ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ นามิเบีย

 
ธงและตราสัญลักษณ์
 
flag COA
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)


 
แผนที่
 

 

แผนที่

 

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/maps/wa_largelocator_template.html

 

map

ที่มา: http://www.geographicguide.com/africa-maps/namibia.htm



 
ข้อมูลทั่วไป
 

ชื่ออย่างเป็นทางการ

สาธารณรัฐนามิเบีย หรือ Republic of Namibia

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ระหว่างประเทศแองโกลา และแอฟริกาใต้

พื้นที่

824,292 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

พรมแดนทั้งหมด 3,936 กิโลเมตร ติดกับแอฟริกาใต้ (967 กิโลเมตร) อังโกลา (1,376 กิโลเมตร)  แซมเบีย (233 กิโลเมตร) บอตสวานา (1,360 กิโลเมตร)และมหาสมุทรแอตแลนติก โดยมีความยาวชายฝั่ง 1,572 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบสูง ทะเลทรายนามิบ (Namib Desert) ตามชายฝั่ง ทะเลทรายคาตาฮารี (Katahari Desert) ทางทิศตะวันออกของประเทศ

สภาพภูมิอากาศ

แห้งแล้ง และกึ่งแห้งแล้ง โดยมีฝนตกเบาบาง ขาดช่วง และไม่ตกตามฤดูกาล

ทรัพยากรธรรมชาติ

เพชร ทองแดง ยูเรเนียม ทองคำ เงิน ตะกั่ว ดีบุก ลิเธียม แคดเมียม ทังสะแตน สังกะสี เกลือ พลังน้ำ ปลา หมายเหตุ คสดว่าจะมีน้ำมัน ถ่านหิน และสินแร่เหล็ก

ภัยธรรมชาติ

ฤดูแล้งอันยาวนาน

จำนวนประชากร

2,182,852 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

0.75% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สัญชาติ

Namibian (s)

เชื้อชาติ

ชนผิวดำ 87.5% ชนผิวขาว 6% เชื้อชาติผสม 6.5% โดยชนเผ่น Ovamboประมาณ 50% ของประชากร ชนเผ่า Kavangos 9%  อื่นๆ รวมได้แก่ Herero 7% Damara 7% Nama 5% Caprvian 4% Bushmen 3% Baster 2% Tswana 0.5%

ศาสนา

ประชากรนับถือศาสนาคริสต์ 80-90% และนับถือความเชื่อดั้งเดิม 10-20%

ภาษา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ ก็มีการใช้ภาษาแอฟริกันและภาษาเยอรมัน

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

ชื่อประเทศนามิเบีย (Namibia) มาจากชื่อของทะเลทรายนามิบ (Namib Desert) ซึ่งมีความยาวเกือบตลอดชายฝั่งของนามิเบียและช่วยป้องกันนามิเบียส่วนใน จากการถูกปกครองโดยชาวยุโรปจนถึงศตวรรษที่ 19 โดยในปีพ.ศ. 2421 (1878) Walvis Bay ซึ่งเป็นเมืองท่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของนามิเบียถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และต่อมาเยอรมนีเข้าปกครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (South West Africa) อันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาเบอร์ลิน ในปีพ.ศ. 2428 (1885) อย่างไรก็ดี Walvis Bay ไม่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมนี

การต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชจากแอฟริกาใต้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กองกำลังแอฟริกาใต้เข้ายึดครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (บริเวณประเทศนามิเบียในปัจจุบัน) และจากความเห็นชอบขององค์การสันนิบาติชาติ (League of Nations) แอฟริกาใต้จึงได้ปกครองแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้มาจนถึงปี 1945 เมื่อองค์การสหประชาชาติ (UN) มีการประกาศให้แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้เป็นรัฐที่มุ่งไปสู่การปลดเปลื้องตนเองจากการถูกยึดครอง แต่แอฟริกาใต้ไม่เห็นด้วยกับถ้อยแถลงดังกล่าว

