ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศ ยูกันดา

ชื่อทางการ

สาธารณรัฐยูกันดา (Republic of Uganda)

ที่ตั้ง

บริเวณเส้นศูนย์สูตร เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา และอยู่ทางตะวันตกของประเทศเคนยา

พื้นที่

241,038 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 199,100 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 43,938ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต

2,698 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 765 กิโลเมตร เคนยา 933 กิโลเมตร รวันดา 169 กิโลเมตร ซูดาน 435 กิโลเมตร แทนซาเนีย 396 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

ส่วนมากเป็นที่ราบสูงล้อมรอบด้วยเทือกเขา

สภาพภูมิอากาศ

มีอากาศแบบเขตทรอปิคอล ส่วนมากจะมีฝนตก และมีช่วงที่อากาศแห้งสองช่วง (ได้แก่ช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ และช่วงเดือนมิถุนายนไปจนถึงกรกฎาคม) ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศแบบกึ่งแห้ง

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทองแดง แร่โคบอลต์ พลังงานน้ำ หินปูน เกลือ เกลือ และผืนดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

ภัยธรรมชาติ

N/A

จำนวนประชากร

34,758,809 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556)

อัตราการเติบโตของประชากร

3.32% (ค่าประมาณ พ.ศ.2556)

สัญชาติ

ยูกันดา

เชื้อชาติ

บากันดา 16.9% บานยาโคล 9.5% บาโซกา 8.4% บาคีกา 6.9% อิเตโซ 6.4% ลันกี 6.1% อโคลี 4.7% บากิซู 4.6% ลักบารา 4.2% บันโยโร 2.7% และอื่นๆ 29.6% (สัมมะโนประชากร พ.ศ.2545)

ศาสนา

คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 41.9% คริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ 42% มุสลิม 12.1% อื่นๆ 3.1% และไม่มีศาสนา 0.9% (สัมมะโนประชากร พ.ศ.2545)

ภาษา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ Luganda, Kiswahili, Luo, Lunyoro -Lutoro และ Bantu เป็นภาษาท้องถิ่น

