ข้อมูลประเทศเป้าหมาย
ประเทศ ลาว
- ข้อมูลทั่วไป
- การเมืองและการปกครอง
- เศรษฐกิจและสังคม
- ความสัมพันธ์
- โอกาสและลู่ทางการลงทุน
- รายงานการศึกษา
ธงและตราสัญลักษณ์
|
||||||||
|
||||||||
แผนที่
|
||||||||
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Laos
ที่มา: lonelyplanet.com |
||||||||
ข้อมูลทั่วไป
|
||||||||
ชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Democratic Republic) หรือ ลาว (Laos) ที่ตั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทางทิศตะวันตกของเวียดนาม ระหว่างละติจูดที่ 18 00 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 105 00 องศาตะวันออก พื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) พื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 6,000 ตารางกิโลเมตร อาณาเขต ความยาวพรมแดนทั้งหมด 5,083 กิโลเมตร โดยมีพรมแดนติดกับพม่า (235 กิโลเมตร) กัมพูชา ( 541 กิโลเมตร) จีน (423 กิโลเมตร) ไทย (1,754 กิโลเมตร) เวียดนาม (2,130 กิโลเมตร) สภาพภูมิประเทศ ภูเขาขรุขระ พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบและที่ราบสูง สภาพภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อน ฤดูฝนในเดือน พฤษภาคม-พฤศจิกายน ฤดูแล้งเดือนธันวาคม-เมษายน ทรัพยากรธรรมชาติ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง จำนวนประชากร 6,695,166 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556) อัตราการเติบโตของประชากร 1.655% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555) สัญชาติ ลาว (Laos (s) หรือ Laotian (s)) เชื้อชาติ ลาวลุ่ม 68% ลาวเทิง 22% ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า ศาสนา ศาสนาพุทธ 65% นับถือผี 32.9% ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ 1.3% และ อื่นๆ หรือไม่ระบุ 0.8% (สำมะโนประชากร พ.ศ. 2538) ภาษา ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ ภาษาอื่นๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ และภาษาพื้นบ้านอื่นๆ
|
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
รูปแบบการปกครอง สังคมนิยม (Communist State) เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ (Vientiane) การแบ่งเขตการปกครอง แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์) ได้แก่ แขวงอัดตะปือ แขวงบ่อแก้ว แขวงบอลิคำไซ แขวงจำปาสัก แขวงหัวพัน แขวงคำม่วน แขวงหลวงน้ำทา แขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ แขวงพงสาลี แขวงสาละวัน แขวงสะหวันนะเขต นครหลวงเวียงจันทน์ * (เขตการปกครองพิเศษ) แขวงเวียงจันทน์ แขวงไซยะบูลี เขตพิเศษไซสมบูน แขวงเซกอง แขวงเชียงขวาง แขวงที่สำคัญได้แก่ เวียงจันทน์ สะหวันนะเขต หลวงพระบาง จำปาสัก คำม่วน แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
ลาวแบ่งเป็น 16 แขวง ในหนึ่งแขวงจะมีหลาย เมือง ซึ่งจะมีหนึ่งเมืองเป็นเมืองหลวงเรียกว่า เมืองเอก และ 1 เขตปกครองพิเศษเรียกว่า นครหลวง ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีการยุบเขตพิเศษไซสมบูน (Xaisomboun, ເຂດພິເສດໄຊສົມບູນ; หมายเลข 16 ในแผนที่) อย่างเป็นทางการ ตามดำรัสนายกรัฐมนตรี (คำสั่งนายกรัฐมนตรี) เลขที่ 10/ນຍ. ลงวันที่ 13 มกราคม 2549 โดยเมืองท่าโทมถูกรวมกับแขวงเชียงขวาง และเมืองไซสมบูนถูกรวมกับแขวงเวียงจันทน์ ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/Laos วันที่ได้รับเอกราช 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (จากฝรั่งเศส) รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวัน ที่ 14 สิงหาคม 2534 (เดิมกฎหมายอยู่ในรูปของคำสั่งฝ่ายบริหาร คือ ระเบียบคำสั่งของพรรคและสภารัฐมนตรี) ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ผู้ดำรงตำแหน่งคณะรัฐมนตรีต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐบาล โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง รัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีให้รัฐสภาเป็นผู้เลือก วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภาเดี่ยว (Unicameral National Assembly) จำนวนสมาชิก 115 ที่นี่ง มาจากการเลือกตั้ง (Popular vote) จากรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับเลือกจากพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (the Lao People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Revolutionary Party to serve five-year terms) การเลือกตั้งครั้งต่อไปมีขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาของประชาชน (People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Supreme Court) รัฐสภาเป็นผู้เลือกตั้งประธานศาลฎีกาจากคำแนะนำของ National Assembly Standing Committee รองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจาก National Assembly Standing Committee ระบบกฎหมาย ใช้กฎหมายที่มีพื้นฐานมาจากประเพณีโบราณขนบธรรมเนียมฝรั่งเศส และแนวทางปฏิบัติแบบสังคมนิยม ไม่ยอมรับเขตอำนาจโดยบังคับของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) สถาบันการเมืองที่สำคัญ 1) พรรคประชาชนปฏิวัติลาว 2) สภารัฐมนตรี (พรรคฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี) 3) สภาแห่งชาติ (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติ จากผู้ที่พรรคฯ เสนอ) นโยบายรัฐบาล สปป.ลาว 1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดผูกขาดการปกครองประเทศ ตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พรรคฯ ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนมีนาคม 2549 ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
2. ลาวดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุก ประเทศบนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่แบ่งแยกลัทธิอุดมการณ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนและความช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายตาม ที่พรรคฯ กำหนดไว้ ทั้งนี้ ลาวให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชาและไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา อย่างไรก็ดี แม้ว่าลาวจะพยายามดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ให้สมดุลเพื่อลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลัก แต่ด้วยข้อจำกัดของลาวที่ไม่มีทางออกทะเล และระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ด้อยอยู่ ประกอบกับความใกล้ชิดด้านอุดมการณ์และประวัติศาสตร์ การต่อสู้เพื่อเอกราช ทำให้ลาวมีความสัมพันธ์พิเศษกับเวียดนามและจีน อันเป็นผลให้ประเทศทั้งสองสามารถรักษาและขยายอิทธิพลในลาวได้ต่อไป สถานการณ์สำคัญ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
