ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศเมียนมา

ธงและตราสัญลักษณ์
 

 

ไฟล์:Flag of Myanmar.svg ไฟล์:State seal of Myanmar.svg
ธง ตราสัญลักษณ์


 
แผนที่
 

ไฟล์:LocationMyanmar.svg

ที่มา:  http://www.wikipedia.org 

 

ที่มา:  lonelyplanet.com

 



 
ข้อมูลทั่วไป
 

ชื่ออย่างเป็นทางการ

 

สหภาพพม่า หรือ  Union of Myanmar

 

ที่ตั้ง

 

ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล ระหว่างประเทศบังกลาเทศและประเทศไทย ระหว่างละติจูดที่ 22 00 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 98 00 องศาตะวันออก

 

พื้นที่

678,500 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย) พื้นดิน 657,740 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 20,760 ตารางกิโลเมตร

 

อาณาเขต

พรมแดนทั้งหมดยาว 5,876 กิโลเมตร ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (2,185 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (235 กิโลเมตร) และไทย (2,401 กิโลเมตร) ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (1,463 กิโลเมตร) และบังกลาเทศ (193 กิโลเมตร) ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล และมความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 1,930 กิโลเมตร

 

สภาพภูมิประเทศ

ที่ราบต่ำตอนกลาง ล้อมรอบด้วยหุบเขาชันและขรุขระ (ในลักษณะวงแหวน)

 

สภาพภูมิอากาศ

อากาศแบบลมมรสุมเขตร้อน ฤดูร้อนมีเมฆมาก มีฝน และอากาศชื้น (อากาศแบบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน) ในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีเมฆน้อย มีปริมาณฝนไม่มาก ความชื้นต่ำ และอุณหภูมิเย็นสบาย

 

ทรัพยากรธรรมชาติ

ปิโตรเลียม ไม่ซุง ดีบุก สังกะสี ทองแดง ทังสเตน ตะกั่ว ถ่านหิน หินอ่อน หินปูน อัญมณี ก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ

 

ภัยธรรมชาติ

แผ่นดินไหวและพายุไซโคลน ทำให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) และจะเผชิญภัยจากความแห้งแล้งเป็นครั้งคราว

 

จำนวนประชากร

55,167,330 (ค่าประมาณ เดือนกรกฏคม พ.ศ. 2556)

 

อัตราการเติบโตของประชากร

1.07% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

สัญชาติ

พม่า (Burmese)

 

เชื้อชาติ

เผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือพม่า (68%) ไทยใหญ่ (8%) กะเหรี่ยง (7%) ยะไข่ (4%) จีน (3%) มอญ (2%) อินเดีย (2%) 

 

ศาสนา

ศาสนาพุทธ (90%) ศาสนาคริสต์ (5%) ศาสนาอิสลาม (3.8%) ศาสนาฮินดู (0.05%) 

 

ภาษา

ภาษาพม่า และชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่มมีภาษาเป็นของตนเอง 

 

รูปแบบการปกครอง

เผด็จการทางทหาร (Military Junta) ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

เมืองหลวง

กรุงย่างกุ้ง (Rangoon หรือ Yangon)

การแบ่งเขตการปกครอง

แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 เขต (division) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า

  • การปกครอง 7 รัฐ(State)ได้แก่ Chin, Kachin, Kayah, Kayin, Mon, Rakhine, Shan
  • การปกครอง 7 เขต ได้แก่ Ayeyarwady, Bago, Magway, Mandalay, Sagaing, Tanintharyi, Yangon

แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

ไฟล์:Burma en.png

 