ประวัติศาสตร์

ยูกันดาตกเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี 2436 (ค.ศ. 1893) จากข้อตกลงระหว่างกษัตริย์แห่ง Buganda ซึ่งเป็นเผ่าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดกับรัฐบาลอังกฤษ หลังจากการเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ อิทธิพลทางเศรษฐกิจของชนผิวขาวจากเคนยาซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในยูกันดาเริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้นำ Buganda ไม่พอใจและระแวงว่าคนเหล่านี้จะมีอำนาจครอบงำทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อมีการเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาตะวันออก (East African Federation) ซึ่งเป็นรัฐเอกราชใหม่ที่จะรวมอดีตอาณานิคมอังกฤษในแอฟริกาตะวันออกเข้าด้วยกัน ผู้นำ Buganda จึงคัดค้านข้อเสนอนี้ และต้องการที่จะแยกตัวออกเป็นประเทศเอกราชต่างหาก เพราะเกรงว่าชนผิวขาวในเคนยาจะมีอิทธิพลเหนือยูกันดา ข้อเรียกร้องดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งกับนักการเมืองจากเผ่าอื่น ซึ่งต้องการให้ยูกันดาได้รับเอกราชแล้วรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว ผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ นาย Milton Obote หัวหน้าพรรค Uganda People\\'s Congress (UPC) ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ยูกันดาได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2505 (ค.ศ. 1962) และนาย Obote ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญฉบับแรกกำหนดให้ยูกันดาเป็นสหพันธรัฐ มีลักษณะพิเศษ คือ ประกอบด้วยอาณาจักรต่าง ๆ โดยอาณาจักรที่สำคัญที่สุด คือ Buganda ต่อมาในปี 2510 (ค.ศ. 1967) นาย Obote ได้ยึดอำนาจตั้งตนเป็นประธานาธิบดี พร้อมกับยกเลิกการปกครองแบบสหพันธรัฐ อย่างไรก็ดี นาย Obote เป็นประธานาธิบดีได้เพียง 4 ปีเศษ ก็ถูกพลตรี Idi Amin ทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2515 (ค.ศ. 1972) ประธานาธิบดี Amin ปกครองประเทศแบบเผด็จการ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้ประกาศสงครามเศรษฐกิจยึดทรัพย์สินของเอกชนเป็นของรัฐประมาณ 3,500 ธุรกิจ มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขับไล่ชาวเอเชียประมาณ 75,000 คน ทำให้คนงานซึ่งทำงานในสาขาพาณิชย์และอุตสาหกรรมว่างงานจำนวนมาก เศรษฐกิจของยูกันดา (ซึ่งหลังได้รับเอกราช เคยเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางของแอฟริกาตะวันออก) เริ่มตกต่ำ ผลผลิตลดลงร้อยละ 16 เกิดภาวะเงินเฟ้อ ต่อมาในปี 2522 (ค.ศ. 1979) กลุ่มต่อต้านโดยความช่วยเหลือของกองทหารแทนซาเนียสามารถโค่นล้มอำนาจประธานาธิบดี Amin ได้สำเร็จ นาย Obote กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งโดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2523 (ค.ศ. 1980) แต่ความขัดแย้งระหว่างเผ่าที่ดำรงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เผ่า Acholi ซึ่งอยู่ทางเหนือ ไม่พอใจต่อการที่นาย Obote ให้ตำแหน่งสำคัญกับคนในเผ่าอื่นจึงทำให้พลโท Tito Okello ซึ่งเป็นคนเผ่า Acholi ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2528 (ค.ศ. 1985) คณะทหารที่ปกครองประเทศได้กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนไม่พอใจและหันไปสนับสนุนขบวนการต่อต้านแห่งชาติ (National Resistance Movement - NRM) ซึ่งมีนาย Yoweri Museveni เป็นผู้นำ นาย Museveni เคยเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของประธานาธิบดี Obote ระหว่างปี 2510-2515 (ค.ศ. 1967-1972) และหลบหนีไปแทนซาเนียในช่วงที่ประธานาธิบดี Amin ก่อการรัฐประหาร และได้ก่อตั้งขบวนการ NRM ขึ้น ขบวนการ NRM สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลของพลโท Okello ได้ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2529 (ค.ศ. 1986) และนาย Museveni เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลจากพรรคต่าง ๆ รัฐบาลประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และอนุญาตให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังคงอยู่ได้แต่ให้ระงับกิจกรรมชั่วคราวรัฐบาลของประธานาธิบดี Museveni มีเป้าหมายอันดับแรก คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติและฟื้นฟูการปกครองด้วยการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากผู้แทนหลายฝ่าย เนื่องจากยูกันดามีขบวนการหลายกลุ่มและแตกแยกสู้รบกันเป็นเวลา 20 ปี ทำให้บ้านเมืองถูกทำลายและเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ

รัฐบาลประกอบด้วยสมาชิกจากขบวนการ National Resistance Movement (NRM), Uganda Patriotic Movement, Democratic Party, Uganda People\\'s Congress, Conservative Party และขบวนการกองโจรเล็ก ๆ 2 องค์การ รัฐบาลทหารชั่วคราวได้ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2529 (ค.ศ. 1986) รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สภา National Resistance Council ประกอบด้วยสมาชิก 268 คน ซึ่งนำโดยประธาน คือ ประธานาธิบดีเดิมขบวนการ NRM ประกาศว่าจะปกครองประเทศเพียง 4 ปี แต่ในเดือนตุลาคม 2532 (ค.ศ. 1989) เนื่องจากสภาวะสงครามทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องขอเวลาอีก 5 ปี เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และการขอยืดอายุรัฐบาลประธานาธิบดี Museveni เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เพราะเห็นว่าไม่มีใครที่จะปกครองประเทศแทนประธานาธิบดี Museveni ได้ รัฐบาลได้รับความนิยมจากประชาชนในด้านความปลอดภัย เศรษฐกิจเสรีและนำความสงบสุขสู่ยูกันดา

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2539 (ค.ศ. 1996) ประธานาธิบดี Museveni ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง มีวาระ 5 ปี และสมาชิกของขบวนการ NRM ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนที่นั่ง 276 ที่นั่ง จึงทำให้ขบวนการ NRM มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

ปัจจุบันยูกันดากำลังประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางตอนเหนือของประเทศ โดยปัญหาดังกล่าวเริ่มต้นในปี 2530 (ค.ศ. 1987) เนื่องมาจากมีการจัดตั้งกลุ่มกบฏ Lord Resistance Army (LRA) นำโดยนาย Joseph Kony ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มรัฐบาลยูกันดาเพื่อก่อตั้งรัฐบาล Theocratic ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ยึดถือพระเจ้าหรือเทพเจ้าเป็นหลัก ถึงแม้ว่า LRA ไม่ได้เป็นภัยคุกคามสำหรับรัฐบาลยูกันดาก็ตาม แต่ก็ได้ก่อความไม่สงบทางตอนเหนือของยูกันดาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ปัจจุบันมีชาวยูกันดาซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือจำนวนมากต้องประสบปัญหาความยากจน ขาดแคลนอาหาร มีอัตราการตายของเด็กสูง มีจำนวนผู้พลัดถิ่นสูง นอกจากนี้ เมื่อปลายปี 2547 (ค.ศ. 2004) ได้มีรายงานด้วยว่า LRA ได้ใช้กำลังกดขี่ทางเพศต่อเด็ก รวมทั้งยังมีเด็กอีกจำนวน 16,000 - 26,000 คน ถูกใช้งานเป็นทหาร (Child Soldiers)

ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 (ค.ศ. 2006) ประธานาธิบดี Museveni ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 59.3 โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี

 

ธงและตราสัญลักษณ์
 

 

f coa
ธง ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms)


 
แผนที่
 

 

ด

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/ug.html

 

f

ที่มา: http://www.wordtravels.com/Travelguide/Countries/Uganda/Map

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

รูปแบบการปกครอง

แบบสาธารณรัฐ (Republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

ฝ่ายบริหาร

ประกอบด้วยประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและผู้นำรัฐบาล ส่วนนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ในการช่วยเหลือประธานาธิบดีในการดูแลคณะรัฐมนตรี

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ระบบรัฐสภาของยูกันดาเป็นระบบสภาเดียว มีสมาชิกรัฐสภา จำนวน 276 คน โดยเป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง 214 คน ที่เหลือ 62 คน มาจากการเสนอชื่อของประธานาธิบดีที่จัดสรรที่นั่งให้แก่บุคคลสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ได้แก่ สตรี 39 คน นายทหาร 10 คน คนพิการ 5 คน เยาวชน 5 คน และผู้แทนจากภาคแรงงาน 5 คน โดยสมาชิกรัฐสภาอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ

ประกอบด้วยศาลอุทธรณ์และศาลสูง โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาทั้งสองศาล

เมืองหลวง

กรุง Kampala

การแบ่งการปกครอง

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 69 เขต ได้แก่ Adjumani, Amolatar, Amuria, Apac, Arua, Budaka, Bugiri, Bundibugyo, Bushenyi, Busia, Butaleja, Gulu, Hoima, Ibanda, Iganga, Jinja, Kaabong, Kabale, Kabarole, Kaberamaido, Kabingo, Kalangala, Kaliro, Kampala, Kamuli, Kamwenge, Kanungu, Kapchorwa, Kasese, Katakwi, Kayunga, Kibale, Kiboga, Kiruhura, Kisoro, Kitgum, Koboko, Kotido, Kumi, Kyenjojo, Lira, Luwero, Masaka, Masindi, Mayuge, Mbale, Mbarara, Moroto, Moyo, Mpigi, Mubende, Mukono, Manafwa, Mityana, Nakapiripirit, Nakaseke, Nakasongola, Nebbi, Ntungamo, Pader, Pallisa, Rakai, Rukungiri, Sembabule, Sironko, Soroti, Tororo, Wakiso, Yumbe

วันที่ได้รับเอกราช

9 ตุลาคม พ.ศ. 2505 จากสหราชอาณาจักร

วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

8 ตุลาคม พ.ศ. 2538 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2548

ระบบกฎหมาย

เมื่อปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้นำระบบกฎหมายที่มีรากฐานมาจากกฎหมายจารีตประเพณีอังกฤษและกฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติกลับมาใช้