2. ด้านเศรษฐกิจ
3. ด้านสังคม
|
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
ระบบเศรษฐกิจ
เริ่มปฏิรูปจากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาด ตามนโยบาย "จินตนาการใหม่" เมื่อปี 2529
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
19.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
GDP รายหัว
3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
อัตราการเจริญเติบโต GDP
8.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
GDP แยกตามภาคการผลิต
- ภาคการเกษตร 26%
- ภาคอุตสาหกรรม 34%
- ภาคการบริการ 40% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)
4.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
ผลผลิตทางการเกษตร
หัวมันฝรั่งหวาน ผัก ข้าวโพด กาแฟ อ้อย ยาสูบ ฝ้าย ชา ถั่วลิสง ข้าว กระบือ สุกร ปศุสัตว์ สัตว์ปีก
อุตสาหกรรม
ทองแดง ดีบุก ทองคำ เหมืองแร่ยิปซัม พลังงานไฟฟ้า แปรรูปผลผลิตเกษตร การก่อสร้าง เสื้อผ้าสำเร็จรูป การท่องเที่ยว ซีเมนต์
อัตราการเติบโตการผลิตภาคอุตสาหกรรม
17.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)
ดุลบัญชีเดินสะพัด
30.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
มูลค่าการส่งออก
2.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
สินค้าส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ
ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ
ไทย 33% จีน 23.4% เวียดนาม 13.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
มูลค่าการนำเข้า
2.645 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
สินค้านำเข้า
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค
ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ
ไทย 65.2% จีน 11.1% เวียดนาม 6.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)
สกุลเงิน
กีบ (Kip)
สัญลักษณ์เงิน
LAK
การ ลงทุน
รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการ ลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน ๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี พ.ศ. 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน
หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน
มูลค่าการค้ารวม ปี 2551 การค้าไทย-ลาวมีมูลค่า 2,393.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 34.35 มูลค่าการส่งออก ปี 2551 ไทยส่งออกไปลาวมูลค่า 1,776.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 35.47 มูลค่าการนำเข้า ปี 2551 ไทยนำเข้าจากลาวมูลค่า 616.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 31.23 ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับลาว ในปี 2551 คิดเป็นมูลค่า 1,159.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปลาว สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค ยานพาหนะและอุปกรณ์ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ไม้และไม้แปรรูป เชื้อเพลิง สินแร่โลหะ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับไทย ความร่วมมือด้านการลงทุน ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุด ในช่วงปี 2544-2548 มีบริษัทไทยได้รับอนุมัติโครงการลงทุนในลาวจำนวน 102 โครงการ มูลค่าประมาณ 606.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สาขาที่มีการลงทุนมาก ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ขนส่งและโทรคมนาคม ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธนาคาร อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เครื่องนุ่งห่มและหัตถกรรม การให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาว ไทยมีนโยบายสนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งลาว ทั้งในกรอบอาเซียน และ ACMECS เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับในปี 2547 ไทยได้ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร ในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาวทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences - AISP) และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade รวมจำนวน 187 รายการและเพิ่มเป็น 300 รายการในปี 2548 - 2549 และ 301 รายการ ในปี 2550-2552 ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจ ไทยและลาว มีความร่วมมือในกรอบพหุภาคีที่สำคัญ ได้แก่
|
รายงานการศึกษา
ปี 2018
-
ชื่อเอกสาร: การลงทุนในสปป.ลาว Doing Business in Lao PDR 2018 (EY)
ดาวน์โหลด
ปี 2017
-
ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: โอกาสการลงทุนของไทยในอาเซียน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Investment Environment in Laos by MPI
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: SME Development in Laos by MPI
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Investment in Laos - Tax updates by EY
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: การลงทุนในสปป.ลาว Doing Business in Lao PDR 2017 (EY)
ดาวน์โหลด
ปี 2016
-
ชื่อเอกสาร: Thailand Overseas Investment Forum 2016
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: Laos’s competitiveness and investment opportunities
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุนใน สปป.ลาว Laos booklet 2016
ดาวน์โหลด
ปี 2015
-
ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ดาวน์โหลด
ปี 2014
-
ชื่อเอกสาร: ข้อมูลพื้นฐาน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ดัชนีและคู่มือการลงทุน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ดัชนีเศรษฐกิจ
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป CLMV2554 กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: รายงานข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมสิ่่งทอและเครื่องนุ่งห่ม CLMV 2554กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุน
ดาวน์โหลด -
ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : แขวงสะหวันนะเขต
ดาวน์โหลด