ประเทศพม่าแบ่งเป็น 7 เขต (divisions) และ 7 รัฐ (states) ได้แก่

เขต Tain.png
ชื่อเมืองเอกพื้นที่ (km²)ประชากร
1. เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) ทวาย 43,328 1,327,400
2. เขตพะโค (Bago) พะโค 39,404 5,014,000
3. เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มัณฑะเลย์ 37,023 6,442,000
4. เขตมาเกว (Magway) มาเกว 44,819 4,464,000
5. เขตย่างกุ้ง (Yangon) ย่างกุ้ง 10,170 5,420,000 (2542)
6. เขตสะกาย (Sagaing) สะกาย 93,527 5,300,000 (2539)
7. เขตอิรวดี (Ayeyarwady) พะสิม 35,138 6,663,000
รัฐ Pyinè.png
ชื่อเมืองเอกพื้นที่ (km²)ประชากร
1. รัฐกะฉิ่น (Kachin) มิตจีนา 89,041 1,200,000
2. รัฐกะยา (Kayah) หลอยก่อ 11,670 259,000
3. รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) ปะอาน 30,383 1,431,377
4. รัฐฉาน หรือรัฐไทใหญ่ (Shan) ตองยี 155,800 4,702,000 (2542)
5. รัฐชิน (Chin) ฮะคา 36,018 538,000 (2548)
6. รัฐมอญ (Mon) มะละแหม่ง 12,155 2,466,000
7. รัฐยะไข่ (Rakhine) ซิตตเว 36,780 2,698,000

ลำดับของเมืองเรียงตามจำนวนประชากร

เมืองในพม่า
อันดับ เมือง สถิติ ที่ตั้ง
ปี พ.ศ. 2526 ปี พ.ศ. 2549
1. ย่างกุ้ง 2.513.023 4.572.948 ย่างกุ้ง
2. มัณฑะเลย์ 532.949 1.237.028 มัณฑะเลย์
3. มะละแหม่ง 219.961 451.011 มอญ
4. พะโค 150.528 248.899 พะโค
5. พะสิม 144.096 241.624 อิรวดี
6. โมนยวา 106.843 185.783 สะกาย
7. เมกติลา 96.492 181.744 มัณฑะเลย์
8. ซิตตเว 107.621 181.172 ยะไข่
9. มะริด 88.600 177.961 ตะนาวศรี
10. ตองยี 108.231 162.396 ฉาน
11. มินยัน 77.060 145.150 มัณฑะเลย์
12. ทวาย 69.882 140.475 ตะนาวศรี

ที่มา: ประเทศพม่า - วิกิพีเดีย 

วันที่ได้รับเอกราช

4 มกราคม พ.ศ. 2491 จากสหราชอาณาจักร

รัฐธรรมนูญ

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ฝ่ายบริหาร

ประมุขของรัฐปัจจุบันคือ ประธานสภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (Chairman of the State Peace and Development Council (SPDC) พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Sr. Gen. Than Shwe) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ทำงานในฐานะคณะรัฐมนตรี ไม่มีการเลือกตั้งมาตั้งแต่สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order restoration Council- SLORC ) เข้ายึดอำนาจและดำรงตนอยู่ในตำแหน่งสูงสุดทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2551 ระบบสภาคู่ (Unicameral People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Assembly หรือ Pyithu Hluttaw) ที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2010 ประกอบด้วย สภาสูง (Upper House) ที่มีสมาชิกไม่เกิน 224 ที่นั่ง และสภาผู้แทนราษฎร (Lower House) สมาชิกไม่เกิน 440 ที่นั่ง ตามแผนการของรัฐบาลทหาร จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไปในปี 2010

ระบบกฎหมาย

ใช้กฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษ (English Common Law) ไม่ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ)

 

สถานการณ์ที่สำคัญ

กระบวนการปรองดองแห่งชาติ

อนาคตของกระบวนการปรองดองแห่งชาติและ Roadmap ของรัฐบาลพม่ายังไม่ชัดเจน หลายฝ่ายยังสงสัยในเหตุผลของรัฐบาลพม่าที่จัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติแบบ "ปิด ๆ เปิด ๆ" และควบคุมกระบวนการพิจารณาของสมัชชาแห่งชาติอย่างเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายต่าง ๆ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การปฏิเสธที่จะให้ความกระจ่างว่าขณะนี้กระบวนการ Roadmap มาถึงขั้นตอนใดและจะใช้เวลาอีกนานเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มความสงสัยดังกล่าว นอกจากนั้น รัฐบาลพม่าได้ปิดช่องทางในการติดต่อพูดจากับโลกภายนอกในเรื่องกระบวนการทาง การเมืองภายในของตน รัฐบาลพม่าต้องการให้ไทยหยุดการดำเนินการในเรื่องการหารือกับประชาคมระหว่าง ประเทศในกรอบ "Bangkok Process" ที่ไทยริเริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2546 และให้สหประชาชาติ ยุติความเคลื่อนไหวในการส่งเสริมกระบวนการปรองดองภายในพม่า

