ข้อมูลประเทศเป้าหมาย

ประเทศสาธารณรัฐคีร์กิซ

Kyrgyzstan / คีร์กีซสถาน

ที่ตั้ง อยู่ในเอเชียกลาง ทางทิศตะวันตกของจีนและทิศใต้ของคาซัคสถาน (ระหว่างเทือกเขาเทียนชานและพาเมียร์)

พื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 7 

เมืองหลวง บิชเคก (Bishkek)

เขตการปกครอง แบ่งเป็น 8 จังหวัดและ 1 เมืองปกครองอิสระ* ได้แก่ Bishkek,Batken, Chui, Jalal-Abad, Naryn, Osh, Talas Issyk-Kul Osh*

อากาศ ภูเขาสูงแบบภาคพื้นทวีป 

ประชากร 5.7 ล้านคน (2557) แบ่งเป็น ชาวคีร์กีซ ร้อยละ 64.7 ชาวอุซเบก ร้อยละ 13.6 ชาวรัสเซีย ร้อยละ 12.5 อื่น ๆ ร้อยละ 9.2

ศาสนา อิสลามนิกายสุหนี่ ร้อยละ 75 คริสต์ (ออร์โธดอกซ์) ร้อยละ 20 อื่นๆ ร้อยละ 5

ภาษาราชการ คีร์กิซและรัสเซีย

เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง 

วันชาติ 31 สิงหาคม (เรียกว่าวันประกาศเอกราช เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2534 หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 6 สิงหาคม 2535 (1992)  

ประธานาธิบดี นายอัลมาซเบ็ค อาตัมบาเยฟ (Mr. Almazbek Atambayev)

นายกรัฐมนตรี นายจูมาท โอโทบาเยฟ (Mr. Joomart Otorbayev)

รมว.กต. นายเยอร์ลาน เบเคโชวิช อับดุลลาเยฟ (Mr. Erlan Bekeshovich Abdyldaev)

อัตราการแลกเปลี่ยน ซุม KGS 1บาท = 1.97 KGS (สถานะ ณ เม.ษ. 2558)

เงินทุนสำรอง 2.19 พันล้าน USD (ปี 2556)

อัตราเงินเฟ้อ 9.80 %

GDP 7.64 พันล้าน USD 

GDP per Capita 1,341 USD

Real GDP Growth ร้อยละ 3.0

อุตสาหกรรมหลัก เครื่องจักรขนาดเล็ก สิ่งทอ อาหารแปรรูป ซีเมนต์ รองเท้า ไม้ซุง ตู้เย็น เฟอร์นิเจอร์

สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อาหาร

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ทองคำ น้ำมันปิโตรเลียม สินค้าโภคภัณฑ์ พลังงานไฟฟ้า ฝ้าย ขนสัตว์ เสื้อผ้า เนื้อสัตว์ ยาสูบ ทอง ปรอท ยูเรเนียม

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ รัสเซีย (ร้อยละ 33) จีน (ร้อยละ 23) คาซัคสถาน (ร้อยละ 10) อื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี

ตลาดส่งออกที่สำคัญ สวิตเซอร์แลนด์ (ร้อยละ 33) คาซัคสถาน (ร้อยละ 24) รัสเซีย (ร้อยละ 13) อุซเบกิสถาน (ร้อยละ 11) อื่นๆ ได้แก่ จีน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัฟกานิสถาน

 
 
 

การเมืองการปกครอง

ประมุข นาย Almazbek Atambayev 

นายกรัฐมนตรี นาย Djoomart Otorbayev

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Erlan Abdyldaev

รัฐสภา สาธารณรัฐคีร์กีซมีการปกครองระบบสภาเดียวเรียกว่า Jogorku Kenesh มีวาระ 5 ปี โดยภายหลังจากการลงประชามติเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่นั่งของผู้แทนเพิ่มขึ้นจาก 90 ที่นั่งเป็น 120 ที่นั่ง

ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญ โดยผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิพากษาทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกา โดยมีวาระคราวละ 10 ปีแต่ตั้งจากรัฐสถา (Jogorku Kengesh) โดยคำแนะนำของประธานาธิปดี