Uganda Map

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ภายหลังได้รับเอกราชในปี 2510 สามประเทศในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของอังกฤษ ได้แก่ ยูกันดา เคนยา และแทนซาเนียได้ร่วมกันจัดตั้ง EAST AFRICAN COMMUNITY (EAC) แต่ก็ต้องล้มเลิกไปในปี 2520 เนื่องจากความขัดแย้งกันทางการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 กลุ่ม EAC ได้ถือกำเนิดขึ้นอีกเมื่อทั้ง 3 ประเทศร่วมลงนามในการจัดตั้ง EAC ขึ้นอีกครั้ง

ยูกันดาเป็นสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติและเข้าเป็นสมาชิกองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2533 ประธานาธิบดี Museveni ได้รับเลือกเป็นประธาน OAU เป็นเวลาหนึ่ง และสมาชิกในกลุ่ม PTA (Preferential Trade Area for East and Southern Africa) เมื่อเดือนธันวาคม 2530 มีการประชุมประเทศในกลุ่ม PTA ที่กรุงกัมปาลา มีมติให้ประเทศสมาชิกลดภาษีศุลกากรลงร้อยละ 10 ทุก ๆ 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2530 ถึงเดือนตุลาคม 2539 นอกจากนี้ ยูกันดายังเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย

ยูกันดาได้ประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศภายใต้ LOME CONVENTION ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการค้าและความช่วยเหลือระหว่าง EU และแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก โดยสินค้าเข้าบางชนิดในประเทศกลุ่ม EU จะได้รับการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การสูญเสียจากการที่ราคาสินค้าตกต่ำและเพื่อกิจการด้านเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 ยูกันดาและประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาตลาดร่วมแห่งภูมิภาครัฐแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market for Eastern and Southern African States : COMESA)

ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ          

เนื่องจากเป็นประเทศที่ประสบภาวะสงครามกลางเมืองเป็นเวลานาน ยูกันดาจึงต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดี Museveni แถลงว่า รัฐบาลยูกันดายินดีที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านที่จำเป็นและสำคัญทางเศรษฐกิจเท่านั้น เช่น ในด้านการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2530 ประเทศผู้ให้ต่าง ๆ ได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ยูกันดามากขึ้น โดยประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดาที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรีย เป็นต้น นอกจากนี้ ยูกันดายังได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการนำเข้าสินค้าจำเป็นจำนวน 20.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดามากที่สุดในภูมิภาค SUB-SAHARA เดนมาร์ก (12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ญี่ปุ่นได้ให้เงินช่วยเหลือ 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ ยูกันดาในการลดภาระหนี้สินในการนำเข้าสินค้าจำเป็น อาทิ ปิโตรเลียม เครื่องมือก่อสร้างถนน อุปกรณ์ไฟฟ้า รถประจำทาง เครื่องจักรกล เครื่องรับโทรทัศน์ วิทยุ อุปกรณ์โทรคมนาคม ฯลฯ จากการเยือนยูกันดาของประธานาธิบดี Clinton ระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2541 นั้นประธานาธิบดี Clinton ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือแก่ยูกันดาในด้านการศึกษา โภชนาการ สาธารณสุขและด้านแรงงานแก่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา รวมมูลค่า 198.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การประกาศให้ความช่วยเหลือดังกล่าวที่ประเทศยูกันดา นับว่าสหรัฐฯ ได้ให้ความสำคัญแก่ยูกันดามากขึ้น

นอกจากนี้ ยูกันดายังมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภูมิภาค (Great Lakes) รวมถึงการส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างกัน และได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Entebbe Summit for Peace and Prosperity ขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2541 โดยประธานาธิบดี Clinton ได้เข้าร่วมการประชุมพร้อมกับผู้นำสูงสุดและผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประธานาธิบดี Museveni แห่งยูกันดา ประธานาธิบดี Danial arap Moi แห่งเคนยา ประธานาธิบดี Benjamin W. Mkapa แห่งแทนซาเนีย ประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu แห่งรวันดา ประธานาธิบดี Laurent Kabila แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก นายกรัฐมนตรี Meles Zenawi แห่งเอธิโอเปีย นาย Murerwa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของซิมบับเว ซึ่งผู้นำและผู้แทนประเทศต่าง ๆ ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์การประชุม Kampala Summit Communigue ด้วย



 
ประมุขและคณะรัฐบาล
 

Update กันยายน 2556

 

Chiefs of State and Cabinet Members of Foreign Governments
ข้อมูล ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2556