ในการประชุม 3 รอบที่ผ่านมา สมัชชาแห่งชาติได้เห็นชอบหลักการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คืบหน้าไปแล้ว ประมาณร้อยละ 50-70 ของงานที่จะต้องดำเนินการทั้งหมด

ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบาทของกองทัพ นั้น ประเด็นสำคัญคือกำหนดให้มีผู้แทนของกองทัพ ร้อยละ 20 ในสภาสูง และร้อยละ 25 ในสภาผู้แทนราษฎร สงวนตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ 3 กระทรวงไว้ให้ผู้แทนของกองทัพ (ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกิจการชายแดน) ประธานาธิบดีจะต้องเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในการบริหารงานกองทัพ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดมีอำนาจในการประกาศภาวะฉุกเฉิน

ในส่วนที่เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย ร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีรัฐ (state) และเขตปกครองตนเอง (autonomous region) แต่ละรัฐ และเขตปกครองตนเองจะมีมุขมนตรี (Chief Minister) เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีสภาท้องถิ่นซึ่งมีผู้แทนของกองทัพอยู่ร้อยละ 25 รัฐบาล รัฐและเขตปกครองตนเองมีอำนาจในการบริหารกิจการท้องถิ่น และที่สำคัญคือให้กองกำลังชนกลุ่มน้อยวางอาวุธ

อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายเชื่อกันว่ากระบวนการพิจารณาของสมัชชาแห่งชาติจะได้ข้อยุติแล้ว เสร็จเมื่อใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำรัฐบาลเป็นอย่างมากและการหาข้อ ยุติในปัญหาการปกครองพื้นที่ชนกลุ่มน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องหลักที่ยังค้างการพิจารณาอยู่ ฝ่ายชนกลุ่มน้อยไม่พอใจท่าทีของฝ่ายรัฐบาล ในเรื่องนี้ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้พยายามทำความเข้าใจเพื่อหาข้อยุติกับชนกลุ่ม น้อยในเรื่องนี้

ในการเข้าเยี่ยมคารวะพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐที่กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 ผู้นำพม่ากล่าวยืนยันกับนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่ารัฐบาลพม่าจะดำเนินตาม Roadmap ตามแนวทางที่เหมาะสมสำหรับพม่าเอง โดยจะดำเนินการ 3 ประการในการวางรากฐานของประชาธิปไตยของพม่า ได้แก่ (1) การสร้างสันติภาพและความมั่นคง (2) การพัฒนาเศรษฐกิจ (3) การศึกษา พร้อมกับย้ำว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องกระบวนการ (process) ซึ่งต้องค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลา

อนึ่ง หลังจากที่ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกมาตลอด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้ประกาศในการประชุมรัฐมนตรีอา เซียน ครั้งที่ 38 ที่เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 ว่าพม่าขอถอนตัวจากการเป็นประธานอาเซียนในปี 2549 โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลพม่าต้องการมุ่งดำเนินการในเรื่องกระบวนการปรองดอง แห่งชาติ ซึ่งอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าพม่าสามารถกลับมาเป็นประธานอาเซียนเมื่อ ใดก็ได้เมื่อมีความคืบหน้าของกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า

สถานะของพรรค NLD

หลังจากถูกรัฐบาลพม่ากดดันอย่างต่อ เนื่อง พรรค NLD อ่อนแอลงอย่างมาก รัฐบาลพม่ายังคงกักบริเวณนางออง ซาน ซู จี (ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2546) นายติน อู และสมาชิกพรรคอีกหลายคน รวมทั้งยังคงปิดสำนักงานสาขาของพรรค ดำเนินการกดดันและจับกุมสมาชิกพรรคที่ออกมาเคลื่อนไหวเป็นระยะ ๆ จนบรรดาสมาชิกพรรค NLD จำนวนไม่น้อยต้องลาออกหรือยุติกิจกรรมทางการเมืองของตน ขณะเดียวกันพรรคฯ ก็ขาดช่องทางที่จะติดต่อกับประชาชนหรือดำเนินกิจกรรมกับประชาชน