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1950 (ประมาณพ.ศ. 2499 - 2502) แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ได้มีการจัดตั้งองค์การชาตินิยมขึ้นมา 2 องค์การคือ 1. South West African National Union (SWANU) ซึ่งมีฐานปฏิบัติการอยู่ที่เมือง Herero และ 2. Ovamoland People\'s Congress ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น SWAPO ในปีพ.ศ. 2503 (1960) ภายใต้การนำของนาย Nujoma ในขณะนั้น SWAPO ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศให้เป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของนามิเบีย แต่แอฟริกาใต้ยังคงปฏิเสธที่จะเจรจาเพื่อมอบเอกราชคืนแก่นามิเบีย โดยในปี 2503 (1960) นั้น SWAPO ได้นำโครงการและแนวคิดของลัทธิมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสหภาพโซเวียตโดยหวังพึ่งการสนับสนุนทางด้านอาวุธเพื่อทำสงครามต่อต้านแอฟริกาใต้

ภายหลังจากที่แองโกลาได้รับเอกราชในปี 2518 (1975) SWAPO ได้ตั้งฐานที่มั่นใน แองโกลาและได้ทำการโจมตีตามแนวชายแดนเพื่อต่อต้านกองกำลังแอฟริกาใต้ จนกระทั่งปี 2521 (1978) คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ 435 ซึ่งเป็นพื้นฐานของกระบวนการกลับคืนสู่เอกราชของนามิเบียและนำไปสู่การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม โดยความช่วยเหลือของสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา แองโกลา คิวบาและแอฟริกาใต้ และในปี 2531 (1988) ความพยายามของสหประชาชาติก็ประสบผลสำเร็จเมื่อแอฟริกาใต้ถอนทหารออกจากนามิเบีย

พรรค SWAPO ได้รับการยอมรับและเป็นที่ชื่นชอบอย่างแพร่หลายของชาวนามิเบียเนื่องจากเป็นแกนนำหลักในการเรียกร้องเอกราช อย่างไรก็ดี SWAPO มักถูกพรรคฝ่ายค้านกล่าวหาว่าฆ่าและกระทำทารุณกรรมต่อชาวนามิเบียหลายพันคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับของแอฟริกาใต้ ในปี 2533 (1990) SWAPO ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังจากที่นามิเบียได้รับเอกราช โดยนาย Nujoma ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2533 (1990) และพรรค SWAPO ได้รับคะแนนเสียงมากยิ่งขึ้นในการเลือกทั่วไปเมื่อปี 2537 (1994) และปี 2542 (1999) อย่างไรก็ดี สมาชิกพรรค SWAPO ที่ไม่เห็นด้วยกับการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ของนาย Nujoma ได้ แยกตัวออกมาตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อว่า Congress for Democrat - CoD แต่ความนิยมยังคงสู้ SWAPO ไม่ได้ในปัจจุบัน



หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รูปแบบการปกครอง

ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ  (Republic)

ฝ่ายบริหาร

มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและมีหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยมาจากการเลือกตั้งทั่วไป อยู่ในตำแหน่งคราวละไม่เกิน 5 ปี และจำกัดไม่เกิน 2 สมัย

ฝ่ายนิติบัญญัติ

มีระบบ 2 สภา คือ รัฐสภา (National Assembly) ประกอบด้วยสมาชิก 78 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน 72 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี อีก 6 คนมาจากการแต่งตั้ง และสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ (National Council) ประกอบด้วยสมาชิก 26 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี

ฝ่ายตุลาการ

มีศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา

เมืองหลวง

กรุงวินดุก (Windhoek)

การแบ่งเขตการปกครอง

13 เขตได้แก่ Caprivi, Erongo, Hardap, Karas, Khomas, Kunene, Ohangwena, Okavango, Omaheke, Omusati, Oshana, Oshikoto, และ Otjozondjupa

วันที่ได้รับเอกราช

21 มีนาคม พ.ศ. 2533 จากแอฟริกาใต้

รัฐธรรมนูญ

อนุมัติเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผลบังคับใช้วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2533

ระบบกฎหมาย

มีรากฐานมาจากระบบกฎหมายโรมัน-ดัทช์ (Roman-Dutch Law) และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ. 2533

Namibia Map

สถานการณ์ทางการเมือง

นาย Hifikepunye Pohamba จากพรรค SWAPO ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยแรกต่อจากนาย Nujoma ซึ่งปัจจุบันนี้ยังคงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและยังคงมีบทบาทสำคัญในพรรค SWAPO อยู่มาก

ในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมีนาคม 2548 นาย Pohamba ได้เลือกบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของนาย Nujoma หลายคนให้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อลดความแตกแยกภายในพรรค SWAPO และได้ดำเนินนโยบายปราบปรามคอรัปชั่นอย่างเต็มที่เพื่อเรียกคะแนนนิยมให้แก่รัฐบาลของตน อย่างไรก็ดี ในขณะนี้ นาย Pohamba อายุ 70 ปีแล้ว จึงเป็นที่คาดการณ์กันว่า นาย Pohamba จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงสมัยเดียวเท่านั้น ในปัจจุบัน นักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในนามิเบียทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลมีอายุเกินกว่า 60 ปีแทบทั้งสิ้น ดังนั้น จึงพอคาดการณ์ได้ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ คงจะมีคนรุ่นใหม่จำนวนมากเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนคนรุ่นเก่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ผ่านประสบการณ์การเรียกร้องเอกราชจากแอฟริกาใต้มาแล้วทั้งสิ้น

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีความใกล้ชิดมากกับแอฟริกาใต้ แต่มีปัญหาทางด้านพรมแดนกับบอตสวานาและแองโกลา

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

  1. แอฟริกาใต้ ความสัมพันธ์เป็นไปอย่างใกล้ชิด ในการเดินทางเยือนนามิเบียเมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ประธานาธิบดีเนลสัน มันเดลา แถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่แอฟริกาใต้จะยกเลิกหนี้สินจำนวน 826.6 ล้านดอลลาร์นามิเบีย ที่นามิเบียมีต่อแอฟริกาใต้ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้รับเอกราช และเมื่อประธานาธิบดีแซม นูโจมาไปเยือนแอฟริกาใต้ในเดือนพฤษภาคมปี 2539 ก็ได้ร้องขอต่อสภาแอฟริกาใต้ให้ยกเลิกหนี้สินดังกล่าวและขอให้แอฟริกาใต้ไปลงทุนในนามิเบีย แม้ว่านโยบายต่างประเทศของนามิเบียแตกต่างจากนโยบายของแอฟริกาใต้บางประการ อาทิ นามิเบียสนับสนุนนโยบายของจีน ในการอ้างสิทธิเหนือไต้หวันและการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลไนจีเรีย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็ยังคงดำเนินไปด้วยดี เนื่องจากนามิเบียต้องพึ่งพาแอฟริกาใต้ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
  2. แองโกลา นับตั้งแต่ปี 2536 ความสัมพันธ์ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก เนื่องจากในปี 2536 กลุ่ม UNITA กล่าวหาว่ากองกำลังของนามิเบียข้ามไปยังชายแดนภาคใต้ของแองโกลาเพื่อช่วยรัฐบาลแองโกลาต่อสู้กับ UNITA แต่นามิเบียปฏิเสธ และต่อมาในปี 2537 นามิเบียก็ได้ปิดพรมแดนส่วนที่ติดกับแองโกลาหลังจากที่เกิดการต่อสู้ในบริเวณนั้น และชาวนามิเบียถูกฆ่าตาย ต่อมาในปี 2539 ทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่จะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณชายแดน
  3. บอตสวานา ความสัมพันธ์ราบรื่นดีจนกระทั่งในต้นปี 2539 มีข้อขัดแย้งเรื่องการปักปันเขตแดนบริเวณแม่น้ำโชเบ
  4. ซิมบับเว จากประสบการณ์ร่วมกันในเรื่องการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่เข้มแข็งโดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างพรรค SWAPO ของนามิเบียและพรรค ZANU-PF ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ รวมทั้งนายนูโจมามี ประธานาธิบดีนามิเบียความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกับนายมูกาเบ ประธานาธิบดีซิมบับเวอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ทั้ง 2 ประเทศยังร่วมกันส่งกองกำลังไปร่วมสนับสนุนประธานาธิบดีของ DRC Congo ในการต่อสู้กับกลุ่มกบฎใบปี 1998 นอกจากนั้น รัฐมนตรีจากพรรค SWAPO บางคนยังให้การสนับสนุนนโยบายการเข้ายึดครองที่ดินของรัฐบาลซิมบับเวอย่างเต็มที่


ความสัมพันธ์ในกรอบเวทีพหุภาคี

นามิเบียเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กลุ่ม 77 กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-aligned Movement - NAM) องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ (Southern African Customs Union - SACU) ประชาคมด้านการพัฒนาแห่งภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC)