Pres. Yoweri Kaguta MUSEVENI
Vice Pres. Edward SSEKANDI
Prime Min. Amama MBABAZI
First Dep. Prime Min. Eriya KATEGAYA
Second Dep. Prime Min. Henry KAJURA
Third Dep. Prime Min. Moses ALI
Min. for Agriculture, Animal Industry, & Fisheries Hope MWESIGYE
Min. for Communications & Information Communication Technology Ruhakana RUGUNDA
Min. for Defense Crispus KIYONGA
Min. for Disaster Preparedness & Refugees Stephen MALINGA
Min. in Charge of East African Affairs Eriya KATEGAYA
Min. for Education & Sports Jessica ALUPO
Min. for Energy & Minerals Hilary ONEK
Min. for Finance, Planning, & Economic Development Maria KIWANUKA
Min. for Foreign Affairs Sam KUTESA
Min. for Health Christine ANDROA
Min. for Information & National Guidance Ruhakana RUGUNDA
Min. for Internal Affairs Hilary ONEK
Min. for Justice & Constitutional Affairs Kahinda OTAFIIRE
Min. for Lands, Housing, & Urban Development Daudi MIGEREKO
Min. for Local Govt. Adolf MWESIGYE
Min. for Oil  
Min. for the Presidency  
Min. for Public Service Henry KAJURA
Min. for Security Wilson MURULI
Min. for Trade Amelia KYANBADDE
Min. for Tourism Ephraim KAMUNTU
Min. for Water & Environment Maria MUTAGAMBA
Min. for Works John NASASIRA
Min. of State for Agriculture Henry BAGIRE
Min. of State for Animal Industry Bright RWAMIRAMA, Maj.
Min. of State for Communication Alintuma NSAMBU
Min. of State for Defense Jeje ODONGO, Gen.
Min. of State for Economic Monitoring, Office of the Pres. Mbeiza KISIRA
Min. of State for Elderly & Disabilities Sulaiman MADADA
Min. of State for Energy Simon D\\'UJANGA
Min. of State for Environment Jessica ERIYO
Min. of State for Ethics, Office of the Pres. Simon LOKODO, Reverend
Min. of State for Finance (General Duties) Fred OMACH
Min. of State for Fisheries Fred MUKISA
Min. of State for Foreign Affairs Henry OKELLO ORYEM
Min. of State for Gender (Women) Rukia ISANGA
Min. of State for Health (General) Richard NDUHURA
Min. of State for Higher Education Rukutana MWESIGWA
Min. of State for Housing Werikhe KAFABUSA
Min. of State for Industry Simon LOKODO, Reverend
Min. of State for Information Communication Technology Nsambu BALINTUMA
Min. of State for Internal Affairs Matia KASAIJA
Min. of State for Investment Aston KAJARA
Min. of State for Justice Fred RUHINDI
Min. of State for Karamoja, Office of the Prime Min. Janet MUSEVENI
Min. of State for Labor Emmanuel OTALA
Min. of State for Lands Asuman KIYNGI
Min. of State for Local Govt. Perez AHABWE
Min. of State for Luwero Triangle, Office of the Prime Min. Nyombi THEMBO
Min. of State for Microfinance Ruth NANKABIRWA
Min. of State for Minerals Peter KOKERIS
Min. of State for Northern Uganda, Office of the Prime Min. David WAKIKONA
Min. of State for Planning Ephrahim KAMUNTU
Min. of State for Primary Education Kamanda BATARINGAYA
Min. of State for Primary Health Care James KAKOOZA
Min. of State for Privatization Chekamondo RUKIA
Min. of State for Public Service Sezi MBAGUTA
Min. of State for Regional Affairs Isaac MUSUMBA
Min. of State for Relief & Disaster Preparedness, Office of the Prime Min. Musa ECWERU
Min. of State for Sports Charles BAKABULINDI
Min. of State for Tourism Serapio RUKUNDO
Min. of State for Trade Nelson Gagawala WAMBUZI
Min. of State for Transport Simon EJUA
Min. of State for Urban Development Urbane TIBAMANYA
Min. of State for Water Betty BIGOMBE
Min. of State for Works John BYABAGAMBI
Min. of State for Youth Jessica ALUPO
Min. of State in the Office of the Vice Pres. James BABA
Min. Without Portfolio Nasser SSEBAGGALA
Chief Whip David MIGEREKO
Attorney Gen. Peter NYOMBI
Governor, Bank of Uganda Emmanuel TUMUSIIME-MUTEBILE
Ambassador to the US Perezi Karukubiro KAMUNANWIRE
Permanent Representative to the UN, New York Richard NDUHUURA