ในปัจจุบัน รัฐบาลพม่ายังไม่เปิดการติดต่อกับนางออง ซาน ซู จี ตามที่หลายฝ่ายรวมทั้งสหประชาชาติเรียกร้อง และคาดว่าจะยังไม่มีการพบปะเจรจากันและนางออง ซาน ซู จี คงจะยังไม่ได้รับการปล่อยตัวจนกว่าการประชุมสมัชชาแห่งชาติคืบหน้าไปได้ อย่างราบรื่น หรือภายหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญได้รับการรับรองแล้ว

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

 

89.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

GDP รายบุคคล

 

1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

อัตราการเจริญเติบโต GDP

 

6.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

GDP แยกตามภาคการผลิต

 

  • ภาคการเกษตร 38.8%
  • ภาคอุตสาหกรรม 19.3%
  • ภาคการบริการ 41.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

อัตราการว่างงาน

 

5.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

 

3.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

ผลผลิตทางการเกษตร

 

ข้าว เมลดพืชประเภทถั่ว ถั่ว งา  ถั่วลิสง อ้อย ไม้เนื้อแข็ง ปลาและผลิตภัณฑืจากปลา

 

อุตสาหกรรม

 

แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ทองแดง ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ซีเมนต์ อุปกรณ์ก่อสร้าง เวชภัณฑ์ ปุ๋ย ก๊าซธรรมชาติ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หยกและอัญมณี

 

อัตราการเติบโตภาคอุตสาหกรรมการผลิต

 

4.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

 

ดุลบัญชีเดินสะพัด

 

-891.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

มูลค่าการส่งออก

 

8.529 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

 

สินค้าส่งออก

 

ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง สินค้าประมง ข้าว ยาง อัญมณี และแร่ธาตุ

 

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

 

ไทย 36.7% อินเดีย 14.1% จีน 18.8% ญี่ปุ่น 6.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

 

มูลค่าการนำเข้า

 

7.137 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯf.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

 

สินค้านำเข้า

 

เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเหล็ก

 

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

 

จีน 38.8% ไทย 22.6% สิงคโปร์ 9.7% เกาหลีใต้ 5.4% มาเลเซีย 4.5% ญี่ปุ่น 4.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

 

สกุลเงิน

 

จั๊ต (Kyat)

 

สัญลักษณ์เงิน

 

MMK

 

มูลค่าการค้ารวม

ปี 2551 การค้าไทย-พม่ามีมูลค่า 4,707.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 44.44

มูลค่าการส่งออก

ปี 2551 ไทยส่งออกไปพม่ามูลค่า 1,019.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2550 ร้อยละ 38.99

มูลค่าการนำเข้า

ปี 2551 ไทยนำเข้าจากพม่ามูลค่า 2,561.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 46.70

ดุลการค้า

ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับพม่า ในปี 2551 ไทยขาดดุลมูลค่า 2,044.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าไทยส่งออกไปพม่า

ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก

สินค้านำเข้าจากพม่า

ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า และถ่านหิน

ความร่วมมือด้านการค้า

ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า (Joint Trade Commission - JTC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยได้ประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง

ด้านการลงทุน

ในปัจจุบัน ภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,345.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 17.28 ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมด โดยไทยมีมูลค่าการลงทุนในพม่าสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากอังกฤษ ( 40 โครงการ 1,569.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสิงคโปร์ (70 โครงการ 1,434.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในสาขาพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ประมง อุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว และการแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม

ไทยและพม่าได้มีการเจรจาจัดทำความตกลงการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ระหว่างกันเมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ที่กรุงเทพฯ โดยสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในทุกข้อบทในร่างความตกลงฯ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและพม่าได้ร่วมลงนามย่อในร่างความตกลงฯ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำร่างความตกลงฯ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและลงนามต่อไป

 



 
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหภาพพม่า
 

 

ด้านการทูต

ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต กับพม่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2491 และมีการเปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2492 ไทยและพม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน โดยมีความสัมพันธ์กว้างขวางในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบัน นายสุพจน์ ธีรเกาศัลย์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่าและนายเย วิน (U Ye Win) เป็นเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย

ด้านการเมืองและความมั่นคง

ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่

(1) คณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า (Thailand - Myanmar Joint Commission on Bilateral Cooperation - JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อ ส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาพรวม ได้จัดการประชุมครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 7-9 มกราคม 2545 ที่จังหวัดภูเก็ต

