ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ แซมเบีย

ชื่ออย่างเป็นทางการ

สาธารณรัฐแซมเบีย หรือ Republic of Zambia

ที่ตั้ง

อยู่ทางตอนกลางของทวีปแอฟริกาภาคใต้ เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล ระหว่างละติจูดที่ 15 00 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 30 00 องศาตะวันออก

พื้นที่

752,614 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (เดิมชื่อซาอีร์) และแทนซาเนีย ทิศตะวันออกติดประเทศมาลาวีและโมซัมบิก ทิศใต้ติดซิมบับเว บอตสวานา นามิเบีย ทิศตะวันตกติดประเทศแองโกลา

สภาพภูมิประเทศ

ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งปกคลุมด้วยป่าทึบ แม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแซมเบซี (Zambezi)

สภาพภูมิอากาศ

แบบเขตร้อน (tropical) และอากาศเย็นบริเวณที่ราบสูง
มี 3 ฤดู ได้แก่ พฤษภาคม-กันยายน อากาศเย็นและแห้ง อุณหภูมิ15- 27 องศาเซลเซียส กันยายน -พฤศจิกายน อากาศร้อนและแห้ง อุณหภูมิ 23 - 29 องศาเซลเซียส และธันวาคม-เมษายน อากาศร้อนและแห้ง อุณหภูมิ 27 - 32 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรธรรมชาติ

แซมเบียเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ ซึ่งทำรายได้ส่วนใหญ่ให้แก่ประเทศ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ทองแดง (ซึ่งแซมเบียผลิตมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก) โคบอลต์ (ผลิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ตะกั่ว สังกะสี และถ่านหิน

ภัยธรรมชาติ

ภัยแล้ง และพายุเขตร้อน (ตุลาคม-เมษายน)

จำนวนประชากร

14,222,233 คน (ค่าประมาณการ เดือนกรกฏคมคม พ.ศ. 2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

2.89% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สัญชาติ

Zambian (s)

เชื้อชาติ

ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่า Bantu และยังมีเผ่า Bemba ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เผ่า Nyanja ทางภาคตะวันออก เผ่า Tonga ทางภาคใต้ และเผ่า Lozi ทางภาคตะวันตก นอกจากนี้ มีชาวยุโรป ประมาณร้อยละ 1 และชาวเอเชียประมาณร้อยละ 0.2

ศาสนา

ประชากรร้อยละ 50-75 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก นอกนั้นนับถือศาสนาอิสลาม ฮินดู และความเชื่อต่าง ๆ

ภาษา

ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ ภาษาท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ Bantu

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป

ชนเผ่าที่พูดภาษาบันตูได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศแซมเบียในปัจจุบันเมื่อประมาณสองพันปีก่อน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ชาวยุโรป มิชชันนารี และพ่อค้าได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่บริเวณนี้ ในปี 2431 (ค.ศ. 1888) นาย Cecil Rhodes ซึ่งกำกับดูแลผลประโยชน์ทางการค้าและการเมืองของอังกฤษในภูมิภาคแอฟริกาตอนกลาง ได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่จากหัวหน้าเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ และในปีเดียวกันนั้น อังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนโรดีเซียเหนือ (Northern Rhodesia) และโรดีเซียใต้ (Southern Rhodesia) (ซึ่งคือ ประเทศแซมเบียและ ซิมบับเวในปัจจุบัน) ในปี 2496 (ค.ศ. 1953) ดินแดนโรดีเซียทั้งสองได้รวมกับดินแดนนยาซาแลนด์ (Nyasaland ซึ่งปัจจุบัน คือ ประเทศมาลาวี) และกลายเป็นสมาพันธรัฐโรดีเซียและนยาซาแลนด์ (the Federation of Rhodesia and Nyasaland) อย่างไรก็ดี ได้เกิดความวุ่นวายในดินแดนโรดีเซียเหนือ เพราะชาวพื้นเมืองแอฟริกาต้องการมีส่วนร่วมในรัฐบาลมากขึ้น ผลการเลือกตั้งในปี 2505 (ค.ศ. 1962) ปรากฏว่า ชาวพื้นเมืองแอฟริกาได้รับเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ ต่อมา สภานิติบัญญัติได้ผ่านมติเสนอให้ปลดปล่อยโรดีเซียเหนือจากสมาพันธรัฐโรดีเซียและนยาซาแลนด์ สมาพันธรัฐดังกล่าวได้สลายตัวลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 (ค.ศ. 1963) ดินแดนโรดีเซียเหนือได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 24 ตุลาคม 2507 (ค.ศ. 1964) และกลายเป็นสาธารณรัฐแซมเบีย

