ข่าวสารกลุ่มประเทศอาเซียน

าวกำลังเตรียมการลงมือสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีกหลายสิบแห่งในช่วงปีข้างหน้านี้ ซึ่งหากนับรวมที่กำลังสร้าง กับจำนวนที่กำลังตระเตรียมการก็จะมีทั้งหมด 39 โครงการ ในนั้น 20 เขื่อน มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2558-2559 ซึ่งจะทำให้ทุกหนแห่งสว่างไสว และประเทศมีรายได้มากขึ้น สำนักข่าวของทางการรายงาน

22 เมษายน พ.ศ. 2557

าวกำลังเตรียมการลงมือสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีกหลายสิบแห่งในช่วงปีข้างหน้านี้ ซึ่งหากนับรวมที่กำลังสร้าง กับจำนวนที่กำลังตระเตรียมการก็จะมีทั้งหมด 39 โครงการ ในนั้น 20 เขื่อน มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2558-2559 ซึ่งจะทำให้ทุกหนแห่งสว่างไสว และประเทศมีรายได้มากขึ้น สำนักข่าวของทางการรายงาน 

ตามตัวเลขล่าสุดของกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ปัจจุบันในลาวมีเขื่อนอยู่ 23 แห่ง มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกันกว่า 3,000 เมกะวัตต์ อีก 20 แห่ง กำลังจะแล้วเสร็จในช่วงปีสองปีข้างหน้า และมีกำลังผลิตรวมกันกว่า 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้การผลิตไฟฟ้าในลาวมีกำลังติดตั้งรวมกว่า 7,000 เมกะวัตต์ ทะยานขึ้นเป็น “หม้อไฟ” ขุมพลัง “แบตเตอรี่” ในอาเซียนตามแผนการที่ดำเนินมาหลายปี
       
       แต่ทั้งหมดนั้นยังไม่ได้นับรวมโครงการโรงไฟฟ้าหงสา ในแขวงไซบูลี ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชิ้อเพลิง ซึ่งมีกำลังผลิตถึง 1,878 เมกะวัตต์ และไม่ได้นับรวมเขื่อนขนาดเล็กอีกจำนวนมากที่สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนชุมชนที่อยู่ห่างไกล ตลอดจนโครงการผลิตพลังงานทางเลือกอีกจำนวนหนึ่ง
       
       ที่เหลืออีก 19 โครงการ จะสร้างให้แล้วเสร็จระหว่างปี 2560-2563 สำนักข่าวสารปะเทดลาวอ้างรายงานของนายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานฯ
       
       ในลาวมีหมู่บ้านจำนวนทั้งหมด 8,615 แห่ง ปัจจุบัน 70% มีไฟฟ้าใช้แล้ว ซึ่งคิดเป็นราว 87% ของครอบครัวชาวลาวทั้งประเทศ เกินตัวเลขแผนการ 80% ที่กำหนดไว้ในสิ้นปี 2518 และจนถึงปี 2563 จะมีครอบครัวชาวลาว 90% ที่ไฟฟ้าเข้าถึง
       
       รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยังกล่าวด้วยว่า หลังปี 2559 เป็นต้นไป การก่อสร้างเขื่อนจะเริ่มลดลง แต่ประเทศจะมีรายได้มากขึ้นจากการจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจากไฟฟ้ากับแร่ธาตุเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของลาวในขณะนี้
       
       การสร้างเขื่อนส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่รัฐบาลได้พยายามทุกทางในการลดผ่อนผลกระทบด้วยการศึกษา และปรึกษาหารืออย่างถ่องแท้ก่อนลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลที่ออกมามีความยั่งยืนที่สุด และเป็นประโยชน์ในระยะยาวตกทอดถึงรุ่นลูกหลาน
       
       นายคำมะนี ยกตัวอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ การสร้างเขื่อน้ำคาน 2 และ 3 ของนักลงจีนในแขวงหลวงพระบาง ซึ่งต้องอพยพราษฎรออกจากพื้นที่กว่า 600 ครอบครัว แต่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ได้รับผลกระทบเหล่านั้น
       
       ทางการได้โยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนไปอาศัยในแหล่งทำกินใหม่ มีการจัดสรรที่ดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ และเลี้ยงสัตว์ สร้างถนนเข้าสู่แหล่งชุมชม สร้างระบบไฟฟ้า-น้ำประปา สร้างสถานีอนามัย และโรงเรียน ตั้งกองทุนฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชนมีงานทำที่ยั่งยืน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
       
       ตัวเลขข้างต้นนับว่าไม่มากหากเทียบกับการสร้างเขื่อนน้ำเทิน 2 ในเขตเมือง (อำเภอ) นากาย แขวง (จังหวัด) คำม่วน เมื่อหลายปีก่อน ที่ต้องอพยพราษฎรกว่า 10 หมู่บ้าน แต่ในปัจุบันนากายได้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว ประชาชนมีรายได้มากขึ้น และพ้นจากสภาพความยากจนไปอีกหนึ่งเมือง นายคำมะนีกล่าว
       
       ตามรายงานของสำนักข่าวทางการก่อนหน้านี้ ปัจจุบันโครงการลงทุนในเขื่อนขนาดใหญ่เริ่มลดลง และนักลงทุนได้หันไปให้ความสนใจเขื่อนขนาดเล็กมากขึ้น
       
       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนักลงทุนไทยกำลังเร่งก่อสร้างเขื่อนไซยบูลีขนาด 1,260 เมกะวัตต์ มูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นลำน้ำโขงทั้งสายแห่งแรกของลาวในแขวงไซยะบูลี ทางภาคเหนือ เมื่อแล้วเสร็จจะกลายเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ
       
       ใต้ลงไปนักลงทุนมาเลเซียก็กำลังเร่งสร้างเขื่อนดอนสะโฮงกั้น “ฮูสะโฮง” ซึ่งเป็นทางน้ำไหลขนาดใหญ่สายหนึ่งในระบบแม่น้ำโขงอันกว้างใหญ่ในเขตนทีสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก
       
       เขื่อนดอนสะโฮง ที่มีกำลังผลิต 260 เมกะวัตต์ จะผลิตไฟเส่งจำหน่ายให้แก่ไทย กับกัมพูชา ท่ามกลางความห่วงใยของนักอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และความเป็นกังวลของชาวเวียดนามหลายสิบล้านคนที่อาศัยทำกินในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง.

 

 

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000043647

 

หมวดของข่าว : ลงทุนต่างประเทศ , ลงทุนอาเซียน , ข้อมูลการลงทุน