(2) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee - JBC) ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนร่วมกัน โดยประชุมครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2548 โดยมี ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่าฝ่ายไทย และนายหม่อง มิ้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าเป็นประธานฝ่ายพม่า

(3) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) ซึ่งแม่ทัพภาคที่สามของไทยและแม่ทัพภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่าเป็นประธาน ร่วม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน โดยประชุมครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 29 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2548 ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉานของพม่า

ความร่วมมือในการพัฒนาเครือข่ายคมนาคม

รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการต่าง ๆ ได้แก่

1. โครงการพัฒนาเส้นทางสายแม่สอด/เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี ระยะทาง 17.35 กม. ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจำนวน 122.9 ล้านบาท เริ่มการก่อสร้างแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2548 (การก่อสร้างระยะเวลา 1 ปี)

2. โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงราย (วงเงิน 28 ล้านบาท) รวมทั้งการก่อสร้างด่านชั่วคราว (CIQ) บริเวณสะพานฯ 2 ฝั่ง (วงเงิน 11 ล้านบาท) ได้มีพิธีเปิดใช้สะพานแล้วเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2549

3. โครงการพัฒนาเส้นทางสายแม่สอด/เมียวดี-กอกะเร็ก-พะอัน-สะเทิม ภายใต้กรอบความร่วมมือสามฝ่ายไทย-พม่า-อินเดีย)โดยไทยเสนอจะให้ในรูปความ ช่วยเหลือแบบให้เปล่าร้อยละ 30 และเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนร้อยละ 70 และให้ดำเนินการในลักษณะ joint venture (ประมาณค่าก่อสร้างเบื้องต้น 2,270 ล้านบาท) โดยพม่าตอบรับข้อเสนอของไทยที่จะให้ grant การก่อสร้างถนนช่วงต่อจาก กิโลเมตรที่ 18 - กอกะเร็ก ระยะทาง 40 กิโลเมตร และกรมทางหลวงและกระทรวงก่อสร้างพม่าจะเริ่มการทำ preliminary detailed/survey design เส้นทางดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน 2548

ความร่วมมือในกรอบ ACMECS

ในกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐ กิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่น้ำโขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) ไทยและพม่ามีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ (1) การท่องเที่ยว โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านการท่องเที่ยวและพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างภาค ใต้ของไทย-เมืองทวายในพม่า (2) อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพม่าที่เมืองเมียวดี เมาะลำใย และพะอัน โดยในชั้นนี้เห็นชอบกันที่จะเริ่มดำเนินการที่เมียวดีก่อน (3) พลังงาน มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2548 และการลงนามบันทึกความเข้าใจในการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำที่สาละวิน ฮัจจี และตะนาวศรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 และ (4) เกษตรกรรม ซึ่งมีการจัดทำ Contract Farming ที่เมืองเมียวดี โดยร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะผู้แทนไทยไปหารือกับทาง การพม่าเรื่องโครงการ Contract Farming ที่กรุงย่างกุ้ง ระหว่างวันที่ 28 - 29 กันยายน 2548 นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้ให้วงเงินสินเชื่อ (credit line) จำนวน 4,000 ล้านบาทสำหรับพม่าในการซื้อเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาประเทศ จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ไทยได้อนุมัติเบิกจ่ายไปแล้วร้อยละ 70 หรือประมาณ 2,800 พันล้านบาท

นอกจากนี้ ในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าจากพม่าซึ่งรวมถึง สินค้าเกษตรทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอา เซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences - AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 461 รายการ และเพิ่มเป็น 850 รายการในปี 2548

ด้านวัฒนธรรม สังคมและสาธารณสุข

โดยที่ไทยและพม่ามีพรมแดนติดต่อกัน และประชาชนของทั้งสองประเทศมีความคล้ายคลึงทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ในภาพรวม รัฐบาลไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542 นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โครงการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายแก่วัดในพม่าซึ่งกระทรวงการต่าง ประเทศดำเนินการติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 10 การเชิญผู้สื่อข่าวพม่าเยือนประเทศไทย การสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา ต่างประเทศของพม่า การจัดโครงการวาดเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่เยาวชนพม่า เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่ายังสามารถสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและ ศาสนาเพิ่มเติมได้อีกเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนของทั้งสอง ประเทศมากขึ้น

ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อพม่า (และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ) เป็นลำดับแรกในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ โดยไทยให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน การจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้าน ต่าง ๆ ใน 3 สาขาหลัก คือ การเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยตั้งแต่ปี 2540-2547 ไทยให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการแก่พม่าเป็นจำนวนเงิน 92.45 ล้านบาท สำหรับปี 2548 ไทย ให้ความช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติในไทยจำนวน 164 ทุน นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2545 รัฐบาลไทยยังได้เริ่มให้การสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับครูประถมศึกษาจากพม่าในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเกษตรและ โภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนในไทยและการส่งคณะเจ้าหน้าที่ไทยไปติดตามผลการ ประชุมเชิงปฏิบัติการในสหภาพพม่า

ในด้านความร่วมมือในการแก้ไขปัญหายา เสพติด เมื่อปี 2544 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่พม่าในโครงการพัฒนาหมู่บ้านยองข่าในรัฐฉาน (เขตของว้า) ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเลือก (alternative development) โดยนำโครงการพัฒนาดอยตุงเป็นแบบอย่างเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน พม่าให้เลิกการปลูกฝิ่น และมีการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปลูกพืชผล การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล การสาธารณสุข ฯลฯ (วงเงิน 50 ล้านบาท) แต่ภายหลังการปลดพลเอก ขิ่น ยุ้น โครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไป

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและเพื่อความช่วย เหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวพม่า เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 รัฐบาลไทยได้บริจาคข้าวสาร 1,000 ตันผ่านองค์การอาหารโลก (World Food Program - WFP) มูลค่า 10.54 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการยุติการปลูก ฝิ่น

ในการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการใน โอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2548 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบเงิน 2 ล้านบาทเพื่อสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย Development for National Races อันเป็นสัญลักษณ์ของความสนับสนุนของไทยต่อกระบวนการปรองดองแห่งชาติของพม่า ด้วย นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอที่จะร่วมมือกับพม่าในงานด้าน มนุษยธรรม โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสาธารณสุข อาทิ การพัฒนาโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก ซึ่งผู้นำพม่าเห็นชอบ

ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย

  1. ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าลงนามเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2532
  2. บันทึกความเข้าใจเพื่อการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย - พม่า ลงนามเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533
  3. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่า ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ลงนามเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2533
  4. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า เกี่ยวกับเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย-แม่น้ำสบรวก ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2534
  5. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-พม่า ลงนามเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2536
  6. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยการ ก่อสร้าง กรรมสิทธิ์ การจัดการและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำเมย/ทองยิน ลงนามเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2537
  7. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าเพื่อการค้า ชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ลงนามเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2539
  8. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการธนาคาร ลงนามเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2539
  9. หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับพม่าว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ลงนามเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2540
  10. บันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากพม่า ลงนามเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540
  11. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร ไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ลงนามเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541
  12. ความตกลงด้านวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ลงนามเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542
  13. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารตั้งต้น ลงนามเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2544
  14. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าเพื่อการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษี เก็บจากเงินได้ ลงนามเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545
  15. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน ลงนามเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546
  16. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (BOI) กับคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า ลงนามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547
  17. หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกงานก่อสร้างถนนในสหภาพพม่า สายเมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี ลงนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547
  18. บันทึกความเข้าใจความร่วมมือไทย-พม่าว่าด้วยการจัดการทรัพยากรน้ำ ลงนามเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547
  19. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่าว่าด้วย ความร่วมมือในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ลุ่มน้ำสาละวินและลุ่มน้ำตะนาวศรี ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2548
  20. บันทึกความเข้าใจเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กับ Central Control Board on Money Laundering พม่า ลงนามวันที่ 30 กรกฎาคม 2548
  21. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรไทย-พม่า ลงนามเมื่อ 1 ธันวาคม 2548 ที่กรุงย่างกุ้ง
  22. บันทึกความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง การถือครองกรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำฮัจยี ลงนามเมื่อ 8 ธันวาคม 2548 ที่กรุงย่างกุ้ง

