ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ เบนิน

 
ข้อมูลทั่วไป
 

ชื่ออย่างเป็นทางการ

สาธารณรัฐเบนิน หรือ Republic of Benin

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา

พื้นที่

112,622 ตารางกิโลเมตร (43,484 ตารางไมล์) พื้นดิน 110,622 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 2,000 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือติดกับไนเจอร์ (266 กิโลเมตร) และบูร์กินาฟาโซ (306 กิโลเมตร) ทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณอ่าวกินี ทิศตะวันออกติดกับไนจีเรีย (773 กิโลเมตร)และทิศตะวันตกติดกับโตโก (644 กิโลเมตร) มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 121 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

เกือบทั้งหมดมีลักษณะเป็นที่ราบถึงที่ราบลูกฟูก มีเนินเขาและภูเขาเตี้ยๆ

สภาพภูมิอากาศ

ทางภาคใต้บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรมีอากาศร้อนชื้น และมีฤดูฝน 2 ช่วง คือระหว่างเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม และระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนทางภาคเหนือจะมีฝนตกเฉพาะระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี

ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำมัน (ปริมาณไม่มากนัก อยู่ห่างชายฝั่งเล็กน้อย) หินปูน หินอ่อน และไม้

ภัยธรรมชาติ

ลมร้อนที่เต็มไปด้วยฝุ่นและความแห้งแล้ง จะส่งผลกระทบต่อทางตอนเหนือของประเทศในช่วงเดือนธันวาคม- มีนาคม

จำนวนประชากร

9,877,292 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏคมคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

2.84% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สัญชาติ

Beninese

เชื้อชาติ

เป็นชาวอัฟริกัน 99%ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ 42 เผ่า ที่สำคัญคือ เผ่าFon Yoruba Adja และ Bariba และมีชาวยุโรป ประมาณ 5,500 คน

ศาสนา

ศาสนาคริสต์ 42.8% (นิกายโรมันคาทอลิก นิกาย Celestial นิกาย Methodist นิกายโปแตสแตนท์ และนิกายอื่นๆ) ศาสนาอิสลาม 24.4% ศาสนา Vodoun 17.3% อื่นๆ 15.5% (ข้อมูลจากการสัมมะโนประชากร พ.ศ. 2545)

ภาษา

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และมีภาษาพื้นเมืองอื่น ๆ คือ Bariba และ Fulaniซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นสำคัญของภาคเหนือและ Fon และ Yoruba ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นที่สำคัญของภาคใต้


ธงและตราสัญลักษณ์
 
flag COA
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)


 
แผนที่
 

แผนที่

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Benin

 

map

ที่มา: http://www.bjchinesetranslation.com/maps_of_the_world/map_of_Benin.jpg

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

 

 

รูปแบบการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ (Republic)

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเลือกตั้งทั่วไป อยู่ในตำแหน่ง  คราวละ 5 ปี และจำกัดไม่เกิน 2 สมัย

ฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐสภา (National Assembly) แบบสภาเดียว (unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 83 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไป อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

ฝ่ายตุลาการ

 ประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา และศาลสูง

เมืองหลวง

กรุงปอร์โต-โนโว (Porto-Novo) เมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ เมือง Cotonou ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ เมือง Parakou Ouidah Abomey และ Natitingou

การแบ่งเขตการปกครอง

12 เขตจังหวัด ได้แก่ Alibori, Atakora, Atlantique, Borgou, Collines, Kouffo, Donga, Littoral, Mono, Oueme, Plateau, Zou

วันที่ได้รับเอกราช

1 สิงหาคม พ.ศ. 2503 จากฝรั่งเศส

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้รับความเห็นชอบโดยการลงประชามติเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2533

ระบบกฎหมาย

มีรากฐานมาจากประมวลกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติ

Benin Map

เบนินมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญปี 2533 ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และผู้นำรัฐบาล รวมทั้งเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยมีวาระสมัยละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ นาย Boni Yayi ได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2549 และได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549 ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 22 คน ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา รัฐภาเป็นแบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิก 83 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นเดียวกัน มีวาระสมัยละ 4 ปี ส่วนฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา และศาลสูง

