ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ อินโดนีเซีย

ธงและตราสัญลักษณ์
 

 

ธง ตราสัญลักษณ์
คำขวัญ
Bhinneka Tunggal Ika
(ชวาเก่า/กาวี: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย") 


 
แผนที่
 

ไฟล์:Indonesia (orthographic projection).svg

ที่มา:  http://www.wikipedia.org/ 

 

ที่มา: lonelyplanet.com 

 

 
ข้อมูลทั่วไป
 

ความเป็นมาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ในอดีตหมู่เกาะต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันยังไม่มีการรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว แต่ได้แยกกันเป็นแคว้นต่างๆ หลายแคว้น จนกระทั่งชาวดัทช์ได้เข้ามาปกครอง แต่เดิมหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของฮินดูและพุทธ จนกระทั่งอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่ในศตวรรษที่ 13

ในศตวรรษที่ 15 อินโดนีเซียเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรปเนื่องจากเป็นแหล่งเครื่องเทศ ชาวโปรตุเกสและสเปนได้เริ่มเข้ามาในภูมิภาคในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 16 และ โปรตุเกสได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคม การจัดตั้งบริษัท ดัทช์ อีส อินเดีย หรือ Vereniging Oost Indische Compagnie-VOC ใน พ.ศ. 2145 เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์ ในช่วงแรก บริษัท VOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบอาณานิคม

ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เกิดกระแสชาตินิยมในอินโดนีเซียต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคม ใน พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นมีชัยชนะเหนือบริษัทดัทช์ อีสท์ อินเดีย และได้เข้าปกครองอินโดนีเซียระยะหนึ่ง หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม กลุ่มชาตินิยม นำโดย ซูการ์โนและฮัตตา ได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินโดนีเซีย ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 อย่างไรก็ตาม ยังมีการต่อสู้กันระหว่างอินโดนีเซียกับดัทช์ ซึ่งพยายามกลับมาปกครองอินโดนีเซียในฐานะเจ้าอาณานิคม จนกระทั่ง 27 ธันวาคม 2488 ดัทช์จึงได้ยอมมอบเอกราชให้แก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์

อินโดนีเซียได้ขยายเขตแดนของประเทศ 3 ครั้ง ได้แก่ เมื่อ 1 พฤษภาคม 2506 ภายหลังจาก Dutch New Guinea หรือ Irian Jaya ในปัจจุบันได้รับเอกราช อินโดนีเซียได้ประกาศผนวกดินแดนในเดือนกันยายน 2512 ต่อมา ในปี 2518-2519 อินโดนีเซียได้บุกเข้ายึดครองและผนวกดินแดนติมอร์ตะวันออก ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส และได้ประกาศผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในเดือนกรกฎาคม 2519 แต่ประชาคมระหว่างประเทศไม่ยอมรับการอ้างสิทธิเหนือติมอร์

ตะวันออกของอินโดนีเซีย จนทำให้สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทดำเนินการให้ติมอร์ตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต) กลายเป็นประเทศอิสระ เมื่อ 20 พฤษภาคม 2545

ในเดือนเมษายน 2525 นานาชาติได้ประกาศให้การยอมรับการอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเล ซึ่งเชื่อมเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน ทำให้อินโดนีเซียสามารถประกาศให้พื้นที่ทะเลเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศได้ในปี 2526

ชื่อทางการ

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) หรือ อินโดนีเซีย (Indonesia)

ที่ตั้ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหมู่เกาะอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก

พื้นที่

อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ

  • หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี

  • หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์

  • หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี

  • อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี

อาณาเขต

พรมแดนทั้งหมดยาว 2,830 กิโลเมตร โดยมีพรมแดนติดกับประเทศติมอร์-เลสเต 228 กิโลเมตร มาเลเซีย 1,782 กิโลเมตร ปาปัว นิวกินี 820 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะเป็นเกาะพื้นที่ต่ำ ในเกาะที่มีขนาดใหญ่จะมีพื้นที่ที่เป็นภูเขาอยู่ด้วย

สภาพภูมิอากาศ

อินโดนีเซียมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)

ทรัพยากรธรรมชาติ

ปิโตรเลียม ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ นิคเกิล ไม้ซุง บ็อกไซต์ ทองแดง ดินที่อุดมสมบูรณ์ ถ่านหิน ทองคำ เงิน

ภัยธรรมชาติ

น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรง สึนามี แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ไฟป่า

จำนวนประชากร

251,160,124 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

1.03% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สัญชาติ

อินโดนีเชีย (Indonesian (s))

เชื้อชาติ

ชวา 40.6% Sudanese 15%  Madurese 3.3% Minangkabau 2.7% Betawi 2.4% Bugis 2.4% Banten 2% Banjar 1.7% อื่นๆ หรือไม่ระบุ 29.9%  (สัมมะโนประชากร พ.ศ. 2543)