 

ที่มา: https://www.cia.gov/library/publications/world-leaders-1/world-leaders-u/uganda.html

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

 

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)

50.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

GDP รายหัว (GDP per Capita)

1,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการเติบโตของ GDP 4.2% (ค่าประมาณพ.ศ. 2555)

GDP แยกตามภาคการผลิต

  • ภาคการเกษตร 23.9%
  • ภาคอุตสาหกรรม 26.1%
  • ภาคการบริการ 49.9% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

อัตราการว่างงาน

ไม่มีข้อมูล

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

14.7% (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

หนี้สาธารณะ

26.8% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

ผลผลิตทางการเกษตร

กาแฟ ชา ฝ้าย ด้ายและเส้นใย มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ข้าวโพด ไม้ตัดดอก เนื้อวัว เนื้อแพะ นม สัตว์ปีก

อุตสาหกรรม

น้ำตาล กลั่นเบียร์ ยาสูบ ผ้าฝ้ายและสิ่งทอ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า

ดุลบัญชีเดินสะพัด

-2.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ.2555)

มูลค่าการส่งออก

2.735 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ

ปลา และผลผลิตการเกษตร เช่น ชา กาแฟ ฝ้าย

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ

เคนยา 11.6%, รวันดา 9.7%, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 9%, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 8.8%, เนเธอร์แลนด์ 7%, เยอรมนี 6.7%, เบลเยี่ยม 4.6%, อิตาลี 4.3% (ค่าประมาณพ.ศ.2554)

มูลค่าการนำเข้า

5.528 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

อุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์จากผัก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ

เคนยา 14.9% จีน 9.3% สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 14% อินเดีย 11.1%แอฟริกาใต้ 5.6% ญี่ปุ่น 4.4% (ค่าประมาณพ.ศ. 2554)

สกุลเงิน

ยูกันดาชิลลิงส์ - Ugandan Shillings

สัญลักษณ์เงิน

UGX

อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา

(ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราได้ที่นี่)

ภาวะเศรษฐกิจ

  • การปฏิรูปทางเศรษฐกิจในยูกันดาดำเนินมาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ โดยภาคเกษตรกรรมลดความสำคัญลงเรื่อยๆ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการทวีความสำคัญขึ้น ปัจจุบันภาคบริการมีความสำคัญที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยได้รับผลดีจากการเติบโตของภาคโทรคมนาคม โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ และการบริการเพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี อุปสงค์ที่มี เกิดจากการไหลเข้าของเงินช่วยเหลือและให้เปล่าจากต่างประเทศเป็นสำคัญ
  • ยูกันดามีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่น่าพอใจถึงแม้ว่าจะยังน้อยกว่าเคนยา 
    สินค้าที่มีการเจริญเติบโตมาก คือ สินค้าอุปโภคและสินค้าทุน มีศักยภาพด้านการลงทุนในสาขาการเกษตร เหมืองแร่ ป่าไม้ อาหารแปรรูป และสิ่งทอ
  • ยูกันดาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้กรอบ Cotonou Agreement ซึ่งเป็นข้อตกลงทางการค้าและความช่วยเหลือระหว่างสหภาพยุโรป กับภูมิภาคแอฟริกาแคริบเบียน และแปซิฟิก โดยสามารถนำสินค้าเข้าบางชนิดจากกลุ่มสหภาพยุโรปโดยได้รับการยกเว้นภาษี ได้รับความช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การพัฒนากิจการด้านเหมืองแร่
  • ยูกันดาและประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern African States : COMESA) นอกจากนี้ ยูกันดาเป็นสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community: EAC) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2542 ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ ยูกันดา เคนยา และแทนซาเนีย โดย EAC มีวัตถุประสงค์ที่จะให้สมาชิกทั้ง 3 ประเทศ ร่วมมือกันมากขึ้นในด้านเศรษฐกิจ การค้า และด้านการพัฒนา
ตารางที่ 1 : การค้ารวม
 