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชายฝั่งทะเลของเบนินเป็นศูนย์กลางการค้าทาส และการค้าขายระหว่างพ่อค้าชาวฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และโปรตุเกส ชนพื้นเมืองกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางอำนาจใน 3 พื้นที่หลัก ได้แก่ เมือง Abomey ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ เมือง Porto Novo ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และเมือง Bariba ทางภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ในปี 2168 เมือง Abomey ได้แผ่อิทธิพลและสามารถรวบรวมกลุ่มต่างๆ ก่อตั้งเป็น อาณาจักรดาโฮเมย์ (Dahomey) ต่อมาในปี 2436 ดินแดนดังกล่าวได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง (Protectorate) ของฝรั่งเศส และในปี 2447 Dahomey หรือประเทศเบนินในปัจจุบัน ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธ์แอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส (French West African Federation) โดยมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการบริหารของภูมิภาค และศูนย์กลางการศึกษาของฝรั่งเศสสำหรับอาณานิคมฝรั่งเศสในแอฟริกา

เบนินได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2503 โดยมี นาย Hubert Maga เป็นประธานาธิบดี คนแรก หลังจากนั้นได้เกิดรัฐประหารเปลี่ยนผู้นำถึง 5 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2515 นำโดยพันตรี Mathieu Kerekou ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี และได้ประกาศใช้การปกครองระบอบสังคมนิยมมาร์กซ์-เลนิน ฝักใฝ่สหภาพโซเวียต จีน และคิวบา โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2518 ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนเบนิน (People\\'s Republic of Benin)

ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี Kerekou ในระบอบสังคมนิยม ส่งผลให้เบนินมีความล้าหลังทางเศรษฐกิจและประสบปัญหาความยากจน ในปี 2532 ประชาชนได้ทำการประท้วงจนรัฐบาลต้องจัดให้มีการประชุมแห่งชาติซึ่งมีมติให้ยกเลิกลัทธิมาร์กซ์-เลนิน มีการจัดตั้งรัฐบาลรักษาการเพื่อทำการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการลงประชามติรับรองในเดือนธันวาคม 2533

ในเดือนมีนาคม 2534 มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครั้งแรก โดยนาย Nicephore Soglo อดีตนายกรัฐมนตรีรักษาการ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม 2539 นาย Mathieu Kerekou อดีตประธานาธิบดี ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป และกลับเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง โดยดำรงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องสองสมัยจนถึงปี 2549 ซึ่งประธานาธิบดี Kerekou ได้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดอายุประธานาธิบดีไม่ให้เกิน 70 ปี และลงจากตำแหน่งเปิดทางให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรี ส่งผลให้นาย Boni Yayi ผู้สมัครอิสระ ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2549

การต่างประเทศ

รัฐบาลเบนินพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะไนจีเรีย บูร์กินาฟาโซ และไนเจอร์ เนื่องจากมีข้อพิพาทด้านดินแดนระหว่างกัน โดยเฉพาะกรณีการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะต่างๆ ในแม่น้ำไนเจอร์ และเมครู (Mekrou) อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งระหว่างเบนินและไนเจอร์ได้คลี่คลายลงในปี 2548 เมื่อศาลโลกได้ตัดสินให้เกาะจำนวน 16 เกาะเป็นกรรมสิทธิ์ของไนเจอร์ และจำนวน 9 เกาะเป็นกรรมสิทธิ์ของเบนิน

ความสัมพันธ์กับไนจีเรียมีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้น หลังจากที่ไนจีเรียได้เปิดถนนชายแดน 3 สายเพื่อ การขนส่งสินค้าจากเบนินเข้าไนจีเรียในเดือนพฤศจิกายน 2547 และได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ น้ำ เมล็ดฝ้าย น้ำมันพืช และต้นปาล์ม จากเบนิน และได้กำหนดให้มีองค์การตรวจสอบคุณภาพอาหารและยาประจำไนจีเรียขึ้น

