ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศราชอาณาจักรภูฏาน

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบต ที่เหลือติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกทะเล 

พื้นที่
 38,394 ตารางกิโลเมตร (7.5% ของไทย) 


เมืองหลวง
 กรุงทิมพู (Thimphu) 


เมืองสำคัญ
 เมืองพาโร (Paro) เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ เมืองพูนาคา  (Punaka) เป็นเมืองหลวงเก่า ปัจจุบันใช้เป็นพระราชวังฤดูหนาว 


ประชากร
 774,800 คน (2558) คน ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่ 1) ชาชอฟ (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก 2) นาล็อบ (Ngalops) ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก และ 3) โชซัม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ 


ภูมิอากาศ
 มีความหลากหลาย บริเวณที่ราบตอนใต้มีอากาศแบบเขตร้อน บริเวณหุบเขาทางตอนกลางของประเทศมีอากาศร้อนและหนาวตามฤดูกาล ส่วนบริเวณเทือกเขาหิมาลัยมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและอากาศเย็นในฤดูร้อน 


ภาษา
 ซงข่า (Dzongkha) เป็นภาษาราชการ  ภาษาอังกฤษใช้เป็นสื่อกลางในสถาบันการศึกษาและในการติดต่อธุรกิจ ภาษาทิเบตและภาษาเนปาลมีใช้ในบางพื้นที่ 


ศาสนา
 ศาสนาพุทธมหายาน นิกายกายุบปา (Kagyupa) ซึ่งมีลามะเช่นเดียวกับทิเบต ร้อยละ 75 (ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติชาชอฟ และนาล็อบ) และศาสนาฮินดู ร้อยละ 25 (ส่วนใหญ่เป็น 

ชนเชื้อชาติโชซัมทางภาคใต้ของประเทศ) 

ระบบการปกครอง
 ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก 

(His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck) ทรงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งภูฏาน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 

นายกรัฐมนตรี นายเชอริ่ง ต็อบเกย์ (H.E. Lyonchhen Tshering Tobgay)
 
รมว.กต. นายแดมโช ดอร์จี (H.E. Mr. Damcho  Dorji)
 
ออท. ภูฏาน/ปทท. นายเกซัง วังดี (H.E. Mr. Kesang Wangdi)
 
หน่วยเงินตรา เงินงุลตรัม (Ngultrum) อัตราแลกเปลี่ยน 1 งุลตรัมประมาณ 0.53 บาท

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
 1.962 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว
 2,379 ดอลลาร์สหรัฐ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
 ร้อยละ 3.3   
 
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.2, ไทย : ร้อยละ 1.9     
 
เงินทุนสำรอง 1.245 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, ไทย : 157.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ     
 
อุตสาหกรรมหลัก ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังน้ำ
 
สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ข้าว ธัญพืช เครื่องจักรและชิ้นส่วนรถยนต์ และผ้า
 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ยิปซั่ม ไม้ซุง สินค้าหัตถกรรม ปูนซีเมนต์ ผลไม้ พลังน้ำ อัญมณี และเครื่องเทศ
 
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ นำเข้าจาก อินเดีย บังกลาเทศ และญี่ปุ่น ส่งออกไปยัง อินเดีย บังกลาเทศ
 

สภาพเศรษฐกิจของภูฏาน

     - ภาคเกษตร ประชากรร้อยละ 90 มีอาชีพทางการเกษตรและป่าไม้ โดยการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ในหุบเขา เศรษฐกิจของภูฏานขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรและป่าไม้ คิดเป็นร้อยละ 33.2 ของ GDP โดยสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ส้ม แอปเปิ้ล ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนม

     - ภาคอุตสาหกรรม มีขนาดเล็กมาก มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนน้อย และมีเทคโนโลยีค่อนข้างล้าหลัง อุตสาหกรรมที่สำคัญของภูฏาน ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแคลเซียมคาร์ไบด์ อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมและบริการของภูฏานมีการเติบโตมากขึ้นกว่าภาคการเกษตร ในปี 2550 ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตร้อยละ10.4 และภาคบริการมีการเติบโตร้อยละ 5.7 ในขณะที่ภาคการเกษตรมีการเติบโตร้อยละ 2.5 ส่วนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในประเทศดำเนินไปค่อนข้างช้า และแทบทั้งหมดต้องอาศัยแรงงานที่อพยพมาจากอินเดีย

     - ภูฏานเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมั่นคงและมีดุลการชำระเงินดี แต่ภูฏานต้องพึ่งพิงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาล ประมาณร้อยละ 33 ของ GDP เศรษฐกิจของภูฏานยังคงมีความผูกพันกับอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าและเงินกู้แก่ภูฏานอยู่มาก ขณะนี้ ภูฏานอยู่ระหว่างการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือจากตะวันตกและญี่ปุ่น