การเยือนของผู้นำระดับสูง

ฝ่ายไทย

พระบรมวงศานุวงศ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ

- เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 2-5 มีนาคม 2503

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร

- เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์- 5 มีนาคม 2531

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

- เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 21-31 มีนาคม 2529

- เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่า (เมืองเชียงตุง) เป็นการส่วนพระองค์ 2 ครั้ง

1) ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2537

2) ระหว่างวันที่ 10-14 มีนาคม 2546

รัฐบาล

นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร)

1) การเยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2544 ที่กรุงย่างกุ้ง

2) การเยือนในลักษณะ retreat ระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2546 ที่เมืองงาปาลี

3) การเข้าร่วมประชุม ACMECS Summit ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2546 ที่เมืองพุกาม

4) การเข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม World Buddhist Summit วันที่ 9 ธันวาคม 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง

รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

1) การเข้าร่วมประชุม AMM Informal Retreat ระหว่างวันที่ 29 - 30 เมษายน 2544 ที่กรุงย่างกุ้ง

2) การเยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1 - 2 พฤษภาคม 2544 ที่กรุงย่างกุ้ง

3) การเยือนเมืองท่าขี้เหล็กเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2544 เพื่อพบกับพลโท ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ 1 SPDC และกำหนดจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2

4) การประชุมระดับรัฐมนตรี 3 ฝ่าย ไทย - พม่า - อินเดีย ครั้งที่ 1 เรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ระหว่างวันที่ 5 - 6 เมษายน 2545 ที่กรุงย่างกุ้ง

5) การเยือน (working visit) ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2545 ที่กรุงย่างกุ้ง

6) การเยือนเมืองท่าขี้เหล็ก เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 เพื่อลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 และวางศิลาฤกษ์งานก่อสร้างสะพาน

7) การเยือนในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 ที่กรุงย่างกุ้ง

8) การเยือนในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2547 ที่กรุงย่างกุ้ง

รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย)

- การเยือนในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกันตธีร์ ศุภมงคล)

- การเยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2548

ฝ่ายพม่า

พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ/นายกรัฐมนตรีพม่า (ตำแหน่งขณะนั้น)

- รวม 2 ครั้ง (เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2542 และวันที่ 29 เมษายน 2546)

รองพลเอกอาวุโส หม่อง เอ รองประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

- ระหว่างวันที่ 23-26 เมษายน 2545

พลเอก ขิ่น ยุ้น ในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ 1 ของสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

- ระหว่างวันที่ 3 -5 กันยายน 2544 และเดินทางมาที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 2 ครั้ง 
(วันที่ 7 ตุลาคม 2544 และ 19 พฤษภาคม 2546) เพื่อกำหนดจุดที่จะก่อสร้างสะพานข้าม
แม่น้ำสายแห่งที่ 2 และทำพิธีวางศิลาฤกษ์งานก่อสร้างสะพาน และในฐานะนายกรัฐมนตรีพม่า 
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2547 และเพื่อเข้าร่วมประชุม BIMST-EC Summit ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2547

พลเอก ตูระ ฉ่วย มาน เสนาธิการทหาร/สมาชิกสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

- ระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคม 2547

 

รายงานการศึกษา

ปี 2020

  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเมียนมา Doing Business in Myanmar 2020 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2019

  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเมียนมา Doing Business in Myanmar 2019 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2018

  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเมียนมา Doing Business in Myanmar 2018 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2017

  • ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: โอกาสการลงทุนของไทยในอาเซียน
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Investment Trend and Economic Situation in Myanmar by DICA
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Investment in Myanmar_Tax updates by EY
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในเมียนมา Doing Business in Myanmar 2017 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2016

  • ชื่อเอกสาร: ค่าใช้จ่ายในการลงทุนในประเทศ
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลประเทศ
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ดัชนีและคู่มือการลงทุน
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป CLMV2554 กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมสิ่่งทอและเครื่องนุ่งห่ม CLMV 2554กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุน
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ดัชนีเศรษฐกิจ
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายชื่อนักลงทุนไทยในพม่า
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: คู่มือการประกอบธุรกิจ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายชื่อบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: บทนำประเทศพม่า
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์: เมืองเมียวดี
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์: เมืองซิตตเว
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: Thailand Overseas Investment Forum 2016
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: Myanmar competitiveness and investment opportunities
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุนใน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา Myanmar booklet 2016
    ดาวน์โหลด