นอกจากนี้ เบนินให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่พูดภาษาฝรั่งเศส (Francophone) อย่างยิ่ง โดยมีความตกลงเรื่องการใช้เงินสกุลเดียวกัน คือ สกุล CFA franc (Franc Zone) และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเงินในแอฟริกาตะวันตกตามสนธิสัญญาก่อตั้ง Union Economique et Monétaire Ouest-Africaine (UFMOA) สำหรับมิตรประเทศนอกภูมิภาคแอฟริกานั้น ฝรั่งเศสนับเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุด เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือรายใหญ่ อีกทั้งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 รองจากจีน อีกด้วย

สำหรับบทบาทของเบนินในระดับภูมิภาค เบนินเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้ง Economic Community of West African States (ECOWAS) เมื่อปี 2518 เป็นสมาชิกองค์กรเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างภูมิภาคหลายองค์กรในเวทีระหว่างประเทศ เมื่อเดือนมกราคม 2547 เบนินได้รับเลือกเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นวาระสองปี



 
ประมุขและคณะรัฐบาล
 

Update กันยายน 2556

 

Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments
ข้อมูล ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2556

Pres. Thomas BONI YAYI
Prime Min. Pascal KOUPAKI
Min. of Admin. & Institutional Reform Martial SOUNTON
Min. of Agriculture, Livestock, & Fisheries Kate SABAI
Min. of Communications & Information Technologies Max Barthelemy AHOUEKE
Min. of Culture, Literacy, Artisans, & Tourism Jean-Michel Herve ABIMBOLA
Min. of Decentralization, Local Govt., Admin., & Territorial Management Raphael EDOU
Min. of Development, Economic Analysis, & Prospective Marcel Alain de SOUZA
Min. of Economy & Finance Jonas Aliou GBIAN
Min. of Energy, Mining & Petrol, Water, & Renewable Energy Barthelemy KASS
Min. of Environment, Housing, & Urban Development Blaise GLELE AHANHANZO
Min. of Family, Social Affairs, National Solidarity, Disabled Persons, & the Elderly Fatouma AMADOU DJIBRIL
Min. of Foreign Affairs, African Integration, Francophonie, & Beninese Diaspora Nassirou BAKO ARIFARI
Min. of Health Dorothee Akoko KINDE GAZARD
Min. of Higher Education & Scientific Research Francois Adebayo ABIOLA
Min. of Industry, Commerce, & Small & Medium Enterprises Akuavi Marie-Elise Christiana GBEDO
Min. of Interior, Public Security, & Religion Benoit Assouan Comlan DEGLA
Min. of Justice, Legislation, & Human Rights, Keeper of the Seals, & Govt. Spokeswoman Reckya MADOUGOU
Min. of Labor & Public Service Memouna KORA ZAKI LEADI
Min. of Maternal & Primary Education Eric Kouagou N\\'DA
Min. of Microfinance, Youth, & Female Employment Sofiatou ONIFADE BABAMOUSSA
Min. of Public Works & Transportation Lambert KOTY
Min. of Secondary Education, Technical & Professional Training, & Training & Integration of Youth Alassane SOUMANOU
Min. of Youth, Sports, & Leisure Didier APLOGAN-DJIBODE
Min.-Del. to the Pres. in Charge of Maritime Economy, Maritime Transport, & Port Infrastructure Valentin DJENONTIN-AGOSSOU
Min. in Charge of Institutional Relations Safiatou BASSABI ISSIFOU MOROU
Min. in Charge of Presidential Affairs Issifou KGUI N\\'DOURO
Governor, Central Bank Evariste Sebastien BONOU
Ambassador to the US Cyrille Segbe OGUIN
Permanent Representative to the UN, New York Jean-Francis Regis ZINSOU

 

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-b/benin.html

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

15.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล

1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

3.5% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 35.9%
  • ภาคอุตสาหกรรม 6.4%
  • ภาคการบริการ 57.7% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

อัตราการว่างงาน

ไม่มีข้อมูล

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

6.5% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เผือก ถั่ว ข้าว ฝ้าย น้ำมัน ปาล์ม ถั่งสิลง สัตว์ปีก และโค กระบือ

อุตสาหกรรม

สิ่งทอ บุหรี่ เครื่องดื่ม อาหาร อุปกรณ์การก่อสร้าง และปิโตรเลียม

อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม

3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

ขาดดุล 625.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

มูลค่าการส่งออก

1.578 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

สินค้าส่งออก

ฝ้าย น้ำมันดิบ น้ำมันปาล์มโกโก้ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากปาล์ม อาหารทะเล