     - รายได้สำคัญของภูฏานมาจากการส่งออกกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไปขายให้แก่อินเดีย ในช่วงแผนพัฒนา (5 ปี) ฉบับที่ 8 (2541-2546) รัฐบาลภูฏานได้สร้างเขื่อนขึ้นใหม่อีก 3 แห่งคือ เขื่อนคูริชู (Kurichhu) เขื่อนบาโชชู (Bashochhu) และเขื่อนทาลา (Tala) ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกันได้เป็นปริมาณถึง 1,125.8 เมกกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้สำหรับนำไปใช้พัฒนาประเทศต่อไป

     - ภูฏานเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเก็บภาษีน้อยที่สุด รายได้จากการเรียกเก็บภาษีคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.3 ของรายได้รัฐบาล และภาษีจากภาคธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 3 เท่านั้น ส่วนรายได้ที่เหลือเป็นรายได้จากการขายกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำให้แก่อินเดีย เงินปันผล ค่าภาคหลวง ภาษีสรรพสามิต และรายได้จากสาธารณูปโภค

     - ขณะนี้ภูฏานอยู่ภายใต้แผนพัฒนาประเทศ (5 ปี) ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2551 - 2556) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษา สาธารณสุข การเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สภาพสังคมของภูฏาน 

     -  สังคมของภูฏานเป็นสังคมเกษตรกรรมที่เรียบง่าย ประชาชนดำเนินชีวิตตามวิถีทางพุทธศาสนานิกายมหายาน และยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาช้านาน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากพระราโชบายของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก (สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4) พระราชบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันที่ต้องการให้ภูฏานอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณีของตนไว้ เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนภูฏานใส่ชุดประจำชาติ การอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น และสถาปัตยกรรมแบบภูฏาน ทั้งนี้ แม้จะมีนโยบายเปิดประเทศแต่ภูฏานก็สามารถอนุรักษ์จารีตทางสังคมไว้ได้ 

     -  สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวภูฏาน โดยเฉพาะสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก เป็นที่เคารพรักของประชาชนมาก เพราะนอกจากจะเป็นกษัตริย์นักพัฒนาแล้วความเป็นกันเองของพระองค์ในการเสด็จ เยี่ยมราษฎรและการเข้าถึงประชาชน ทำให้พระองค์ทรงเป็น “กษัตริย์ของประชาชน” อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการปลี่ยนแปลงภูฏานให้เป็นสังคม สมัยใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทรงใช้หลัก “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness – GNH) แทนการวัดการพัฒนาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 

ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness – GNH) 

     -  สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงริเริ่มปรัชญาในการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” โดยความคิดดังกล่าวเน้นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีความสุขและความพึงพอใจ มากกว่าวัดการพัฒนาด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ทั้งนี้ พระองค์ได้ข้อสรุปจากบทเรียนความผิดพลาดในการพัฒนาของโลกในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา และเห็นว่าประเทศจำนวนมากเข้าใจว่าการพัฒนา คือ การแสวงหาความสำเร็จทางวัตถุเพียงอย่างเดียว ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้แลกความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสูญเสีย วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ดีทางธรรมชาติ และเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งหลายประเทศได้พิสูจน์แล้วว่าประชาชนไม่ได้มีความสุขที่แท้จริง 

     -  อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติก็มิได้ปฏิเสธการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาด้านต่างๆ จะต้องสมดุลกัน โดยรัฐบาลภูฏานได้พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ประชาชนรทั้ง 4 ได้ถูกบรรจุอยู่ในนโยบายและแผนงานของรัฐบาลทุกด้าน

     -  ในทางปฏิบัติ ภูฏานได้บรรจุแนวคิดนี้ให้อยู่ในแผนพัฒสามารถแสวงหาและได้รับความสุขโดยยึด หลักแนวคิดดังกล่าวเป็นพื้นฐานเพื่อให้สามารถรับมือกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อสิ่งท้าทายของโลก โดยมีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน 2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) การส่งเสริมวัฒนธรรม และ 4) ธรรมรัฐ ซึ่งหลักการนี้ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาประเทศระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2542 (แผนพัฒนาประเทศ (5 ปี) ฉบับที่ 1 เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2504) โดยเน้นการพัฒนาในทุกสาขาของสังคมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญด้านสาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การขจัดปัญหาสังคมและความยากจน พร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยทั้งหมดจะดำรงอยู่ด้วยกันในลักษณะกลมกลืนตามหลักพุทธศาสนามหายาน

รายงานการศึกษา

ปี 2017