ศาสนา

อิสลาม 86.1% โปรแตสเตนท์ 5.7% โรมัน คาทอลิก 3% ฮินดู 1.8% อื่นๆ หรือไม่ระบุ 3.4% (สัมมะโนประชากร พ.ศ. 2543)

ภาษา

ภาษาราชการคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ซึ่งเป็นภาษาที่ดัดแปลงมาจากภาษามาเลเซีย ภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ดัทช์ ภาษาท้องถิ่น (ภาษาท้องถิ่นที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ภาษาชวา)

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รูปแบบการปกครอง

สาธารณรัฐ (Republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

เมืองหลวง

กรุงจาการ์ตา (Jakarta) เมืองสำคัญ ได้แก่ จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง

การแบ่งการปกครอง

อินโดนีเซียแบ่งการปกครองเป็น 30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา นครย็อกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์

วันที่ประกาศเอกราช

17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่ได้รับการยอมรับจากประเทศเนเธอแลนด์ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2589

รัฐธรรมนูญ

ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 ถูกยกเลิกโดยรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ (the Federal Constitution) ฉบับปี พ.ศ. 2489 และรัฐธรรมนูญเฉพาะกาลปี พ.ศ. 2490 นำกลับมาใช้อีกครั้งในวันที่ 5 กรกฏาคม พ.ศ. 2502 มีการแก้รัฐธรรมนูญหลายครั้งจนแก้ไขสำเร็จในปี พ.ศ. 2542

ระบบกฏหมาย

มีรากฐานมาจากกฎหมายโรมัน-ดัทช์ (Roman-Dutch Law) และได้รับอิทธิพลมาจากกฏหมายธรรมเนียมประเพณี และยังมีการปรับแต่งกระบวนการทางอาญาใหม่ๆ รวมถึงข้อปฏิบัติในการเลือกตั้ง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - propinsi-propinsi) 2 เขตปกครองพิเศษ* (special regions -daerah-daerah istimewa) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** (special capital city district - daerah khusus ibukota) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

 

 

ภูมิหลัง

การปกครองประเทศของในช่วงหลังจากได้รับเอกราชไม่สามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจให้แก่ประเทศได้ ทำให้ประธานาธิบดีซูการ์โนประกาศยุบสภา ในปี พ.ศ. 2502 และได้จัดตั้งสภาที่ปรึกษาประชาชนขึ้นแทน และนำการปกครองแบบ "ประชาธิปไตยแบบชี้นำ" มาใช้ นโยบายต่างประเทศในช่วงนี้เน้นการเผชิญหน้ากับเนเธอร์แลนด์และมาเลเซีย ต่อมา ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2508 เกิดการปฏิวัติโดยกลุ่มนายทหาร โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิตส์อินโดนีเซีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและยุทธโธปกรณ์จากจีน การปฏิวัตินำไปสู่การนองเลือด โดยได้มีการสังหารสมาชิกพรรคคอมมิวนิตส์ และสมาชิกองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องถึง 750,000 คน

ในเดือนมีนาคม 2509 พันตรีซูฮาร์โตได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง และรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนมีนาคม 2510 และได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียต่อมาถึง 7 สมัย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตปกครองประเทศโดยใช้ \"กลุ่มอาชีพ\" หรือโกลคาร์(ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพรรคโกลคาร์) เป็นฐานเสียงสนับสนุนอำนาจทางการเมือง รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ โดยกำหนดให้ทหารมี "ทวิภารกิจ" คือ มีบทบาททางการเมืองและสังคม นอกเหนือจากบทบาทด้านความมั่นคง ประธานาธิบดีซูฮาร์โตประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้เจริญก้าวหน้า แต่ปัญหาการคอรัปชั่น ระบบอุปถัมภ์ ทำให้ประชาชนไม่พอใจที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ตกอยู่กับครอบครัวประธานาธิบดีซูฮาร์โตและพวกพ้อง

ต่อมา เมื่อเกิดวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 จนรัฐบาลอินโดนีเซียต้องลงนามความตกลงกู้เงินจาก IMF และมีภาระผูกพันในการปฏิรูปเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองทำให้ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น และในปี 2541 ได้เกิดเหตุการณ์ยิงนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีสักตีเสียชีวิต ซึ่งได้ลุกลามเป็นจลาจล และการเผาทำลายอาคารร้านค้า ในระหว่าง 12-15 พ.ค. 2541 หลายฝ่ายรวมทั้งทหารได้สร้างแรงกดดันจนประธานาธิบดีซูฮาร์โตประกาศลาออกจากตำแหน่งใน 21 พ.ค. 2541 และมอบตำแหน่งประธานาธิบดีแก่นายบาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบิบี รองประธานาธิบดี ตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ

ประธานาธิบดีฮาบิบีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2542 และนายอับดุร
เราะห์มาน วาฮิด หรือกุสดุร ผู้นำองค์กรมุสลิม Nahdlatul Ulama (NU) และผู้ก่อตั้งพรรค PKB ได้รับเลือกโดยสภาที่ปรึกษาประชาชน (MPR) ชุดใหม่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และนางเมฆาวดี ซูการ์โนบุตรี ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มานไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศมากนัก และเมื่อเกิดคดีอื้อฉาวเกี่ยวข้องกับการรับเงินจากสุลต่านบรูไน และการยักยอกเงินจากองค์การสำรองอาหารแห่งชาติ หรือ Bulog ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มานถูกสภาอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกสภา MPR ถอดถอนออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม 2544 และนางเมฆาวตี ซูการ์โนปุตรีได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซียแทนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2544

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 อินโดนีเซียได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฏร ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรค Golkar ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง โดยได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 128 ที่นั่ง จากจำนวนทั้งหมด 550 ที่นั่ง ส่วนพรรค Indonesian Democratic Party (PDI-P) ของประธานาธิบดีเมฆาวตีฯ ได้รับคะแนนเป็นอันดับสอง ได้ที่นั่ง 109 ที่นั่ง

การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอินโดนีเซียรอบที่ 1 มีขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 มีพรรคการเมืองทั้งหมด 5 พรรค เสนอรายชื่อผู้สมัครเป็นคู่ (candidate pairs) ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี แต่เนื่องจากไม่มีผู้สมัครคู่ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายการเลือกตั้งประธานาธิบดี (Presidential Election Act) ของอินโดนีเซีย โดย ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono - SBY) / นายยูซุฟ คัลลา (Jusuf Kalla) จากพรรค Democratic Party (PD) และนางเมฆาวตีฯ /นายฮาชิม มูซาดี (Hasyim Muzadi) จากพรรค PDI - P ได้สิทธิ์ลงสมัครในรอบที่ 2 

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2547 คณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียได้ประกาศผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 อย่างเป็นทางการ โดย ดร. ซูซิโลฯ ได้รับชัยชนะ และได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสืบต่อจากนางเมฆาวตีฯ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547

ระบบการเมืองการปกครอง

อินโดนีเซียมีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและ
หัวหน้าฝ่ายบริหารรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2488 ได้กำหนดให้ใช้หลักปัญจศีล เป็นหลักในการปกครองประเทศ ประกอบด้วย 1) การนับถือพระเจ้าองค์เดียว 2) การเป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม 3) ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย 4) ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน และ 5) ความยุติธรรมในสังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล

โครงสร้างสถาบันทางการเมืองและการบริหารตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขล่าสุด

1. สภาที่ปรึกษาประชาชน (People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Consultative Assembly-MPR)

  • ทำหน้าที่รัฐสภาของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Representative Council : DPR) จำนวน 550 คน และสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council : DPD) จำนวน 128 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง
  • MPR มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแต่งตั้งประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดี และการถอดถอนประธานาธิบดี

2. สภาผู้แทนราษฎร (House of People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s Representatives-DPR )

  • ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 550 คน มาจากการเลือกตั้ง มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมายอนุมัติงบประมาณ และกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาล โดยมีวาระการทำงาน 5 ปี
  • การพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับต้องมีการหารือและได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง DPR และประธานาธิบดี ร่างกฎหมายใดที่ไม่ได้รับความเห็นชอบร่วมจากประธานาธิบดีไม่สามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้อีก ขณะเดียวกันร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมจากประธานาธิบดีและผ่านการลงคะแนนเสียงจาก DPR แล้ว แต่ประธานาธิบดีไม่ลงนามด้วยเหตุผลใดก็ตาม ภายใน 30 วันให้ถือว่ามีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายได้โดยสมบูรณ์
  • DPR ไม่มีอำนาจในการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดีได้ การถอดถอนประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดี ต้องทำตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ คือ DPR ต้องใช้คะแนนเสียง 2/3 ของผู้ร่วมประชุม (ที่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2/3 ของจำนวนสมาชิก DPR ทั้งหมด) เสนอเรื่องการขอถอดถอนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และหากศาลรัฐธรรมนูยพิจารณาเห็นชอบตามที่เสนอ DPR จึงสามารถเสนอให้ MPR พิจารณาต่อไป (อำนาจสุดท้ายในการถอดถอนประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดี อยู่ที่ MPR)

3. สภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council : DPD)

  • เป็นสถาบันใหม่ที่มีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 เพื่อทดแทนผู้แทนจากภูมิภาคและองค์กรสังคม/กลุ่มอาชีพที่เคยมีอยู่เดิม (ที่มาจากการแต่งตั้ง ทั้งนี้ สมาชิก DPD มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 128 คน
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิก DPD นอกเหนือจากการทำหน้าที่ใน MPR คือ การเสนอและให้ความเห็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค การยุบ/รวมจังหวัด การบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ การเก็บภาษี การจัดระบบการศึกษา และศาสนา ให้กับ DPR เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเรื่องนั้น
  • ทั้งนี้ DPD มิได้มีหน้าที่กลั่นกรองร่างกฎหมายเหมือนวุฒิสภาของไทย