ในช่วง 6 ปีแรกหลังจากที่ได้รับเอกราช แซมเบียเป็นประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ที่ร่ำรวยและมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วมากที่สุดประเทศหนึ่ง เพราะสามารถผลิตทองแดงได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแซมเบียอยู่ในภาวะที่ไม่คงที่ เนื่องจาก ราคาทองแดงในตลาดโลกลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้แซมเบียซึ่งส่งออกทองแดงเป็นสินค้าหลักได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ต้องพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศ ประกอบกับราคาทองแดงตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง แซมเบียจึงประสบปัญหาไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ยและเงินกู้ได้ ทำให้ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แซมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีหนี้สินต่างประเทศต่อหัวมากที่สุดในโลก

ประธานาธิบดี Kenneth Kaunda ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษผู้กอบกู้เอกราชของแซมเบีย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานตั้งแต่แซมเบียได้รับเอกราช จนถึงปี 2534 (ค.ศ. 1991) ระบบการเมืองของแซมเบียแต่เดิมนั้น มีพรรค United National Independence Party (UNIP) เป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคเดียว แต่ต่อมา สภาพความตกต่ำทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชาชน ทำให้ความนิยมในประธานาธิบดี Kaunda เสื่อมลง เกิดการจราจลในประเทศ และมีกลุ่มต่อต้านประธานาธิบดีพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม 2533 (ค.ศ. 1990) จึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค และได้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยในเดือนตุลาคม 2534 (ค.ศ. 1991) ผลปรากฏว่า นาย Federick Chiluba ผู้นำสหภาพแรงงานได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ และพรรค Movement for Multi-Party Democracy (MMD) ของนาย Chiluba สามารถครองที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา

 

ธงและตราสัญลักษณ์
 
Flag COA
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)


 
แผนที่
 

map

ที่มา: CIA - The World Factbook

 

map

ที่มา: CIA - The World Factbook

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

 

รูปแบบการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย

เมืองหลวง

กรุงลูซากา (Lusaka)

การแบ่งเขตการปกครอง

9 เขต ได้แก่ Central, Copperbelt, Eastern, Luapula, Lusaka, Northern, North-Western, Southern, Western

วันที่ได้รับเอกราช

24 ตุลาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)

รัฐธรรมนูญ

24 สิงหาคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) แก้ไขในปี พ.ศ. 2539

ระบบกฎหมาย

มีรากฐานมาจากกฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษ (English Common Law) และกฎหมายประเพณี

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ หัวหน้าและผู้แต่งตั้งคณะรัฐบาลจากผู้แทนราษฎร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 วาระ การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2011
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว (Unicameral National Assembly) จำนวน 158 ที่นั่ง (150 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีแต่งตั้ง 8 ที่นั่ง) วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2011
ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์สูงสุด ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา ศาลสูง (High Court)  

Zambia Map

นโยบายด้านการเมือง

รัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดี Mwanawasaให้ความสำคัญกับการปราบปรามทุจริตและการประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยใช้มาตรการปลดรัฐมนตรีที่ประพฤติผิดออกจากตำแหน่ง และให้การสนับสนุนคณะกรรมาธิการปราบปรามคอรัปชั่นแซมเบียในการดำเนินการปราบปรามทุจริตและคอรัปชั่นอย่างเอาจริงเอาจัง โดยเฉพาะ ได้พุ่งเป้าไปที่อดีตประธานาธิบดี Chiluba และบุคคลใกล้ชิด นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Mwanawasa ยังได้ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อสืบสวนและลงโทษข้าราชการที่ทุจริตในสมัยประธานาธิบดีคนก่อนด้วย

 



 
ประมุขและคณะรัฐบาล
 

Update กันยายน 2556

Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments
ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2556