 
ประมุขและคณะรัฐบาล
 

Update กันยายน 2556

Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments

ข้อมูล ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556

Pres. Hifikepunye POHAMBA
Prime Min. Hage GEINGOB
Dep. Prime Min. Marco HAUSIKU
Min. of Agriculture, Water, & Forestry John MUTORWA
Min. of Defense Nahas ANGULA
Min. of Education  
Min. of Environment & Tourism Uahehua HERUNGA
Min. of Finance Saara KUUGONGELWA-AMADHILA
Min. of Fisheries & Marine Resources Bernard ESAU
Min. of Foreign Affairs Netumbo NANDI-NDAITWAH
Min. of Gender Equality & Child Welfare Rosalia NGHINDINWA
Min. of Health & Social Service Richard KAMWI
Min. of Home Affairs & Immigration Pendukeni IIVULA-ITHANA
Min. of Information & Broadcasting Joel KAAPANDA
Min. of Justice Utoni NUJOMA
Min. of Labor & Social Welfare Doreen SIOKA
Min. of Lands & Resettlement Alpheus NARUSEB
Min. of Mines & Energy Isak KATAL
Min. of Presidential Affairs Albert KAWANA
Min. of Regional & Local Govt. & Housing & Rural Development Charles Ndaxu NAMOLOH, Maj. Gen. (Ret.)
Min. of Safety & Security Immanuel NGATJIZEKO
Min. of Trade & Industry Calle SCHLETTWEIN
Min. of Veterans Affairs Nickey IYAMBO
Min. of Works, Transport, & Communication Errki NGHIMTINA
Min. of Youth & National Service, Sport, & Culture Jerry EKANDJO
Dir. Gen., National Planning Commission Helmut ANGULA
Attorney Gen. Pendukeni IIVULA-ITHANA
Governor, Central Bank Tom ALWEENDO
Ambassador to the US Patrick NANDAGO
Permanent Representative to the UN, New York Wilfried Inotira EMVULA

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

16.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล

7,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

4.6% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 7.3%
  • ภาคอุตสาหกรรม 34.3%
  • ภาคการบริการ 58.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการว่างงาน

51.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2551)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

5.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ธัญพืช ข้าวฟ่าง ถั่วลิสง องุ่น สัตว์มีชีวิต ปลา

อุตสาหกรรม

บรรจุเนื้อสัตว์ แปรรูปปลา ผลิตภัณฑ์นม เหมืองแร่ (เพชร ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก เงิน ทังสะแตน ยูเนเนียม ทองแดง)

อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม

6.5% (ค่าประมาณ พ.ศ.2553)

หนี้สาธารณะ

28.2% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

49.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

มูลค่าการส่งออก

4.657 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออก

เพชร ทองแดง ทองคำ สังกะสี ตะกั่ว ยูเรเนียม ปศุสัตว์ แปรรูปปลา หนังแกะพันธ์คาราคัล

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

แอฟริกาใต้ 33.4% สหรัฐอเมริกา 4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2549)

มูลค่าการนำเข้า

5.762 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้า

ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงเครื่องจักรและอุปกรณ์เคมีภัณฑ์

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

แอฟริกาใต้ 85.2% สหรัฐอเมริกา 14.8% (ค่าประมาณ พ.ศ.2550)

สกุลเงิน

ดอลลาร์นามิเบีย (Namibian Dollar - NAD) และเงินแรนของแอฟริกาใต้ (South African Rand- ZAR)

สัญลักษณ์เงิน

NAD; ZAR

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนได้ที่นี่)

โยบายรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ

1) นโยบายการลดความยากจนและการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เป้าหมายทาง   เศรษฐกิจของนามิเบียนับตั้งแต่ที่ได้รับเอกราชคือการขยายการจ้างงาน การสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจและลดการพึ่งพาเศรษฐกิจในภาคปฐมภูมิ (primary sector) โดยการกระตุ้นการลงทุนจากต่างชาติในอุตสาหกรรมภาคการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้แก่ทรัพยากรธรรมชาติของนามิเบียก่อนการส่งออก รวมถึงอุตสาหกรรมทางด้านการท่องเที่ยวและภาคการเงิน และตั้งแต่ปีที่ผ่านมารัฐบาลนามิเบียให้ความสำคัญกับโครงการลดความยากจนและขยายการมีส่วนร่วมทางธุรกิจให้แก่ "ผู้ด้อยโอกาส" ชาวนามิเบีย (previous disadvantaged Namibians) ที่มีจำนวนถึง 95%

2) นโยบายการสนับสนุนให้คนดำมีส่วนร่วมทางธุรกิจ (Black Economic Empowperment - BEE) โดยทั่วไปรัฐบาลมิได้เข้ามาแทรกแซงทางเศรษฐกิจและมิได้มีการกำหนดขอบเขตขั้นต่ำในการมีส่วนร่วมของคนผิวดำและการเป็นจ้าของในธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี ในภาคการประมงได้มีการกำหนดสัดส่วนการมีส่วนร่วมของชาวพื้นเมืองเพื่อเป็นเงื่อนไขไปสู่การได้รับใบอนุญาตทำการประมงในนามิเบียแล้ว และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของชาวพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น รัฐบาลมองว่า BEE มิได้เป็นเพียงแค่กลไกในการปรับโครงสร้างความไม่เท่าเทียมในการเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ยังเป็นยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงสังคมนามิเบียโดยการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนพื้นเมืองด้วย อย่างไรก็ดี อาจเป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารหรือการฉ้อโกงทำให้โครงการนี้ประสบความล้มเหลว รัฐบาลนามิเบียถูกวิพากษ์ว่า โครงการนี้ในที่สุดแล้วคนผิวดำที่เป็นชนชั้นนำหรือมีความรู้จักคุ้นเคยกับรัฐบาลนามิเบียเท่านั้นจะเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่

3) นโยบายดึงดูดการลงทุนของนามิเบีย ตั้งแต่หลังได้รับเอกราช นามิเบียพยายามใช้นโยบายด้านภาษีและสิ่งจูงใจทางการเงินเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการส่งออกและการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน "investment center" ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ดี สิ่งจูงใจจากรัฐบาลออกมาในลักษณะทีละเล็กละน้อยมิได้ออกมาเป็น package จึงขาดความสอดคล้องกันในภาพรวม ในปลายทศวรรษที่ 1990 (ประมาณปีพ.ศ. 2530-2532) นามิเบียมีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล 35% ซึ่งถือว่าไม่สูงมากนัก แต่ก็ไม่เป็นที่จูงใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติอีกต่อไปเพราะประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน เช่น บอตสวานามีอัตราภาษีที่ต่ำกว่านามิเบียในปัจจุบันคือประมาณ 25%

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

ด้านการทูต

รัฐบาลไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับนามิเบียเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2533 และไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย มีเขตอาณาครอบคลุมนามิเบีย และแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนามิเบียด้วยแล้ว คือ Dr. Gabriel T. Uahengo ส่วนนามิเบียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตนามิเบียประจำประเทศมาเลเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และเอกอัครราชทูตนามิเบียประจำประเทศไทยคนแรก คือนาย เนวิลล์ เมลวิน แกร์ตเซ (Mr. Neville Melvin Gertza) ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2550 (ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอเข้าเฝ้าฯ ถวายอักษรสาส์นตราตั้ง) อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ นามิเบียได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์นามิเบียประจำประเทศไทยแล้วคือ นางนลินี ทวีสิน

ด้านการเมือง

ไทยสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 435 ปี 2521 (1978) ในการให้เอกราชแก่นามิเบียมาโดยตลอด ต่อมาสหประชาชาติได้จัดตั้งกองกำลังสังเกตการณ์และควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงสันติภาพและเพื่อเอกราช ซึ่งค่าใช้จ่ายประมาณ 81,324 ดอลลาร์สหรัฐ ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิก UN รวมทั้งประเทศไทยและไทยเป็นประเทศหนึ่งใน 27 ประเทศที่ได้จัดส่งผู้ควบคุมการเลือกตั้งเพื่อช่วยควบคุมดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญของนามิเบีย ที่มีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2532 ตามคำร้องขอขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนไปเข้าร่วม