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

อินเดีย 32.4% จีน 20% ไนเจอร์ 4.8% ไนจีเรีย 4.2% อินโดนีเซีย 6.8% สิงคโปร์ 4.4%(ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

2.136 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้า

อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าทุน สินค้าบริโภค

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ

จีน 31.1% ฝรั่งเศส 12.2% สหรัฐอเมริกา 6.7% สหราชอาณาจักร 7.6% เนเธอร์แลนด์4.6% อินเดีย 6.5% เบลเยี่ยม 4.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

1 ฟรังค์เซฟา (Franc CFA) เท่ากับ 100 ซังตีมส์ (Centimes)

สัญลักษณ์เงิน

XOF

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนได้ที่นี่)

สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป

เศรษฐกิจของเบนินจัดอยู่ในขั้นปฐมภูมิ พึ่งพาเกษตรกรรมและภาคบริการ โดยมีฝ้ายเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก มีอัตราส่วนประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เศรษฐกิจของ    เบนินจึงอ่อนไหวต่อราคาตลาดโลกและการอุดหนุน (subsidy) ฝ้ายในประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา แม้รายได้กว่าครึ่งของรัฐมาจากการเก็บภาษี แต่รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากการค้า re-export กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีปริมาณร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เป็นการค้าชายแดนและการลักลอบส่งสินค้าออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับไนจีเรีย (กว่าร้อยละ 75 เป็นสินค้าที่นำเข้าผ่านท่าเรือ Cotonou ของเบนินเพื่อส่งต่อไปยังไนจีเรีย) นอกจากนี้ การค้าชายแดนมีความอ่อนไหวสูง และยึดติดกับตลาดและนโยบายการค้าของไนจีเรีย เบนินจึงมักได้รับผลกระทบเมื่อไนจีเรียดำเนินนโยบายกีดกันสินค้าข้ามพรมแดนากเบนิน อาทิ การออกระเบียบด้านการนำเข้าให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น รวมทั้งการปิดพรมแดน

เบนินเป็นประเทศที่สามารถพึ่งพาตัวเอง (self-sufficient) ด้านพืชผล (crop) แต่ขาดแคลนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ทำให้ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากต่างประเทศประมาณ 8,000 ตันต่อปี การปศุสัตว์และประมงในเบนิน คิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปัญหาที่เผชิญประกอบด้วย การแพร่ระบาดของโรคในสัตว์เลี้ยง และการขาดแคลนเจ้าหน้าที่สัตวบาล ขณะนี้รัฐบาลจึง ได้วางแผนระยะยาวให้เบนินสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในอนาคต นอกจากนี้ เบนินยังต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะไนจีเรีย คาดว่า  เบนินจะสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการ West Africa Gas Pipeline ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างไนจีเรียและเบนิน และมีกำหนดเสร็จภายในปี 2550 โครงการดังกล่าวประกอบด้วยการสร้างท่อลำเลียงน้ำมันจากไนจีเรียไปยังเบนินต่อไปยังกานาและโตโก

เบนินเป็นประเทศที่มีความยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แม้ว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเบนินจะอยู่ในระดับร้อยละ 4 แต่เบนินไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากนัก เนื่องจากเบนินเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของประชากรสูง เมื่อเดือนมกราคม 2548 เบนินได้รับ การปลดหนี้จากกลุ่ม G8 ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางด้านหนี้สินต่างประเทศบรรเทาลงบ้าง แต่รัฐบาลเบนินก็ยังคงต้องแบกรับภาระจากการที่รัฐวิสาหกิจประสบปัญหาขาดทุนและการมีระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลเบนินจึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการปรับโครงสร้างระบบราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลเบนินชุดปัจจุบันสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเน้นด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการปฏิรูปรัฐวิสากิจภาคโทรคมนาคม การประปา การไฟฟ้า และการเกษตร ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2544

นโยบายทางเศรษฐกิจปัจจุบันมีเป้าหมายให้เพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นร้อยละ 5.1 ในปี 2550 และร้อยละ 5.5 ในปี 2551 รัฐบาลคาดว่าจะสามารถแปรรูปรัฐวิสาหกิจโรงไฟฟ้าได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม 2550 และองค์การโทรศัพท์ในปี 2552 นอกจากนี้ ยังมีการก่อตั้งโรงงานฝ้ายของภาคเอกชนซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550

เบนินเป็นประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกที่ถูกจัดอันดับโดยสหประชาชาติว่าเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries) ในอดีตเบนินมิได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษาและการสาธารณสุขเท่าที่ควร รัฐบาลปัจจุบันจึงได้ให้ความสำคัญในประเด็นทั้งสองมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีพัฒนาการที่ก้าวหน้ากว่าประเทศส่วนใหญ่ของอนุภูมิภาคตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) โดยให้ความสำคัญกับการจัดสรรและใช้งบประมาณสำหรับโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (Poverty Reduction Strategy Paper: PRSP) และงบประมาณพิเศษผ่านโครงการสำหรับประเทศที่ติดหนี้สินมาก (Heavily Indebted Poor Countries: HIPC) ของธนาคารโลกเพื่อการพัฒนาสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวเบนิน โดยเน้นการพัฒนาการเข้าถึงการศึกษา บริการ สุขภาพขั้นพื้นฐาน น้ำดื่มที่สะอาด การต่อสู้ HIV/AIDS และมาลาเรีย ส่งเสริมการสร้างงาน การให้โอกาสผู้ด้อยโอกาสในการเข้าถึงกิจกรรมที่สร้างรายได้ และส่งเสริมนโยบายพัฒนาที่ดิน ทั้งนี้ ในปี 2543 เบนินสามารถบรรลุเงื่อนไขของ HIPC ในปี 2548 เบนินมีระดับการพัฒนามนุษย์ (Human Development) อยู่อันดับที่ 162 จาก 177 ประเทศตามรายงานของ UN Development Programme\\'s Human Development Index

แม้ว่าตัวชี้วัดทางสาธารณสุขของเบนินจะสูงกว่ามาตรฐานของประเทศทางตอนใต้ทะเลทรายซาฮาราอื่นๆ แต่อัตราการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS ที่เริ่มขยายตัวสูงขึ้นในเบนิน ก็อาจจะกระทบต่อสถิติดังกล่าว อนึ่ง ประชากรช่วงอายุ 15-49 ปี มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อ HIV/AIDS ร้อยละ 1.9 (2546) โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ประมาณ 68,000 คน (2546)

ในด้านสิทธิมนุษยชน รัฐบาลให้ความเป็นเสรีค่อนข้างมาก สื่อมวลชนในเบนินนับว่าได้รับเสรีภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ สมาพันธ์แรงงานยังมีอิสระในการเคลื่อนไหวทางการเมือง และเป็นพลังสำคัญในสังคม นอกจากนี้ กลุ่มองค์กรที่มิใช่รัฐ (NGO) ในเบนินมีจำนวนถึงประมาณ 5,000 องค์กรในปัจจุบัน และสามารถปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ความสัมพันธ์ทั่วไป

ด้านการเมือง

ไทยและเบนินได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2523 ปัจจุบันไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต มีเขตอาณาครอบคลุมเบนิน และอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนเขตอาณาภายหลังจากการจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ประเทศไนจีเรีย ส่วนเบนิน ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเบนินประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย โดยเอกอัครราชทูตเบนินประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง ได้แก่ นาย Pierre Dossou Ago ทั้งนี้ เบนินได้แต่งตั้งนายอัมรินทร์ คอมันตร์ ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์เบนินประจำประเทศไทยด้วย

เบนินเคยคัดค้านข้อเสนอของไทยและกลุ่มอาเซียนเกี่ยวกับปัญหากัมพูชาตั้งแต่การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 24 และไม่รับรองสาส์นตราตั้งของรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตย แต่ได้เปลี่ยนมาให้การสนับสนุนตั้งแต่การประชุมสมัยที่ 32 เป็นต้นมา