 4. สภาประชาชนระดับท้องถิ่น (Regional People\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\'s House of Representative : DPRD)

  • เพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น บทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2543 กำหนดให้แบ่งระดับการปกครองภูมิภาคออกเป็นจังหวัด อำเภอ (regency) และตำบล/เทศบาล (Kota) โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก DPRD ในทุกระดับ (พร้อมกับการเลือกตั้ง DPR และ DPD)

5. ประธานาธิบดี

  • มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย (ที่ผ่านมาประธานาธิบดีมาจากการแต่งตั้งโดย MPR)
  • ตามรัฐธรรมนูญระบุให้ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้บัญชาการกองทัพ
  • ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย (สมัยละ 5 ปี)

6. ศาลยุติธรรม

  • รัฐธรรมนูญระบุให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้การดูแลของศาลฎีกา และศาลระดับรองๆ ลงมา รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญ
  • การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามบทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2544
  • รัฐธรรมนูญปัจจุบันระบุว่าในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมาธิการตุลาการ (Judicial Commission) เป็นผู้เสนอชื่อให้ DPR รับรอง จากนั้นจึงเสนอต่อให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง
  • สมาชิกคณะกรรมาธิการตุลาการแต่งตั้งและถอดถอนโดยประธานาธิบดี ด้วยความเห็นชอบของ DPR

7. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสูงสุด (Supreme Audit Board : BPK)

  • เป็นหน่วยงานใหม่อีกหน่วยงานหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมีหน้าที่รายงานการใช้งบประมาณต่อ DPR DPD และ DPRD (สภาท้องถิ่นระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล)
  • สมาชิก BPK คัดเลือกโดย DPR โดยรับฟังความคิดเห็นของ DPD และแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

- ภายหลังจากการประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน อินโดนีเซียในปี 2541 ทำให้อำนาจต่อรองกับมหาอำนาจตะวันตกของอินโดนีเซียได้ ลดลง ดังนั้น อินโดนีเซียได้ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของตนให้มีความหลากหลาย และเพิ่มมิติในด้านต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ยังคงดำเนินไปเพื่อมิให้ประเทศตะวันตกเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในหรือกดดันอินโดนีเซียมากเกินไป

- ปัจจุบัน อินโดนีเซียได้ดำเนินนโยบายระหว่างประเทศเชิงยืดหยุ่น เพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในปี 2544 อินโดนีเซียได้ปรับปรุงความสัมพันธ์กับสิงคโปร์ จีน สหรัฐฯ และออสเตรเลีย และก่อนหน้านี้ มีการขยายความสัมพันธ์กับประเทศเอเชียใต้ เช่น อินเดีย และปากีสถาน และสถาปนาความสัมพันธ์กับติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์
เลสเตด้วย

- อินโดนีเซียให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศมุสลิม องค์การการประชุมอิสลาม และกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เนื่องจากต้องการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และใช้กลุ่มประเทศดังกล่าวเป็นพันธมิตรเพื่อคานอำนาจกับมหาอำนาจตะวันตก

- ในช่วงปี 2544-2545 แม้ว่าอินโดนีเซียจะเน้นการปรับปรุงความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจที่สำคัญ โดยเฉพาะจีนและสหรัฐฯ (ประธานาธิบดี George W. Bush แห่งสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนอินโดนีเซีย เมื่อ 22 ตุลาคม 2546) ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่อินโดนีเซียยังถือว่าอาเซียนเป็นเสาหลักสำหรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

- อินโดนีเซียให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับมาเลเซียและสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีเขตติดต่อกันและมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน

- อินโดนีเซียจัดประชุม ASEAN Summit และ ASEAN+3 Summit ที่เกาะบาหลี อินโดนีเซีย ระหว่าง 6-8 ตุลาคม 2546 และจัดประชุม Asia-Africa Summit ร่วมกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระหว่าง 22-24 เมษายน 2548

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)

1.212 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล (GDP per Capita)

5,000  ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเติบโตที่แท้จริงของ GDP

6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 15.4%

  • ภาคอุตสาหกรรม 46.5%

  • ภาคการบริการ 38.1%  (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการว่างงาน

6.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

4.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

หนี้สาธารณะ

24.8% of  GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ข้าว มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ยาง โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม เนื้อมะพร้าวแข็ง สัตว์ปีก เนื้อวัว เนื้อสุกร ไข่

อุตสาหกรรม

ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เครื่องประดับ รองเท้า เหมืองแร่ ซีเมนต์ ปุ๋ยเคมี ไม้อัด ยาง อาหาร การท่องเที่ยว

อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม

4.1%  (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-20.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

188.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ

น้ำมันและก๊าซ อุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้อัด สิ่งทอ ยาง

ประเทศคู่ค้า (ส่งออกที่สำคัญ

ญี่ปุ่น 16.6% สิงคโปร์ 9.1% สหรัฐอเมริกา 8.1% จีน 11.3% เกาหลีใต้ 8.1% อินเดีย  6.6% มาเลเซีย  5.4% (พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