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2553 2554 2555 2555(ม.ค.-ก.ย.) 2556(ม.ค.-ก.ย.)
ไทย - โลก          
มูลค่าการค้า 376,225.26 451,358.90 479,224.06 357,766.36 361,953.68
การส่งออก 193,298.14 222,579.16 229,236.13 172,056.49 172,139.76
การนำเข้า 182,927.12 228,779.74 249,987.93 185,709.88 189,813.92
ดุลการค้า 10,371.02 -6,200.58 -20,751.80 -13,653.39 -17,674.16
ไทย - ยูกันดา          
มูลค่าการค้า 19.90 19.90 18.18 13.36 16.54
การส่งออก 19.52 17.73 14.57 10.36 12.78
การนำเข้า 0.38 2.17 3.61 3.00 3.76
ดุลการค้า 19.14 15.56 10.96 7.36 9.01
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

 



 
ตารางที่ 2 : สินค้าส่งออก
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 รองเท้าและชิ้นส่วน 3.6 4.7 5.4 4.9 7.6
2 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 5.1 4.3 2.5 1.4 3.1
3 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 1.3 0.7 1.4 1.4 1.3
4 ผลิตภัณฑ์ยาง 0.2 0.4 0.3 0.3 0.8
5 น้ำตาลทราย - - 0.3 0.3 0.4
6 ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ 0.2 0.2 0.3 0.3 0.4
7 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 0.1 0.1 0.2 0.2 0.3
8 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 0.0 0.6 0.0 0.0 0.3
9 เครื่องนุ่งห่ม 0.7 0.5 0.4 0.4 0.3
10 อัญมณีและเครื่องประดับ 0.0 0.1 0.1 0.1 0.3
รวม 10 รายการ 11.3 11.5 10.9 9.3 14.9
อื่นๆ 8.2 6.3 3.6 3.5 1.6
รวมทั้งสิ้น 19.5 17.7 14.6 12.8 16.5

 



 
ตารางที่ 3 : สินค้านำเข้า
 
อันดับที่ ชื่อสินค้า มูลค่า : ล้านเหรียญ
2553 2554 2555 2555
 (ม.ค.-พ.ย.)
2556
 (ม.ค.-พ.ย.)
   
1 ด้ายและเส้นใย 0.2 0.7 3.2 3.2 2.4
2 พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช - - 0.2 0.1 1.4
3 แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ - - 0.0 0.0 0.0
4 ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก 0.0 0.0 - - 0.0
5 เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด - 0.0 0.0 0.0 0.0
6 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ - 0.0 0.0 0.0 0.0
7 เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
8 สิ่งพิมพ์ 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0
9 วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน - - - - 0.0
10 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ - 0.0 0.0 0.0 0.0
รวม 10 รายการ 0.2 0.7 3.5 3.4 3.9
อื่นๆ 0.2 1.5 0.1 0.1 0.0
รวมทั้งสิ้น 0.4 2.2 3.6 3.5 3.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

ด้านการเมือง

ประเทศไทยและสาธารณรัฐยูกันดาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2528 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อเดือนมีนาคม 2528 ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำยูกันดาอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่ฝ่ายยูกันดาได้มอบหมายให้ข้าหลวงใหญ่ยูกันดาประจำกรุงนิวเดลีเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย นอกจากนี้ ฝ่ายยูกันดาได้ขอเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐยูกันดาประจำประเทศไทย และแต่งตั้งนายทวี บุตรสุนทรให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย ส่วนฝ่ายไทยได้แต่งตั้งนาย James Mulwana เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2536

การแลกเปลี่ยนการเยือน

ฝ่ายไทย

  • นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนยูกันดา ระหว่างวันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2548 เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและยูกันดาร่วมทั้งเป็นประธานเปิดศูนย์กระจายสินค้าไทย (Thai Distribution Center) ณ กรุงกัมปาลา