รัฐธรรมนูญ  
ผลจากการลงประชามติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งลดอำนาจประธานาธิบดี โดยให้รัฐสภาและนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเพิ่มขึ้น โดยประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งได้เพียง 6 ปี โดยไม่สามารถลงเลือกตั้งซ้ำในวาระต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดียังคงเป็นผู้นำแห่งรัฐ และผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ มีหน้าที่กำหนดนโยบายการต่างประเทศ ความมั่นคง ตลอดจน มีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและหัวหน้าหน่วยข่าวกรอง นอกจากนี้ ประธานาธิบดียังมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีในกรณีที่พรรคใดพรรคหนึ่งไม่ได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา  

 การเมืองการปกครอง  
นับแต่สาธารณรัฐคีร์กีซได้แยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2534 มีการจัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยนาย Kurmanbek Bakiev ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 หลังจากที่ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีภายหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 โดยผู้ชุมนุมประท้วงราวหมื่นคนได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของรัฐบาล และโค่นล้มประธานาธิบดี Askar Akayev ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี 2533 ในสมัยของโซเวียตและอยู่ในตำแหน่งผู้นำประเทศมาตั้งแต่ประกาศเอกราชรวมระยะเวลา 15 ปี อย่างไรก็ตาม ความนิยมและการสนับสนุนที่มีต่อประธานาธิบดี Bakiev ได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องมาจากการบริหารประเทศอย่างไม่มีประสิทธิภาพและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความยากจน อาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดี Bakiev เรื่อยมา จนในเดือนพฤศจิกายน 2549 ประชาชนในกรุงบิชเคกซึ่งเป็นเมืองหลวงของ คีร์กีซได้ออกมาประท้วงและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของประธานาธิบดี และเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดี Bakiev ยินยอมลงนามในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่แก้ไขเนื้อหาตามที่ประชาชนเรียกร้องเพื่อยุติการชุมนุม แต่หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีการผ่านร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและคืนอำนาจกลับสู่ประธานาธิบดี ทำให้พรรคฝ่ายค้านออกมาเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Bakiev แก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง รวมถึงกดดันให้ประธานาธิบดีลาออกจากตำแหน่ง

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 ประธานาธิบดี Bakiyev ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่ออีกสมัยเป็นเวลา 5 ปี โดยการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2557 

เมื่อเดือนเมษายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในสาธารณรัฐคีร์กีซ โดยประชาชนได้รวมกันประท้วงและขับไล่นายคูมานเบ็ก บาคิเอฟ (Kurmanbek Bakiev) ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งด้วยปัญหาการทุจริต การบริหารประเทศอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งภายหลังจากการลาออกของนายบาคิเอฟในเดือนเมษายน 2553  ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวนำโดยนางโรซ่า โอตุนบาเยวา (Roza Otunbayeva) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐคีร์กิซเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราว  

ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวคีร์กีซเชื้อสายอุซเบกและชาวคีร์กีซในทางตอนใต้ของประเทศจากข้อขัดแย้งในเรื่องการครอบครองพื้นที่ทำการเกษตรกรรมในภาคใต้ของสาธารณรัฐคีร์กิซ  ซึ่งรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐคีร์กิซได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหพันธสาธารณรัฐรัสเซียในการแก้ไขปัญหาจนยุติลงด้วยดี

จากนั้น รัฐบาลชั่วคราวได้จัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2553 เพื่อปรับแก้รัฐธรรมนูญใหม่และขอมติในการแต่งตั้งนางโอตุนบาเยวาให้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้รับการตอบรับจากชาวคีร์กิซในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ และให้นางโอตุนบาเยวาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการจนถึงสิ้นปี 2554 และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2554 รัฐบาลสาธารณรัฐคีร์กิซได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแล้ว ซึ่งปรากฏผลอย่างไม่เป็นทางการว่า นายอัลมาซเบ็ก อาตามบาเอฟ (Almazbek Atambayev) 

รายงานการศึกษา

ปี 2015

  • ชื่อเอกสาร: รายงานศึกษาระเบียบการลงทุน/การทำธุรกิจในสาธารณรัฐคีร์กีซ (ฉบับสมบูรณ์)
    ดาวน์โหลด