179 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

เครื่องมือเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง อาหาร

ประเทศคู่ค้า (นำเข้าที่สำคัญ

จีน 14.8% สิงคโปร์ 14.6% ญี่ปุ่น 11% สหรัฐอเมริกา 6.1% มาเลเซีย 5.9% เกาหลีใต้ 7.3% ไทย 5.9% (พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

รูเปียห์ (Rupiah) -- IDR

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ภาพรวม

ไทยมีความสัมพันธ์กับดินแดนที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบันมาช้านาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับชวา และมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางวรรณคดี อาหาร เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี เป็นต้น พระมหากษัตริย์ไทยถึง 3 พระองค์ได้เคยเสด็จดินแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จฯ เยือน 3 ครั้ง ในปี 2414 ปี 2439 และปี 2444

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยือนในปี 2472 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือน (State Visit) ในปี 2503 โดยได้เสด็จฯ ไปกรุงจาการ์ตา เมืองบันดุง จังหวัดชวาตะวันตก จังหวัดย็อกยาการ์ตา และจังหวัดบาหลี

ประเทศไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปได้ด้วยดี มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในระดับทวิภาคีและกรอบพหุภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือในกรอบอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของผู้นำอินโดนีเซีย

- ประธานาธิบดีซูฮาร์โตและภริยา นำคณะเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่าง 19-22 มีนาคม 2513

- ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ในฐานะแขกของนายกรัฐมนตรี ระหว่าง 25-26 มีนาคม 2524

- ประธานาธิบดีซูฮาร์โตเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ระหว่าง 14-15 ธันวาคม 2538 และการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป เมื่อ 1-2 มีนาคม 2539

- ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มาน วาฮิด เดินทางเยือนไทย เพื่อทำความรู้จักกับผู้นำอาเซียน หลังจากเข้ารับตำแหน่งใหม่ระหว่าง 7-8 พฤศจิกายน 2542

- ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มาน วาฮิด เข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ระหว่าง 
11-13 กุมภาพันธ์ 2543

- ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มาน วาฮิด เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่าง 9-10 พฤษภาคม 2543 โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพบหารือกับ 
นายกรัฐมนตรี รวมทั้งได้เข้าร่วมงานฉลอง 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส และรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มาน วาฮิด เยือนระหว่าง 14-15 ธันวาคม 2543 เพื่อรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

- ประธานาธิบดีอับดุรเราะห์มาน วาฮิด เยือนระหว่าง 14-15 พฤษภาคม 2544 
เพื่อหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย

- ประธานาธิบดีเมฆาวตี ซูการ์โนปุตรี เยือนระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม 2544 เพื่อทำความรู้จักกับผู้นำอาเซียนภายหลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี

-ประธานาธิบดีเมฆาวตี ซูการ์โนปุตรี เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุม SARS Summit ที่กรุงเทพฯ 29 เมษายน 2546

-ประธานาธิบดีเมฆาวตี ซูการ์โนปุตรี เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่าง 29-31 สิงหาคม 2546 โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพบหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรี

-ประธานาธิบดีเมฆาวตี ซูการ์โนปุตรี เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมเอเปค ระหว่าง 19-21 ตุลาคม 2546

-ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน เยือนไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ระหว่าง 15-17 ธันวาคม 2548 โดยได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หารือกับนายกรัฐมนตรี รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพบกับภาคเอกชนไทย

การเยือนอินโดนีเซียของผู้นำไทย

- นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็นทางการ เมื่อ 26-28 เมษายน 2536 และนำคณะเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำรัฐบาลของประเทศในกลุ่ม APEC เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537

- นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่าง 24-25 เมษายน 2539 และไปร่วมพิธีศพภริยาประธานาธิบดีซูฮาร์โต เมื่อ 29 เมษายน 2539

- พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เยือนระหว่าง 2-3 มกราคม 2540

- นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เยือนระหว่าง 1-2 มีนาคม 2541

- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็นทางการ ระหว่าง 17-18 มกราคม 2545

- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนเกาะบาหลี อินโดนีเซีย เพื่อเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านยางพาราระหว่างไทย-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย วันที่ 8 สิงหาคม 2545

- พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนเกาะบาหลี เพื่อเข้าร่วมการประชุม ASEAN Summit ระหว่าง 6-8 ตุลาคม 2546 และในระหว่างการประชุมดังกล่าวได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงผู้ถือหุ้น (Shareholders\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\' Agreement) ของบริษัทร่วมทุน 3 ฝ่าย ไทย-อินโดนีเซีย-มาเลเซียในเรื่องยางพารา

- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนพิเศษของรัฐบาลไทยเข้าร่วมพิธีสาบานตนของประธานาธิบดี ซูสิโล บัมบัง ยูโดโยโน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547

- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม Asia-Africa Summit ณ กรุงจาการ์ตา ระหว่าง 22-23 เมษายน 2548

- พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 โดยได้พบหารือกับประธานาธิบดียูโดโยโนและประธานสภาผุ้แทนราษฎรอากุง ลักโซโน

ความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง

ทั้งสองฝ่ายมีประเพณีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทางทหาร โดยผู้นำทางทหารของทั้งสองประเทศจะเดินทางไปทำความรู้จักกันในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ และเยี่ยมอำลาในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือต่างๆ ดังนี้

- คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเดินทางไปเยือนอินโดนีเซียเพื่อแลกเปลี่ยนการเยือนกับนักศึกษาจาก National Resilience Institute ของอินโดนีเซีย เป็นประจำทุกปี

- การฝึกร่วมหน่วยรบพิเศษของกองทัพบก (Tiger Joint Exercise) เริ่มในปี 2540

- การฝึกร่วมของกองทัพเรือทุกสองปี (Sea Garuda)

- การฝึกร่วม Elang ของกองทัพอากาศ

- การแลกเปลี่ยนนักเรียนเสนาธิการทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และการแลกเปลี่ยนการเยือนของคณาจารย์และนักเรียนเสนาธิการทหารทั้งสามเหล่าทัพ

- การแลกเปลี่ยนการเยือนของอธิบดีกรมตำรวจ และผู้บัญชาการตำรวจอินโดนีเซียและการแลกเปลี่ยนนักเรียนตำรวจ ปีละ 1 คน

- การร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบร่วม โดยฝ่ายไทยได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบของกองทัพอินโดนีเซียที่บริเวณหมู่เกาะนาทูน่าตอนเหนือ ในปี 2539 และฝ่ายอินโดนีเซียได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การซ้อมรบระหว่างไทย-สหรัฐฯ (Cobra Gold) ในปี 2540

- รัฐบาลไทยส่งคณะนายทหารผู้สังเกตการณ์สันติภาพ 46 นาย เข้าร่วมสังเกตการณ์สันติภาพในจังหวัดอาเจห์ ระหว่าง 9 ธันวาคม 2545-12 พฤษภาคม 2546

- รัฐบาลไทยส่งนายทหาร 21 นาย เข้าร่วมคณะผู้สังเกตการณ์อาเจห์ (Aceh Monitoring Mission: AMM) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน เริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 โดยพลโท นิพัทธ์ ทองเล็ก ได้รับแต่งตั้งเป็น Principal Deputy Head of Mission และเมื่อ AMM ขยายภารกิจถึง 15 มิถุนายน 2549 ไทยได้ส่งนายทหาร 6 นายเข้าร่วม

สนธิสัญญาและความตกลงทวิภาคีระหว่างไทย-อินโดนีเซีย

  1. สนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (3 มีนาคม 2497)
  2. ความตกลงว่าด้วยการบริการทางอากาศ (8 มีนาคม 2510 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาแก้ไขความตกลงฯ )
  3. ความตกลงว่าด้วยการแบ่งเขตไหล่ทวีปในตอนเหนือของช่อแคบมะละกาและในทะเลอันดามัน (17 ธันวาคม 2514)
  4. สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (9 มิถุนายน 2519)
  5. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการศาล (8 มีนาคม 2521)
  6. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน (25 มีนาคม 2524)
  7. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านป่าไม้ (27 พฤษภาคม 2527)
  8. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านถ่านหิน (12 มกราคม 2533)
  9. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย และเทคโนโลยี (2533)
  10. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (18 มกราคม 2535)
  11. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (22 กุมภาพันธ์ 2527 ปรับปรุงแก้ไขปี 2539)
  12. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (17 กุมภาพันธ์ 2541)
  13. พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว (15 พฤษภาคม 2544)
  14. ความตกลงวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย (17 มกราคม 2545)
  15. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านประมงไทย-อินโดนีเซีย (17 มกราคม 2545)
  16. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (23 พฤษภาคม 2546)
  17. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร (16 ธันวาคม 2548)

ความสัมพันธ์ด้านการค้า

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอินโดนีเซียเป็นส่วนใหญ่ โดยในปี 2548 ไทยได้ดุล 864.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าที่ไทยส่งออกไปอินโดนีเซียที่สำคัญได้แก่ น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ 
ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และข้าว

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอินโดนีเซียที่สำคัญได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่และโลหะอื่นๆ เศษโลหะ ถ่านหิน น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน

ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (2540) การลงทุนของไทยในอินโดนีเซียไม่เพิ่มมากนัก ประเภทของการลงทุนได้แก่การเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารสัตว์ เพาะเลี้ยงไก่ ฟาร์มกุ้ง โรงงานผลิตยิปซั่ม กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น โครงการปิโตรเคมี เหมืองแร่ ถ่านหิน อุตสาหกรรมการประมงและโทรคมนาคม

