จะรับ - ประธานาธิบดียูกันดาประสงค์จะเยือนไทยในลักษณะ Working Visit ระหว่าง วันที่ 19-21 เมษายน 2541 (ต่อเนื่องจากการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ) แต่ฝ่ายไทยยังไม่พร้อมที่จะรับ
- นาย Moses Ali รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยว การค้าและอุตสาหกรรมยูกันดาได้เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 11-20 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ในโอกาสนี้ นาย Moses Ali ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Heads of State and Government High-Level Round Table ด้วย
- นาย Gerald Sendaula รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง การวางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจยูกันดาและคณะเยือนไทยระหว่างวันที่ 11 - 15 สิงหาคม 2545 เพื่อชักชวนนักธุรกิจไทยไปลงทุนในยูกันดา
- นาย Yoweri Museveni ประธานาธิบดียูกันดา เยือนไทยระหว่างวันที่ 25 - 28 กันยายน 2546 ก่อนเดินทางเข้าร่วมประชุม Tokyo International Conference on African Development หรือ TICAD ครั้งที่ 3 ณ ประเทศญี่ปุ่น และได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับผู้นำระหว่างสองประเทศ และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังได้พบปะผู้แทนภาคเอกชนไทย อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (the Joint-Standing Committee on Trade, Industries and Banking) เพื่อส่งเสริมการลงทุนในยูกันดาในด้านต่าง ๆ
- นาย Yoweri Museveni เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2547 ซึ่งไทยและยูกันดาเป็นสองประเทศที่ได้รับคำชมเชยจากสหประชาชาติในความสำเร็จด้านการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์
นาย Omwony Ojwok รัฐมนตรีแห่งรัฐดูแลเรื่องเศรษฐกิจ (Minister of State in Charge of Economic Monitoring) และคณะเดินทางมาประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 - 22 ธันวาคม 2547 เพื่อศึกษาดูงานด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเกษตร รวมทั้งความร่วมมือทางวิชาการและบทบาทของภาครัฐในกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย - นาย Ezra Suruma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ) ในวันที่ 24 สิงหาคม 2548 โดยได้เข้าพบผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) และเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ในวันเดียวกันด้วย
- นาย Khiddu Makubuya รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอัยการสูงสุดเป็นผู้แทนรองประธานาธิบดียูกันดาเดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 20 - 25 เมษายน 2549 เพื่อศึกษาดูงานด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์
- Professor Gilbert Balibaseka Bukenya รองประธานาธิบดียูกันดา นำคณะเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 - 20 กันยายน 2549
ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน