ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ แคเมอรูน

ชื่ออย่างเป็นทางการ

สาธารณรัฐแคเมอรูน หรือ Republic of Cameroon

ที่ตั้ง

ตั้งอยู่ระหว่างแอฟริกากลางกับแอฟริกาตะวันตก

พื้นที่

475,440 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 472,710 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 2,730 ตารางกิโลเมตร ความยาวชายฝั่ง 402 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือติดกับไนจีเรีย ทิศตะวันออกติดกับชาดและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศใต้ติดกับสาธารณรัฐคองโก กาบองและอิเควทอเรียลกินี ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก บริเวณอ่าว Biafra

สภาพภูมิประเทศ

มีหลายลักษณะ จากที่ราบชายฝั่งทางทิศตะวันตกฉียงใต้ ที่ราบสูงทางตอนกลาง ทางทิศตะวันตกเป็นแนวภูเขา และที่ราบทางตอนเหนือ

สภาพภูมิอากาศ

อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิสูง และฝนตกชุกโดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน และเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน

ทรัพยากรธรรมชาติ

ปิโตรเลียม บอกไซต์ สินแร่เหล็ก ไม้ซุง พลังน้ำ

ภัยธรรมชาติ

ภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ บางครั้งภูเขาไฟเหล่านี้ก่อให้เกิดก๊าซพิษ เช่นก๊าซพิษจากภูเขาไฟ  Lake Nyos และ Lake Monoun

จำนวนประชากร

20,549,221 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

2.04% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สัญชาติ

Cameroonian (s)

เชื้อชาติ

ชาวแคเมอรูนที่ราบสูง 31% Equatorial Bantu 19% Kirdi 11% Fulani 10% Bantu ตะวันตกเฉียงเหนือ 8% Nigritic ตะวันออก 7% แอฟริกันอื่น ๆ 13% นอกจากนี้ มีเชื้อชาติอื่น ๆ อีกประมาณ 1%

ศาสนา

นับถือความเชื่อดั้งเดิม 40% นับถือศาสนาคริสต์ 40% และนับถือศาสนาอิสลาม 20%

ภาษา

ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นที่สำคัญอีก 24 ภาษา

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

แคเมอรูนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของเยอรมันระหว่างปี พ.ศ. 2427 ถึง พ.ศ. 2459 และเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แคเมอรูนได้ตกเป็นดินแดนในอาณัติขององค์การสันนิบาตชาติ และเป็นดินแดนอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษ (ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แคเมอรูนใต้และแคเมอรูนเหนือ) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนในความปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษดังกล่าวตกเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ และเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 แคเมอรูนของฝรั่งเศสได้รับเอกราช มีการเลือกตั้ง และนาย Ahmadou Ahidjo เป็oประธานาธิบดี ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 แคเมอรูนใต้ของอังกฤษได้ลงประชามติอยู่ร่วมกับอดีตแคเมอรูนของฝรั่งเศส ในขณะที่แคเมอรูนเหนือประสงค์จะอยู่ร่วมกับไนจีเรีย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 สาธารณรัฐแคเมอรูนและแคเมอรูนใต้ของอังกฤษจึงรวมกันเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแคเมอรูน และต่อมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนเป็นสหสาธารณรัฐแคเมอรูน (the United Republic of Cameroon)

 

w w
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)

 

 



 
แผนที่
 

 

w

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/cm.html

 

f

ที่มา: http://pages.stern.nyu.edu/~igiddy/cases/cameroon.jpg 

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

รูปแบบการปกครอง

แบบสาธารณรัฐระบบสภาเดียว (Unicameral) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ อำนาจส่วนใหญ่อยู่ที่ประธานาธิบดี มีพรรคการเมืองหลายพรรค

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยได้รับ เลือกตั้งโดยตรงและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 7 ปี และ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล โดยประธานาธิบดีเป็น ผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2547 การเลือกตั้งครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม 2554

ฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐสภา (National Assembly) แบบสภาเดียว (Unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 180 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสามารถจะยืดหรือลดอายุ

ฝ่ายตุลาการ

มีศาลสูงซึ่งผู้พิพากษาได้รับแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

เมืองหลวง

เมืองยาอุนเด (Yaounde)

เมืองสำคัญอื่นๆ

เมือง Douala ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของแคเมอรูนและมีประชากรอาศัยอยู่มากที่สุด นอกจากนี้ มีเมือง Garoua Maroua Bafoussam และ Bamenda

การแบ่งเขตการปกครอง

10 เขต ได้แก่ Adamaoua, Centre, Est, Extreme-Nord, Littoral, Nord, Nord-Ouest, Ouest, Sud, Sud-Ouest

วันที่ได้รับเอกราช

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2515

รัฐธรรมนูญ

20 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยการทำประชามติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2515 และปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2539

ระบบกฎหมาย

มีรากฐานมาจากระบบประมวลกฎหมายฝรั่งเศส โดยได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษเช่นกัน

Cameroon Map

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

แคเมอรูนมีปัญหาบริเวณชายแดนกับไนจีเรีย ความสัมพันธ์ได้ตกต่ำลงในช่วงต้นเดือน มกราคม พ.ศ. 2537 เมื่อกองกำลังของแคเมอรูนเข้าไปในไนจีเรียและกวาดล้างหมู่บ้านรวมทั้ง สังหารชาวไนจีเรียเป็นจำนวนมาก ไนจีเรียจึงส่งกองกำลังเข้าไปยังเกาะ Diamant และ Jabane ของแคเมอรูนบริเวณอ่าวกินี แคเมอรูนก็ส่งกองกำลังเข้าไปในบริเวณดังกล่าวเช่นกัน หลังจากนั้น ได้มีความพยายามในการเจรจายุติความขัดแย้งดังกล่าวมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่าย ยังมีการปะทะกันและมีการเสริมกำลังทางทหาร

แคเมอรูนเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ประเทศในเครือจักรภพ องค์การเอกภาพแอฟริกา และเป็นรัฐ ACP ของสหภาพยุโรป



 
ประมุขและคณะรัฐบาล
 

Update กันยายน 2556 

Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments

ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2555

 

Pres. Paul BIYA
Prime Min. Philemon YANG
Dep. Prime Min. Amadou ALI
Dep. Prime Min. Jean NKUETE
Sec. Gen. of the Presidency Laurent ESSO
Min.-Delegate at the Presidency in Charge of Defense Alain Mebe NGO\'O
Min. in Charge of Special Duties at the Presidency Paul ATANGA NJI
Min. in Charge of Special Duties at the Presidency Victor MENGOT
Min. in Charge of Special Duties at the Presidency Hamadou MUSTAPHA
Min. in Charge of Special Duties at the Presidency Rene Emmanuel SADI
Min. of Agriculture & Rural Development Jean NKUTE
Min. of Basic Education Alim YOUDDOUF
Min. of Commerce Luc Magloire MBARGA ATANGANA
Min. of Communication Issa Tchiroma BAKARY
Min. of Culture Ama Tutu MUNA
Min. of Economy, Planning, & Regional Development Louis Paul MOTAZE
Min. of Employment & Professional & Technical Training Zacharie PEREVET
Min. of Energy & Water Resources Michael Ngako TOMDIO
Min. of Environment & Nature Protection Pierre HELE
Min. of External Relations Pierre Moukoko MBONJO
Min. of Finance Lazare Essimi MENYE
Min. of Forestry & Wildlife Elvis NGOLLE NGOLLE
Min. of Higher Education Jacques Fame NDONGO
Min. of Industry, Mines, & Technological Development Badel Ndanga NDINGA
Min. of Justice Amadou ALI
Min. of Labor & Social Security Robert NKILI
Min. of Lands & Titles Jean-Baptiste BELEOKEN
Min. of Livestock & Fisheries Aboubakary SARKI
Min. of Post & Telecommunications Jean-Pierre Biyiti Bi ESSAM
Min. of Public Health Andre Mama FOUDA
Min. of Public Service & Admin. Reform Emmanuel BONDE
Min. of Public Works Bernard Messengue AVOM
Min. of Scientific Research & Innovation Madeleine TCHUENTE
Min. of Secondary Education Louis BAPES BAPES
Min. of Social Affairs Catherine Bakang MBOCK
Min. of Sports & Physical Education Michel ZOA
Min. of Territorial Admin. & Decentralization Hamidou Yaya MARAFA
Min. of Tourism Baba HAMADOU
Min. of Transport Bello Bouba MAIGARI
Min. of Urban Development & Housing Colbert TCHATAT
Min. of Women & Family Protection Marie Theresa Abena ONDOA
Min. of Youth Adoum GAROUA
Governor, Central Bank Philibert ANDZEMBE
Ambassador to the US Joseph FOE-ATANGANA
Permanent Representative to the UN, New York Michel Tommo MONTHE

ที่มา:https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-c/cameroon.html



 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

50.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล

2,300 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

4.7% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 19.8%
  • ภาคอุตสาหกรรม 30.9%
  • ภาคการบริการ 49.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการว่างงาน

30% (ค่าประมาณ พ.ศ.2544)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

2.9% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

กาแฟ โกโก้ ฝ้าย ยางพารา กล้วย เมล็ดธัญพืช สิ่งมีชีวิต ไม้ซุง

อุตสาหกรรม

ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมและการกลั่นน้ำมัน การผลิตอะลูมิเนียม การแปรรูปอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สิ่งทอ การซ่อมเรือ

อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม

4% (ค่าประมาณ พ.ศ.2553)

หนี้สาธารณะ

14.7% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-946.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

6.538 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออก

น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมไม้ซุง เมล็ดโกโก้ อะลูมิเนียม กาแฟ ฝ้าย

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

สเปน 13.4% อิตาลี 8.9% ฝรั่งเศส 6.4% เนเธอร์แลนด์ 9.8% สหรัฐอเมริกา 5.9% จีน11.4% อินเดีย 5.7% เยอรมนี 4.8% เบลเยี่ยม 4.1% (ค่าประมาณพ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

6.597 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้า

เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เชื้อเพลิง อาหาร

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

ฝรั่งเศส 16.6% ไนจีเรีย 12.3% จีน 16.8% เบลเยี่ยม 5.3% สหรัฐอเมริกา 4.2% อิตาลี4.3% (ค่าประมาณพ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

Communaute Financiere Africaine Francs

สัญลักษณ์เงิน

XAF

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนได้ที่นี่)

สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป

จากการที่แคเมอรูนมีทรัพยากรทางด้านน้ำมันและมีสภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรม ทำให้แคเมอรูนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ ์ขั้นมูลฐาน ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาทางตอนล่างของทะเลทรายซาฮารา อย่างไร ก็ตาม แคเมอรูนก็ยังประสบกับปัญหาสำคัญเช่นเดียวกับประเทศด้อยพัฒนาอื่น ๆ อาทิ เช่น ระบบราชการที่ข้าราชการระดับสูงมีจำนวนมาก และบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 รัฐบาลจึงได้เข้าร่วมโครงการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคาร โลกหลายโครงการ เพื่อกระตุ้นการลงทุนในภาคธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพในภาคเกษตรกรรม การปรับปรุงการค้าและการปรับเงินทุนของธนาคารของรัฐ อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ประสบความล้มเหลวที่จะผลักดันให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าไปอย่างเต็มที่ การลงนามในความตกลงปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจฉบับล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่การบริหารงานของรัฐบาลที่ผิดพลาดและการฉ้อราษฎร์บังหลวงก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ อัตราเงินเฟ้อก็ลดมาอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ ความคืบหน้าในการแปรรูป รัฐวิสาหกิจทางด้านอุตสาหกรรมของรัฐ อาจจะช่วยให้เศรษฐกิจมีความเติบโตขึ้นในปี 2543 ได้ นอกจากนั้นรัฐบาลได้ยอมรับความช่วยเหลือจาก IMF ซึ่งทาง IMF ต้องการให้มีการแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างด้านการเงิน และกดดันให้มีการปฏิรูปด้านการเงินและเพิ่มความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ และให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ไทยและแคเมอรูนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 โดยไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศแคเมอรูน

ส่วนแคเมอรูนยังไม่ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและแคเมอรูนดำเนินมาด้วยความราบรื่น และไม่มีปัญหาระหว่างกัน

ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

ปัจจุบันแคเมอรูนไม่ได้รับความช่วยเหลือภายใต้ Thai Technical Cooperation Programme แต่อย่างใด ซึ่งประเทศไทยอาจ พิจารณาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่แคเมอรูน เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันต่อไป

ประเทศไทยเคยให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่แคเมอรูน จากกรณีการ ระเบิดของก๊าซจากปล่องภูเขาไฟในแคเมอรูน โดยได้บริจาคข้าวนึ่งชนิด 5% จำนวน 25 ตัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 และในปี 2533 ไทยได้บริจาคข้าวนึ่ง 10% จำนวน 100 ตัน ให้แก่แคเมอรูนโดยผ่านทางสมาคมฟุตบอลแคเมอรูน


ผู้แทนทางการทูต


ฝ่ายไทย

อุปทูตประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูจา (มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐแคเมอรูน) คือนายนิยม วัฒน์ธรรมาวุธ

ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอาบูจา

Royal Thai Embassy

Plot 766 Panama Street,, Cadastral Zone A6, off IBB Way,

Maitama, Abuja,  NIGERIA

E-mail : thaiabj@mfa.go.th

 ------------------------------------------------

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ



 
ตารางที่ 1 การค้าไทย-แคเมอรูน
 
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2553 2554 2555 2555(ม.ค.-ก.ย.) 2556(ม.ค.-ก.ย.)
ไทย - โลก          
มูลค่าการค้า 376,225.26 451,358.90 479,224.06 357,766.36 361,953.68
การส่งออก 193,298.14 222,579.16 229,236.13 172,056.49 172,139.76
การนำเข้า 182,927.12 228,779.74 249,987.93 185,709.88 189,813.92
ดุลการค้า 10,371.02 -6,200.58 -20,751.80 -13,653.39 -17,674.16
ไทย - แคเมอรูน          
มูลค่าการค้า 132.42 151.84 181.87 133.96 112.29
การส่งออก 119.45 136.42 172.18 129.39 105.54
การนำเข้า 12.98 15.42 9.69 4.57 6.74
ดุลการค้า 106.47 120.99 162.49 124.83 98.80
 
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 2 : สินค้าส่งออกที่สำคัญไปแคเมอรูน
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 ข้าว 103.6 98.8 140.5 126.8 126.3
2 เม็ดพลาสติก 5.3 6.6 5.3 5.3 7.7
3 ผ้าผืน 1.9 4.3 7.1 6.8 3.1
4 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2.9 13.1 11.5 10.7 3.0
5 ผลิตภัณฑ์ยาง 0.8 1.3 1.9 1.7 1.9
6 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 0.3 0.3 0.8 0.8 1.2
7 เคมีภัณฑ์ 0.2 0.3 0.1 0.1 0.9
8 เครื่องนุ่งห่ม 0.6 1.1 1.1 1.1 0.9
9 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 0.2 0.6 0.7 0.7 0.8
10 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 0.6 0.5 0.9 0.9 0.6
รวม 10 รายการ 116.4 127.0 170.0 154.9 146.5
อื่นๆ 3.1 9.4 2.2 2.1 2.2
รวมทั้งสิ้น 119.4 136.4 172.2 157.0 148.7
 
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้าที่สำคัญจากแคมเมอรูน
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 6.5 7.0 3.0 3.0 3.4
2 ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ 0.9 0.8 0.8 0.7 2.1
3 สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 1.0 2.6 3.4 2.2 1.6
4 ด้ายและเส้นใย 3.6 4.1 1.7 0.6 1.3
5 ผ้าผืน - 0.0 - - 0.1
6 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ - - 0.0 - 0.0
7 เครื่องดนตรี ของเล่น เครื่องกีฬาและเครื่อง - 0.0 - - 0.0
8 ไดโอด  ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
9 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 0.0 0.0 0.5 0.5 0.0
10 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 0.1 0.0 0.1 0.1 0.0
รวม 10 รายการ 12.1 14.6 9.6 7.0 8.6
อื่นๆ 0.9 0.9 0.1 0.1 0.0
รวมทั้งสิ้น 13.0 15.4 9.7 7.1 8.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

รายงานการศึกษา

ปี 2011

ปี 2009