ด้านเศรษฐกิจ

การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ เบนินเป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 ของไทยในภูมิภาคแอฟริกา ในปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 7,451.4 ล้านบาท ไทยส่งออก 6,993.1 ล้านบาท นำเข้า 458.3 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 6,534.9 ล้านบาท สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปเบนิน ได้แก่ ข้าว ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก และปูนซีเมนต์ ส่วนสินค้าไทยที่นำเข้าจากเบนิน ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ธัญพืช และธัญพืชสำเร็จรูป และเครื่องใช้ไฟฟ้า

เบนินเป็นลูกค้าข้าวรายใหญ่ของไทยในทวีปแอฟริกา โดยนำเข้าข้าวจากไทยประมาณปีละ 350,000 - 400,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นข้าวนึ่งคุณภาพดี ซึ่งนอกจากใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ยังส่งไปขายประเทศข้างเคียงด้วย ดังนั้น ไทยอาจจะใช้เบนินเป็นทางผ่านส่งสินค้าไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น ไนจีเรีย ไนเจอร์ และบูร์กินาฟาโซ เป็นต้น

ฝ่ายเบนินได้เสนอที่จะทำความตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับประเทศไทย และยังได้แสดงความสนใจที่จะทำความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนด้วยอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนในเบนินส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการที่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อาทิ สิ่งทอ ยาสูบ ซีเมนต์ เบียร์ การขนส่ง ประกันภัย น้ำตาล และน้ำมันงา เป็นต้น อย่างไรก็ดี การลงทุนของภาคเอกชนไทยคงจะต้องแข่งขันกับประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี และแคนาดา นอกจากนี้ ขั้นตอนการขอลงทุนในเบนินค่อนข้างซับซ้อนยุ่งยาก และใช้เวลานาน และมักมีการเรียกเงินกินเปล่าจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อุปสรรคสำคัญสำหรับการลงทุนในเบนินอีกประการหนึ่งคือ พลังงานที่มีราคาสูง โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า เนื่องจาก  เบนินต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้าบางส่วนจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ โตโกและกานาตลอดจนเบนินยังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการลงทุน

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม

ในระหว่างการเยือนประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2534 นาย Theodore Holo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือเบนิน ได้แสดงความสนใจที่จะขยายความร่วมมือกับไทย ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในเรื่องโครงการวิจัยข้าว ธุรกิจการเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลาง การผลิตวัสดุก่อสร้างและการผลิตเครื่องจักรกลขนาดเล็ก ซึ่งในระหว่างวันที่ 2 - 3 เมษายน 2535 เบนินได้เชิญผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมประเทศคู่ภาคีเพื่อการพัฒนาเบนิน ที่นครเจนีวา ซึ่งไทย ได้มอบหมายคณะทูตถาวร ณ นครเจนีวา ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมด้วย พร้อมกับแจ้งว่า ยินดีให้ ความช่วยเหลือด้านวิชาการหากฝ่ายเบนินขอมา และไทยได้กำหนดให้เบนินเป็นประเทศที่อยู่ในโครงการความช่วยเหลือของไทย (Thai Aid Programme) ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือในรูปทุนการศึกษา ฝึกอบรม และดูงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญ และเป็นที่ต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ สาขาการเกษตร สาธารณสุข และการศึกษา

ประธานาธิบดีเบนินได้เคยกล่าวกับเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมเบนินว่า เบนินสนใจที่จะขอความช่วยเหลือจากไทยโดยเฉพาะด้านการปลูกมันสำปะหลังและการแปรรูปมันสำปะหลัง นอกจากนี้ ในโอกาสที่ ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือกับ นาย Rogalien Biaou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเบนิน ในระหว่างการประชุม South Summit ที่ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ฝ่ายเบนินได้แสดงความประทับใจต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทย และเห็นว่าสามารถเป็นแบบอย่างสำหรับแอฟริกาได้ ทั้งนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ได้มอบเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรมทางวิชาการของสำนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศให้นาย Pierre Dossou Ago เอกอัครราชทูตเบนินประจำประเทศไทยถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง นำไปพิจารณา ในโอกาสที่เอกอัครราชทูตฯ เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเดือนธันวาคม 2548

การเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

  • ยังไม่เคยมีการเสด็จฯ เยือน หรือการเยือนของผู้แทนระดับสูงของไทย ไปยังเบนิน

ฝ่ายเบนิน

-รัฐบาล (ระหว่างปี 2524 - 2537)

  • นาย Theodore Holo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือเบนิน
    เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 24-25 ธันวาคม 2524
  • นาย Yacoubou A. Fassassi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และการท่องเที่ยวเบนิน 
    เยือนไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8-12 มีนาคม 2537 ในฐานะแขกของกระทรวงพาณิชย์

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ



 
ตารางที่ 1 : การค้ารวม
 
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2553 2554 2555 2555(ม.ค.-ก.ย.) 2556(ม.ค.-ก.ย.)
ไทย - โลก          
มูลค่าการค้า 376,225.26 451,358.90 479,224.06 357,766.36 361,953.68
การส่งออก 193,298.14 222,579.16 229,236.13 172,056.49 172,139.76
การนำเข้า 182,927.12 228,779.74 249,987.93 185,709.88 189,813.92
ดุลการค้า 10,371.02 -6,200.58 -20,751.80 -13,653.39 -17,674.16
ไทย - เบนิน          
มูลค่าการค้า 268.36 147.67 221.09 132.89 368.86
การส่งออก 257.39 132.18 213.71 127.09 362.54
การนำเข้า 10.98 15.48 7.38 5.79 6.32
ดุลการค้า 246.41 116.70 206.32 121.30 356.23

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร



 
ตารางที่ 2: สินค้าส่งออกที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-ต.ค.)
2556
 (ม.ค.-ต.ค.)
   
1 ข้าว 237.2 104.1 189.5 137.5 409.9
2 ผ้าผืน 6.0 11.0 7.6 4.9 8.6
3 น้ำตาลทราย - 2.5 4.0 4.0 4.8
4 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2.2 1.2 0.6 0.6 1.8
5 ผลิตภัณฑ์ยาง 2.2 2.3 2.6 2.0 1.6
6 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 0.9 1.0 1.1 1.0 1.4
7 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 0.0 0.3 0.8 0.8 1.4
8 หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ 1.6 1.6 0.8 0.6 1.3
9 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 0.0 0.2 0.2 0.2 1.0
10 ผักกระป๋อง แปรรูป 0.3 1.5 0.4 0.4 0.9
รวม 10 รายการ 250.5 125.7 207.7 152.1 432.5
อื่นๆ 6.9 6.5 6.0 5.2 4.3
รวมทั้งสิ้น 257.4 132.2 213.7 157.3 436.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้าที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 ด้ายและเส้นใย 5.7 11.5 4.1 4.1 6.2
2 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 4.5 2.9 2.4 2.4 1.3
3 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 0.5 0.4 0.8 0.7 0.6
4 สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 0.3 0.6 - - 0.2
5 ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ - - - - 0.0
6 สิ่งพิมพ์ - 0.0 0.0 0.0 0.0
7 ผ้าผืน - 0.0 0.0 0.0 0.0
8 ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก - 0.0 0.0 0.0 0.0
9 เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การ - 0.0 - - 0.0
10 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ 0.0 0.0 - - 0.0
รวม 10 รายการ 11.0 15.5 7.4 7.2 8.3
อื่นๆ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
รวมทั้งสิ้น 11.0 15.5 7.4 7.2 8.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

 

ผู้แทนทางการทูต

  • เอกอัครราชทูตเบนินประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง คือ H.E. Mr. Pierre Dossou Ago
    The Embassy of the Republic of Benin
    No. 38, Guang Hua Lu
    Beijing
    The People?s Republic of China
    โทรศัพท์ 6532 -2741, 6532 - 2302
    โทรสาร 6532 - 5103

  • กงสุลกิตติมศักดิ์เบนินประจำประเทศไทย คือ นายอัมรินทร์ คอมันตร์ (Mr. Amarin Khoman)
    ที่อยู่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์เบนิน
    The Consulate of the Republic of Benin
    Manorom Building, 14th Floor
    3354/46-7, Rama IV Road.
    Bangkok 10110
    โทรศัพท์ 249-8633 ? 43
    โทรสาร 671-6550

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา