ข่าวสารกลุ่มประเทศอาเซียน

ซีอีโอ ซีพีเอฟ สัมภาษณ์พิเศษ หนังสือพิมพ์ The Japan Times

8 มกราคม พ.ศ. 2558

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Japan Times ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น ผ่าน คุณดอนน่า แอล ครูซ และ คุณแอนเดรียน เจ กุ๊ดเกนไฮมน์ ถึงแนวทางการบริหารงานและการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการรวมตัวอย่างเต็มรูปแบบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community หรือ AEC) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558 โดยมีประเด็นน่าสนใจมานำเสนอดังนี้

 

JT: เราทราบมาว่า ผลกำไรในไตรมาสที่ 3 ของ ซีพีเอฟ เพิ่มขึ้นมาก ช่วยเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับความสำเร็จครั้งนี้ให้เราทราบด้วยค่ะ

คุณอดิเรก : ซีพีเอฟ เป็นผู้ผลิตอาหารครบวงจร เริ่มตั้งอาหารสัตว์ ฟาร์มและอาหารสำเร็จรูป โดยมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพอาหารปลอดภัย ผ่านการตรวจสอบบย้อนกลับตลอดขบวนการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ  นั่นคือเรื่องสำคัญที่เราต้องทำ

          ซีพีเอฟ มีการลงทุนทำธุรกิจใน 14 ประเทศ ซึ่งแทนซาเนีย ในแอฟริกา เป็นประเทศล่าสุดที่เราเข้าไปลงทุน แต่ยังเป็นธุรกิจเล็กอยู่ ยอดขายรวมของเราคาดว่าจะมีมูลค่า 420,000 ล้านบาท ในปีนี้ ซึ่งในจำนวนนี้ 60% เป็นรายได้ที่มาจากการลงทุนในต่างประเทศ 34-35% เป็นรายได้จากการขายในประเทศไทย ส่วนที่เหลืออีก 6% เป็นรายได้จากการส่งออกจากประเทศไทย

             กำไรของ ซีพีเอฟ ในไตรมาศที่ 3 ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน เนื่องจากราคาเนื้อสัตว์ ทั้งเนื้อไก่และเนื้อสุกร มีการปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวลดลง ในขณะที่ที่กำไรของ ซีพีเอฟมาจากธุรกิจในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญของเราอยู่ที่ธุรกิจสัตว์น้ำ โดยเฉพาะสาเหตุการอาการของโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrom หรือ EMS) ในกุ้งซึ่งกระทบกับบริษัทโดยตรง แต่เราก็ยังมั่นใจว่ารายของเราจะเติบโต 9-10% ใกล้กับปีที่แล้วเหมือนปกติ

 

JT : ซีพีเอฟ มีวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิตอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2558

คุณอดิเรก : อาเซียนประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ และมีประชากรกว่า 600 ล้านคน  ซึ่งทั้ง ซีพีกรุ๊ปและซีพีเอฟ มีการเข้าไปลงทุนมาแล้วกว่า 20-30 ปี ซึ่งเรามีการลงทุนในทุกประเทศแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซีพีเอฟเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์และทำธุรกิจกุ้งใหญ่ที่สุดในประเทศเวียดนาม ซึ่งเราลงทุนที่นั่นมากว่า 20 ปีแล้ว ในลาวเราก็ลงทุนมากว่า 10 ปี มาเลเซีย 35 ปี และเราก็ลงทุนในฟิลิปปินส์แล้ว ส่วนบริษัทแม่ของเรา ซีพีกรุ๊ป นั้น มีการลงทุนในอินโดนีเซียมาแล้วกว่า 40 ปี และเรามีสำนักงานการค้าในสิงคโปร์  

 

            สำหรับการเปิดการค้าเสรีในอาเซียนนั้น ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์และระบบขนส่งทางบกที่ดี ทำให้ประเทศเป็นศูนย์กลางภูมิภาคระหว่าง 6 ประเทศได้ ตือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม เมียนมาร์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย  ส่วนในฟิลิปปินส์และบรูไนซึ่งอยู่ไกลออกเราต้องทะเลก็จะใช้การขนส่งทางน้ำ

            คุณอดิเรก กล่าวว่า การเปิดเสรีการค้าในภูมิภาคนี้ จะทำให้การค้ากันระหว่างประเทศสมาชิกดีขึนเนื่องจากตลาดไม่ได้เป็นตลาดใครตลาดมันอีกต่อไป แต่จะเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากร 600 ล้านคน เป็นตลาดที่มีขนาดที่คุ้มต่อการลงทุนและจะช่วยดึงดูดนักลงทุนจากทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ซึ่งการรวมตัวของภูมิภาคนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เราสามารถเพิ่มการค้า-การลงทุนเท่านั้น แต่จะเป็นการขายการค้าบริการและการท่องเที่ยวด้วย

 

JT : สำหรับญีปุ่นแล้ว ท่านคิดว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะก่อให้เกิดการลงทุนและการขยายธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร

คุณอดิเรก : ญีปุ่นนับว่าเป็นนักลงทุนหลักในประเทศไทย รวมไปถึงอินโดนีเซียเนื่องจากเป็นที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิดมากกว่าเนื่องจากพื้นฐานในด้านต่างๆ สาธารณูปโภค กฏหมายและระเบียบกฏเกณฑ์ต่างๆ สิทธิประโยชน์การลงทุน เป็นปัจจัยที่ดึงดูดนักลงทุน

 

JT : ขอให้ท่านช่วยพูดถึงการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกับอิโตชู

คุณอดิเรก : อิโตชูเข้ามาซื้อหุ้นในบริษัท ซีพีโภคภัณฑ์ หรือ ซีพีพี จำนวน 25% ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่ง ซีพีพี บริหารธุรกิจอาหารสัตว์ในจีน และธุรกิจอาหารสัตว์ ไก่และกุ้งในเวียดนาม และซีพีกรุ๊ป ซื้อหุ้น 5% ในอิโตชู

          อิโตชู มีความสนใจที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นในอาเซียนและจีน ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตั้งทีมขึ้นมาเพื่อศึกษาถึงโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอันใกล้

            “ทั้งสองฝ่ายมีจุดแข็งทางธุรกิจที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน อิโตชูมีจุดแข็งหลายด้าน ทั้ง อาหาร การนำเข้าและช่องทางการกระจายสินค้า ซึ่งจะเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าของ ซีพีเอฟด้วย ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต” คุณอดิเรก กล่าว

 

JT : ช่วยบอกวิสัยทัศน์ของท่านในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้

คุณอดิเรก : วิสัยทัศน์ของ ซีพีเอฟ คือการเป็น “ครัวของโลก” และเราเป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตอาหารที่สนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของคุณภาพและอาหารปลอดภัย  บริษัทมีการลงทุนใน 14 ประเทศซึ่งครอบคลุมประชากรกว่า 3,000 ล้านคน และเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้กำลังเติบโตและประชาชนมีเงินในการจับจ่ายใช้สอย ซีพีเอฟ มีเป้าหมายในการเป็นผู้จัดหาและกระจายสินค้าอาหารประเภทโปรตีนในประเทศเหล่านั้น ซึ่งยังมีการบริโภคอาหารโปรตีนยังต่ำ ซึ่งมันคือโอกาสของบริษัทที่เข้าไปทำการตลาดในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและการบริโภคกำลังสูงขึ้น

ซีพีเอฟ เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารครบวงจรชั้นนำจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นจดแข็งของเรา จุดแข็งนี้ทำให้เราสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตอาหารและตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต เราคงเคยเห็นตัวอย่างของบริษัทผู้ผลิตอาหาร (ที่ไม่ได้ทำแบบครบวงจร) ในจีนและไต้หวัน ซึ่งการประสบกับปัญหาในการดำเนินธุรกิจอาหารนั้นอาจนำไปสู่การล้มละลายได้

การที่ ซีพีเอฟ เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารครบวงจร ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารของเรามีโอกาส เพราะผู้ซื้อและผู้บริโภคมีความมั่นใจในเรื่องการผลิตอาหารคุณภาพระดับสากล

อีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนการตัวขยายตัวของบริษัทคือขนาดการดำเนินธุรกิจและสถานะทางการเงินที่มีเสถียรภาพ ซึ่งบริษัทยังคงเดินหน้าใช้กลยุทธการซื้อธุรกิจที่สามารถนำจุดแข็งมาสนับสนุนกับธุรกิจของเราในปัจจุบัน โดยประเทศที่มีศักยภาพในการเข้าลงทุนมีทั้ง สหรัฐ สหภาพยุโรป รัสเซียและเอเซีย ซึ่งเป็นภูมิภาคมีวิกฤตอาหาร ซึ่งเราไม่เพียงแต่มองหาโอกาสในการลงทุนเฉพาะในเอเซียเท่านั้นแต่ยังมองตลาดอื่นๆนอกภูมิภาคด้วย

 

JT : บริษัทของท่านมีแผนอื่นๆ (ในการการขยายการค้า-การลงทุน) ที่สำคัญในปีนี้หรือไม่

คุณอดิเรก :  ตามที่ท่านทราบแล้วว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยไม่ค่อยนิ่ง เราหวังว่าจะมีการเลือกตั้งอีก 1-2 ปีข้างหน้าเพื่อนำไปสู่การปฏิรูป เมื่อไหร่ก็ตามที่เราประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางการเมือง ราคาน้ำมันที่ตกลงอย่างรวดเร็ว แต่อาหารยังคงเป็นสินค้าจำเป็นพื้นฐานในการบริโภค ดังนั้นวิกฤตเหล่านั้นจึงไม่กระทบกับเรา แม้ว่า 2 ปีที่แล้วประเทศไทยเจอปัญหาการประท้วงของคนเสื้อเหลือง-เสื้อแดง แต่ประชาชนก็ยังต้องกินอาหาร ทำให้เติบโตทีละขั้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสวนทางกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

Cr:http://news.cpfworldwide.com/interview.php?itv_id=33