การลงทุนที่สำคัญของไทยมีดังนี้

- การเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหารสัตว์ (ซีพี) เพาะเลี้ยงไก่ และฟาร์มกุ้ง ในสุมาตราเหนือ
และลัมปุง

- โครงการของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้แก่ โรงงานผลิตยิปซั่ม กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องปูพื้น และโครงการปิโตรเคมี

- เหมืองแร่ถ่านหิน ได้แก่ บริษัทบ้านปู ลานนาลิกไนท์ และ EGCO

- อุตสาหกรรมการประมง ซึ่งอินโดนีเซียเป็นแหล่งทำการประมงนอกน่านน้ำที่ใหญ่ที่สุดของไทย

- โทรคมนาคม (บริษัท Jusmin ร่วมลงทุนกับ Nusantara Pacific และ Philippines 
Long Distance Telecommunication ตั้งบริษัท Asia Cellular Sattlelite

- ในเดือนตุลาคม 2544 ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) ได้เข้าซื้อหุ้นร้อยละ 40 ของบริษัท New Links Energy Resources จำกัดซึ่งถือหุ้นของบริษัท Medco Energi Internasional TBK. (Medco) ร้อยละ 85.44 ซึ่งเท่ากับปตท.สผ.ซื้อหุ้น Medco ทางอ้อมในราคาซื้อขายที่ 223.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (บริษัท Medco Energi เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียทำธุรกิจด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม มีอัตราการผลิตน้ำมันสูงเป็นอันดับ 3 ของอินโดนีเซีย โดยบริษัท ปตท.สผ.จะมีสิทฺธิ์ซื้อน้ำมันดิบร้อยละ 50ของสัดส่วนที่ Medco ได้รับจากการดำเนินการซึ่งมีปริมาณมากกว่า 10,000 บาร์เรลต่อวันและเป็นน้ำมันที่เหมาะสมสำหรับใช้ในไทยได้)

การลงทุนของอินโดนีเซียในไทย

ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ปรากฏข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านการลงทุนจากอินโดนีเซียในไทยมากนัก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2541-2543 อินโดนีเซียเป็นประเทศอาเซียนที่ลงทุนในไทยเป็นลำดับที่สาม รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยมีโครงการซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้นสองโครงการในปี 2541 ห้าโครงการในปี 2542 และสี่โครงการในปี 2543 ด้วยมูลค่าการลงทุน 480 ล้านบาท 1,149 ล้านบาทและ 1,300 ล้านบาทตามลำดับ ทั้งนี้ โครงการลงทุนที่สำคัญของอินโดนีเซียที่มีเงินลงทุนสูง ได้แก่

1) โครงการผลิตอาหารทะเลแห้งของบริษัทหาดใหญ่มารีนโปรดักซ์ จำกัด ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ มีมูลค่าการลงทุน 662.4 ล้านบาท

2) บริษัทอินเตอร์ รูฟ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิต Tin Plate ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมระหว่างอินโดนีเซีย และไลบีเรีย มีมูลค่าการลงทุน 430 ล้านบาท

3) บริษัทไทยบรันตามูเลีย จำกัด ผลิต Tyre Cord ประมาณปีละ 4,800 ตัน เป็นหุ้น อินโดนีเซียทั้งสิ้น มีมูลค่าการลงทุน 390 ล้านบาท เป็นต้น

กล่าวโดยรวม อินโดนีเซียลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมและผลิตผลจากการเกษตรมากที่สุด รองลงมาคือสาขาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก นอกจากนั้น เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เซรามิกส์ โลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมเครื่องจักร ตามลำดับ

กลไกความร่วมมือระหว่างไทย-อินโดนีเซีย

ไทยและอินโดนีเซียมีกลไกความร่วมมือในรูปของคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (JC) ซึ่งได้มีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง โดยครั้ง ล่าสุด อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพการประชุม JC ครั้งที่ 5 ระหว่าง 21-23 พฤษภาคม 2546 ที่นครย็อกยาการ์ตา

สำหรับภาคเอกชน ได้มีการลงนาม MOU การจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-อินโดนีเซีย (Thai-Indonesian Business Council) เมื่อ 27 พ.ค. 2546และมีการประชุมร่วมระหว่างสภาธุรกิจไทย-อินโดนีเซียและอินโดนีเซีย-ไทย ครั้งแรกที่อินโดนีเซียเมื่อ 26 เมษายน 2547 ที่กรุงจาการ์ตา

การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

  • เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 อินโดนีเซียประสบปัญหากรณีไฟไหม้ป่าบนเกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน ไทยได้ให้ความช่วยเหลือโดยส่งเครื่องบินตรวจสภาพอากาศ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติการกับทางการอินโดนีเซียในการดับไฟป่า
  • เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2541 ไทยได้บริจาคเวชภัณฑ์ มูลค่า 1 ล้านบาท ให้แก่ชาวอิเรียนจายาของอินโดนีเซีย ซึ่งประสบปัญหาโรคระบาด ความแห้งแล้งและอดอยาก
  • ในปี 2541 ไทยได้บริจาคข้าวสารจำนวน 5,000 ตัน เพื่อช่วยเหลือชาวอินโดนีเซีย ในช่วงเกิดภัยแล้ง El Nino ซึ่งทำให้อินโดนีเซียเกิดวิกฤตการณ์ทางอาหาร
  • ในปี 2541 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงจาการ์ตา ได้ระดมเงินบริจาคจากชาวไทยและธุรกิจไทยในอินโดนีเซียมอบให้แก่องค์กรสาธารณกุศลอินโดนีเซีย เพื่อสงเคราะห์คนยากจน
  • เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ไทยได้บริจาคข้าวสารมูลค่า 2 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก
  • เมื่อเดือนมิถุนายน 2543 ไทยได้มอบเงินช่วยเหลือชาวอินโดนีเซียซึ่งประสบภัยแผ่นดินไหวที่สุลาเวสีและสุมาตราเป็นจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  • เมื่อเดือนสิงหาคม 2544 ไทยได้มอบเงินช่วยเหลือชาวอินโดนีเซียซึ่งประสบอุทกภัยเป็นจำนวนเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมอบผ่านประธานาธิบดีเมฆาวตีซึ่งอยู่ในระหว่างการเยือนไทย
  • เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ไทยได้มอบความช่วยเหลือมูลค่า 1 ล้านบาทแก่อินโดนีเซีย เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในกรุงจาการ์ตาและพื้นที่ใกล้เคียง
  • เมื่อ 1 มีนาคม 2547 ออท. ณ กรุงจาการ์ตา ได้มอบเงิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยภิบัติจากแผ่นดินไหวที่เมือง Nabire จ.ปาปัวตะวันตก อินโดนีเซีย ทั้งนี้ แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 6 และ 7 ก.พ. 2547 มีความรุนแรงวัดได้ 6.9 และ 7.1 ริคเตอร์ตามลำดับ มีผู้เสียชีวิต 27 ราย ผู้บาดเจ็บกว่า 150 คน
  • เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 รัฐบาลไทยได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ จำนวน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐให้กับอินโดนีเซีย ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ที่จังหวัดภูเก็ต
  • เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2548 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางเยือนจังหวัดอาเจห์เพื่อมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์จำนวน 5 ตันประกอบด้วยน้ำดื่มและผ้าห่ม และสำรวจพื้นที่ประสบภัยเพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือทางด้านวิชาการในด้านประมง  และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแก่จังหวัดอาเจห์
  • เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 ได้เกิดแผ่นดินไหวที่จ.ย็อกยาการ์ตาและจ.ชวากลาง มีผู้เสียชีวิตเกือบ 6,000 คน และผู้ไร้ที่อยู่ประมาณ 300,000 คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชสาส์นและข้อความลายพระราชหัตถ์แสดงความเสียพระราชหฤทัยถึงประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารแสดงความเสียใจถึงประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียตามลำดับ นอกจากนี้ ไทยได้มอบเงินช่วยเหลือ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ข้าว 1,000 ตัน และส่งคณะแพทย์/พยาบาล 49 คน

 

 

ที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูต

600-602 Petchburi Road,
Bangkok 10400

Tel: 0-2252-3135-40

Fax: 0-2255-1267

E-mail: kukbkk@ksc11.th.com

Website: www.kbri-bangkok.com

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา

ปี 2020

  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในอินโดนีเซีย Doing Business in Indonesia 2020 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2019

  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในอินโดนีเซีย Doing Business in Indonesia 2019 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2018

  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในอินโดนีเซีย Doing Business in Indonesia 2018 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2017

  • ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: โอกาสการลงทุนของไทยในอาเซียน
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Opportunities for Foreign Direct Investment in Indonesia by BKPM
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: เอกสารสัมมนา TOI Forum 2017: Investment in Indonesia_Tax updates by EY
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานผลการศึกษาข้อมูลเชิงลึก สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: การลงทุนในอินโดนีเซีย Doing Business in Indonesia 2017 (EY)
    ดาวน์โหลด

ปี 2016

  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการลงทุน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเชิงลึก
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลประกอบการลงทุนในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย BKPM (1)
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลประกอบการลงทุนในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย BKPM (2)
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลบริษัทไทยที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในอินโดนีเซีย ณ ปี 2556
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: คู่มือการประกอบธุรกิจ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายชื่อบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ค่าใช้จ่ายการทำธุรกิจในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: บทนำอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของประเทศอินโดนีเซีย: เมืองบันดุง
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึกอุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายของประเทศอินโดนีเซีย: เมืองจาการ์ตา
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: Thailand Overseas Investment Forum 2016
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: Investing in Indonesia
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการวิเคราะห์อุตสาหกรรม และพื้นที่เป้าหมายเชิงลึกของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุนในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย Indonesia booklet 2016
    ดาวน์โหลด