ฝ่ายยูกานดา

  • คณะผู้แทนหอการค้าและอุตสาหกรรมยูกันดาเยือนไทยระหว่างวันที่ 11-23 กรกฎาคม 2535 ตามคำเชิญของ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
  • ประธานาธิบดียูกันดาขอเยือนไทยอย่างเป็นทางการช่วงระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2536 แต่งดการเยือน เนื่องจากมีภารกิจภายในประเทศ
  • นาย Ally M. Kirunda - Kivejinja รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีกิจการต่างประเทศ เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2536 เพื่อมอบสาสน์จากประธานาธิบดียูกันดาและขอเสียงสนับสนุนให้แก่ผู้แทนยูกันดาซึ่งสมัครเป็นรองผู้อำนวยการ International Organization for Migration (IOM) และได้แสดงความประสงค์ที่จะเชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนยูกันดาด้วย
  • เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2537 นาย Richard H. Kaijuka รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมยูกันดา และนาย James Mulwana กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดา ได้เข้าพบ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ในการนี้ นาย Kaijuka ได้ชักชวนให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนในยูกันดา และได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทยเยือนยูกันดาด้วย
  • ประธานาธิบดียูกันดาประสงค์จะเยือนไทยช่วงก่อนหรือหลังการเยือนประเทศ
    มาเลเซียอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม 2537 แต่ฝ่ายไทยยังไม่พร้อมที่จะรับ
  • ประธานาธิบดียูกันดาประสงค์จะเยือนไทยในลักษณะ Working Visit ระหว่าง วันที่ 19-21 เมษายน 2541 (ต่อเนื่องจากการเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ) แต่ฝ่ายไทยยังไม่พร้อมที่จะรับ
  • นาย Moses Ali รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยว การค้าและอุตสาหกรรมยูกันดาได้เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 11-20 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ในโอกาสนี้ นาย Moses Ali ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Heads of State and Government High-Level Round Table ด้วย
  • นาย Gerald Sendaula รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง การวางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจยูกันดาและคณะเยือนไทยระหว่างวันที่ 11 - 15 สิงหาคม 2545 เพื่อชักชวนนักธุรกิจไทยไปลงทุนในยูกันดา
  • นาย Yoweri Museveni ประธานาธิบดียูกันดา เยือนไทยระหว่างวันที่ 25 - 28 กันยายน 2546 ก่อนเดินทางเข้าร่วมประชุม Tokyo International Conference on African Development หรือ TICAD ครั้งที่ 3 ณ ประเทศญี่ปุ่น และได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับผู้นำระหว่างสองประเทศ และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังได้พบปะผู้แทนภาคเอกชนไทย อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (the Joint-Standing Committee on Trade, Industries and Banking) เพื่อส่งเสริมการลงทุนในยูกันดาในด้านต่าง ๆ
  • นาย Yoweri Museveni เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2547 ซึ่งไทยและยูกันดาเป็นสองประเทศที่ได้รับคำชมเชยจากสหประชาชาติในความสำเร็จด้านการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์ 
    นาย Omwony Ojwok รัฐมนตรีแห่งรัฐดูแลเรื่องเศรษฐกิจ (Minister of State in Charge of Economic Monitoring) และคณะเดินทางมาประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 - 22 ธันวาคม 2547 เพื่อศึกษาดูงานด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเกษตร รวมทั้งความร่วมมือทางวิชาการและบทบาทของภาครัฐในกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย
  • นาย Ezra Suruma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ) ในวันที่ 24 สิงหาคม 2548 โดยได้เข้าพบผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) และเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ในวันเดียวกันด้วย
  • นาย Khiddu Makubuya รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอัยการสูงสุดเป็นผู้แทนรองประธานาธิบดียูกันดาเดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 20 - 25 เมษายน 2549 เพื่อศึกษาดูงานด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์
  • Professor Gilbert Balibaseka Bukenya รองประธานาธิบดียูกันดา นำคณะเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 - 20 กันยายน 2549

ที่มา: กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ

 

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน ,  ข้อมูลการลงทุน

รายงานการศึกษา

ปี 2016

  • ชื่อเอกสาร: โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาระเบียบการลงทุน/การทำธุรกิจกลุ่มประเทศตลาดใหม่ (ยูกันดา) ปีงบประมาณ 2559
    ดาวน์โหลด

ปี 2012

  • ชื่อเอกสาร: ข้อมูลพื้นฐานประเทศยูกันดา
    ดาวน์โหลด
  • ชื่อเอกสาร: คู่มือการลงทุนในประเทศยูกันดา
    ดาวน์โหลด