ด้านเศรษฐกิจ

การค้าระหว่างสองฝ่ายยังคงมีมูลค่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา ดังจะเห็นได้จากข้อมูลการค้าในปี 2546 มีมูลค่าเพียง 108.4 ล้านบาท โดยไทยส่งออก 93.5 ล้านบาท นำเข้า 14.9 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 279.1 ล้านบาท ในปี 2549 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกคือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และสินค้าหลักที่นำเข้าคือ สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใย เครื่องจักรและส่วนประกอบและเคมีภัณฑ์

ปัญหาการค้าทวิภาคี

  • นักธุรกิจไทยและนามิเบียยังไม่มีความคุ้นเคยกันและกันและมีข้อมูลข่าวสารการค้าระหว่างกันน้อยมาก เนื่องจากประเทศนามิเบียเป็นประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชความสัมพันธ์ระหว่างไทย-นามิเบียจึงอยู่ในขั้นเริ่มต้น
  • นามิเบียยังพึ่งพาเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนจากแอฟริกาใต้ในฐานะที่เคยเป็นเมืองขึ้นของแอฟริกาใต้มาก่อน ทำให้พื้นฐานทางธุรกิจการค้าตกอยู่ภายใต้การครอบงำของนักธุรกิจแอฟริกาใต้

 ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย

  • ยังไม่มีความตกลงระหว่างกัน

การแลกเปลี่ยนการเยือน

ฝ่ายไทย

  • 21 มีนาคม 2533 ในโอกาสที่นามิเบียฉลองเอกราช ประเทศไทยได้ส่งคณะผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศไปร่วมพิธีที่กรุงวินด์ฮุกดุก
  • 5-14 กันยายน 2537 คณะสำรวจข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนนามิเบียเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและหาลู่ทางพัฒนาความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
  • ปี 2542 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนนามิเบียอย่างเป็นทางการ

ฝ่ายนามิเบีย

  • 4 เมษายน 2536 Dr. Mose Tjitendero ประธานสภาแห่งชาตินามิเบียเดินทางจากกัมพูชาผ่านประเทศไทยเพื่อไปยังอินเดีย
  • มีนาคม 2538 คณะนักธุรกิจค้าเพชรนามิเบียเดินทางมาเยือนไทยเพื่อศึกษา
    เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการตัดและเจียระไนเพชรของไทย
  • 13 - 19 ตุลาคม 2541 นาย Stan Webster รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร น้ำ 
    และการพัฒนาชนบทนามิเบียและคณะเดินทางมาเยือนไทย เพื่อศึกษาเกี่ยวกับลู่ทางในการร่วมลงทุนและผลประโยชน์อื่น ๆ ระหว่างกัน
  • 28 กันยายน - 2 ตุลาคม 2543 นาย Hage G. Geingob นายกรัฐมนตรีนามิเบียเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล


ผู้แทนทางการทูต

ฝ่ายไทย

เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐนามิเบีย ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domedej Bunnag)ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย

Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516, 
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za 
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za 
Website : http://www.thaiembassy.co.za

นอกจากนั้น มีการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนามิเบีย (Honorary Consul) คือ Dr. Gabriel Tuhafeni Uahengo
ที่อยู่ของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำนามิเบีย
Royal Thai Consulate
315 Swa Building Society Building
7 Post Street Mall, Windhoek
Republic of Namibia
Tel. (264 61) 222-000 / 221-078 Fax. (264 61) 233-690

ฝ่ายนามิเบีย
กงสุลกิตติมศักดิ์นามิเบียประจำประเทศไทยคือ นางนลินี ทวีสิน (Mrs. Nalinee Taveesin)
ที่อยู่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐนามิเบียประจำประเทศไทย
The Consulate of the Republic of Namibia
87/110 Ekamai Soi 3,
Sukhumvit 63, Watthana,
Bangkok 10110
Tel. 02-381-4220 (104) Fax. 02-381-7597

--------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ

 

 

 

สถานที่ติดต่อทางการทูต
 

ที่อยู่

 

The Embassy of the Republic of Namibia

15-01, 15th  Floor
Menara HLA, 3 Jalan Kia Peng
50450 Kuala Lumpur
Malaysia

Tel:  (603) 2164- 6520, 2162- 8950

Fax: (603) 2168 - 8790

E-mail: namhckl@streamyx.com

Website: www.namibiahighcommission.com.my

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา

ปี 2009