Pres. Michael Chilufya SATA
Vice Pres. Guy SCOTT
Min. of Agriculture & Livestock Robert SICHINGA
Min. of Chiefs & Traditional Affairs Nkandu LUO
Min. of Commerce, Trade, & Industry Emmanuel CHENDA
Min. of Community Development & Mother & Child Health Joseph KATEMA, Dr.
Min. of Defense Godfrey MWAMBA
Min. of Education, Science, & Vocational Training John T. PHIRI
Min. of Finance Alexander CHIKWANDA
Min. of Foreign Affairs Wilbur SIMUUSA
Min. of Health Joseph KASONDE, Dr.
Min. of Home Affairs Kennedy SAKENI
Min. of Information, Broadcasting, & Labor Fackson SHAMENDA
Min. of Justice Wynter KABIMBA
Min. of Lands, Natural Resources, & Environmental Protection  
Min. of Local Govt., Housing, Early Education, & Environment Emerine KABANSHI
Min. of Mines, Energy, & Water Development Yamfwa MUKANAGA
Min. of Sports Chishimba KAMBWILI
Min. of Tourism & Arts Sylvia MASEBO
Min. of Transport, Communications, Works, & Supply Christopher YALUMA
Attorney Gen. Mumba MALILA
Governor, Bank of Zambia Michael GONDWE
Ambassador to the US Inonge MBIKUSITA-LEWANIKA
Permanent Representative to the UN, New York Patricia Mwaba KASESE-BOTA

 

ที่มา:https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-z/zambia.html

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

23.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายบุคคล

1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

6.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 20.2%
  • ภาคอุตสาหกรรม 33.5%
  • ภาคการบริการ 46.3% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

6.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าว ถั่วลิสง เมล็ดดอกทานตะวัน ผัก ดอกไม้ ยาสูบ ฝ้าย อ้อย แป้งมันสำปะหลัง กาแฟ ปศุสัตว์ แพะ สุกร สัตว์ปีก นม ไข่ หนังสัตว์

อุตสาหกรรม

การทำเหมืองและแปรรูปทองแดง ก่อสร้าง อาหาร เครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ปุ๋ย

อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม

8.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-1.048 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

มูลค่าการส่งออก

8.346 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออก

ทองแดง โคบอลท์ กระแสไฟฟ้า ยาสูบ ดอกไม้ ฝ้าย

ประเทศ (คู่ค้่า) ส่งออกที่สำคัญ

สวิสเซอร์แลนด์ 18.2% แอฟริกาใต้ 7.8% สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนคองโก5.4% จีน 34.8% เกาหลีใต้4.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

มูลค่าการนำเข้า

 

7.279 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้า

เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง สินค้าปิโตรเลียม กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย อาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป

ประเทศ (คู่ค้า) นำเข้าที่สำคัญ

แอฟริกาใต้ 36.7% สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนคองโก 20.6% จีน 10% คูเวต 5.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

Zambian Kwacha (ZMK)

สัญลักษณ์เงิน

ZMK

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราการแลกเปลี่ยนได้ที่นี่)

นโยบายทางเศรษฐกิจ

รัฐบาลมีเป้าหมายลดความยากจนและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประธานาธิบดี Mwanawasa ให้คำมั่นสัญญาที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยรัฐบาลจะใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะการปรับลดจำนวนตำแหน่งรัฐมนตรี และการกำหนดให้รัฐมนตรีซึ่งเดินทางมาปฏิบัติราชการในกรุงลูซากาเข้าพักในโรงแรมระดับธรรมดา เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ สำหรับนำไปใช้ในด้านบริการสังคมอื่นๆ และการตรึงการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการไม่ให้สูงกว่าอัตราการขยายตัวของ GDP งบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ จะนำไปใช้ในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดความยากจน อาทิ โครงการเกี่ยวกับการศึกษา และการสาธารณสุข รวมถึงการต่อสู้กับโรคเอดส์ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามจะลดการพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมการผลิตทองแดงเพียงอย่างเดียว โดยพยายามส่งเสริมภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การทำเหมืองอัญมณี และพลังงานไฟฟ้า

รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงและเพิ่มผลผลิตการเกษตร เพื่อทำให้แซมเบียมีผลผลิตข้าวโพดเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากหน่วยงานของประชาคมเพื่อการพัฒนาแห่งอนุภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (the Southern African Development Community - SADC) และเห็นว่า นโยบายดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้แซมเบียพัฒนาเป็นแหล่งอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิก SADC เนื่องจากแซมเบียมีดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูก

การปลดหนี้ประเทศยากจนและมีภาระหนี้สูง

แซมเบียเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Highly Indebted Poor Countries Initiative (HIPCI) ขององค์การการเงินระหว่างประเทศ และเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2548 ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือ G8 ได้แถลงว่า กลุ่ม G8 ได้แสดงความพร้อมที่จะปลดเปลื้องหนี้ต่างประเทศของประเทศยากจนที่มีหนี้สินสูง (Highly-Indebted Poor Countries: HIPC) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปแอฟริกา ตามโครงการ HIPCI ของธนาคารโลกและองค์การการเงินระหว่างประเทศ โดยเป็นการยกเลิกหนี้ต่างประเทศทั้งหมดของประเทศที่เข้าข่ายได้รับการยกเลิกหนี้สิน ที่ยอมรับแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจ มีธรรมาภิบาล มีการปราบปรามการคอรัปชั่นอย่างจริงจัง สนับสนุนประชาธิปไตยและหลักกฎหมาย โดยมี 38 ประเทศที่อยู่ในโครงการยกเลิกหนี้สินนี้ และแซมเบียเป็น 1 ใน 18 ประเทศที่เข้าข่ายจะได้รับการยกเลิกหนี้สินทันที

 

 หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ด้านการทูต

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับแซมเบียเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2530 (ค.ศ. 1987) โดยฝ่ายแซมเบียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแซมเบียประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย ขณะที่ฝ่ายไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมีเขตอาณาครอบคลุมแซมเบีย เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียคนปัจจุบัน คือ นายโดมเดช บุนนาค

ด้านการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-แซมเบียราบรื่น ไม่มีปัญหาระหว่างกัน แต่ยังค่อนข้างห่างเหิน ไม่ค่อยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน อย่างไรก็ดี แซมเบียให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศเสมอมา และทั้งสองประเทศมีท่าทีในเวทีระหว่างประเทศที่สอดคล้องกัน

ด้านเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ไทย-แซมเบียในทางเศรษฐกิจนั้นค่อนข้างน้อย ปัจจุบันมีคนไทยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารและเป็นคู่สมรสกับชาวแซมเบียและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในแซมเบียประมาณ 10 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา อย่างไรก็ดี แซมเบียนับเป็นคู่ค้าและแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ซึ่งไทยนำเข้าวัตถุดิบประเภทสินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์จากแซมเบียสูงมาก ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับแซมเบียมาโดยตลอดโดยเฉพาะปี 2549 ที่นำเข้าสูงถึง 10,527 ล้านบาท สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปแซมเบีย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์รถยนต์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

ด้านการลงทุนนั้น นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในแซมเบียน้อยมากและจำกัดอยู่แค่เฉพาะธุรกิจร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เนื่องจากแซมเบียยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักธุรกิจไทย อีกทั้ง ระบบการบริหารจัดการภายในของแซมเบียในการจัดเก็บภาษี การส่งเสริมการลงทุน และความโปร่งใสยังขาดมาตรฐานและไม่มีความเป็นสากล จึงไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุนไทยเท่าใดนัก

ความตกลงที่สำคัญ

ความตกลงทางการบิน ได้มีการลงนามย่อความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทย-แซมเบีย โดยอธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศและผู้อำนวยการการขนส่งทางอากาศแซมเบีย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2534 ที่กรุงเทพฯ

 

การเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

  • ยังไม่มีการเสด็จฯ เยือนแซมเบียของพระราชวงศ์ไทย และไม่มีการเยือนของผู้แทนระดับสูงของไทยในชั้นนี้

ฝ่ายแซมเบีย

  • นาย Kenneth Kaunda อดีตประธานาธิบดีแซมเบีย เดินทางมาเป็นผู้กล่าว Keynote address ในหัวข้อ HIV/AIDS ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอสแคป สมัยที่ 57 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2544
  • Dr. Brian Chituwo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแซมเบีย เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 15 -18 ตุลาคม 2545 เพื่อศึกษาดูงานด้านโรคเอดส์ และได้เข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • นาง Maureen Mwanawasa ภริยาประธานาธิบดีแซมเบียเข้าร่วมการประชุมเอดส์โลก ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547

ผู้แทนทางการทูต

ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐแซมเบีย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย คือ นายโดมเดช บุนนาค (H.E. Mr. Domedej Bunnag)
ที่อยู่ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
Royal Thai Embassy
428 Pretorius/Hill Street
Arcadia, Pretoria 0083
P.O. Box 12080
Hatfield, Pretoria 0028
Tel. (27-12) 342-1600, 342-4516, 
342-4600, 342-4506, 342-5470
Fax. (27-12) 342-4805, 342-3986
E-mail : info@thaiembassy.co.za
Consular Info : visa@thaiembassy.co.za
Trade Info : trade@thaiembassy.co.za 
Technical : webmaster@thaiembassy.co.za 
Website : http://www.thaiembassy.co.za

ฝ่ายแซมเบีย
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแซมเบียประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง คือ H.E.Mr. Lupando Augustine Festus Katoloshi Mwape 
ที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแซมเบีย ณ กรุงปักกิ่ง
The Embassy of the Republic of Zambia
5 Dong Si Jie,
San Li Tun, Beijing,
The People\'s Republic of China
Tel. (8610) 6532-1554, 6532-1778, 6532-2058
Fax. (8610) 6532-1891

-----------------------------------------------------------------

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา  กระทรวงการต่างประเทศ



 
ตารางที่ 1 : การค้าไทย-แซมเบีย
 
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2553 2554 2555 2555(ม.ค.-ก.ย.) 2556(ม.ค.-ก.ย.)
ไทย - โลก          
มูลค่าการค้า 376,225.26 451,358.90 479,224.06 357,766.36 361,953.68
การส่งออก 193,298.14 222,579.16 229,236.13 172,056.49 172,139.76
การนำเข้า 182,927.12 228,779.74 249,987.93 185,709.88 189,813.92
ดุลการค้า 10,371.02 -6,200.58 -20,751.80 -13,653.39 -17,674.16
ไทย - แซมเบีย          
มูลค่าการค้า 59.02 54.30 59.31 43.11 54.23
การส่งออก 9.17 7.80 11.37 9.06 6.34
การนำเข้า 49.84 46.50 47.94 34.06 47.89
ดุลการค้า -40.67 -38.71 -36.57 -25.00 -41.54

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 2 : สินค้าส่งออกที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 4.2 1.2 1.7 1.5 2.0
2 ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 0.0 - 0.0 0.0 1.6
3 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง 0.3 0.3 0.7 0.7 1.3
4 ผลิตภัณฑ์ยาง 0.1 0.1 0.8 0.8 1.0
5 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 0.0 0.6 0.8 0.8 0.5
6 เคมีภัณฑ์ 0.2 0.6 0.3 0.2 0.5
7 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ - 0.1 0.4 0.4 0.4
8 เครื่องนุ่งห่ม 0.5 0.3 0.5 0.5 0.4
9 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 0.3 0.2 0.4 0.4 0.3
10 ผ้าผืน 0.1 0.2 0.2 0.2 0.2
รวม 10 รายการ 5.6 3.6 5.9 5.6 8.1
อื่นๆ 3.6 4.2 5.4 5.3 1.3
รวมทั้งสิ้น 9.2 7.8 11.4 10.9 9.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้าที่สำคัญ
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 44.4 44.9 45.3 42.1 47.6
2 ด้ายและเส้นใย 5.4 1.5 2.4 1.7 5.1
3 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 0.0 0.0 0.2 0.1 1.1
4 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 0.0 0.1 0.1 0.1 0.1
5 เคมีภัณฑ์ - - - - 0.0
6 ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ - - 0.0 0.0 0.0
7 สัตว์มีชีวิตไม่ได้ทำพันธ์ - 0.0 0.0 0.0 0.0
8 แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ - - - - 0.0
9 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 0.0 0.0 - - 0.0
10 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
รวม 10 รายการ 49.8 46.5 47.9 44.1 53.8
อื่นๆ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
รวมทั้งสิ้น 49.8 46.5 47.9 44.1 53.8

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


 
สถานที่ติดต่อทางการทูต
 

ที่อยู่

 

The Embassy of the Republic of Zambia

No. 5 Dong Si Jie, San Li Tun,
Beijing,
The People\'s Republic of China

Tel: (8610) 6532-1554, 6532-1778, 6532-2058

Fax: (8610) 6532-1891

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา